พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเนื่องจากคลองถูกปิดใช้งาน
คลองโพธิ์หักใช้เป็นทางไปมาไม่ได้เป็นเวลานานแล้ว จึงมิใช่ทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองโพธิ์หัก จึงไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อตัดหน้าและการรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ขณะที่ ส. ขับรถยนต์มาตามถนนพหลโยธินด้วยความเร็ว จำเลยที่ 1 ได้ขับรถบรรทุกออกจากถนนพัฒน์พงษ์ตัดผ่านถนนพหลโยธินโดยไม่ใช้ความระมัด-ระวังและหยุดรอที่บริเวณปากทางถนนพัฒน์พงษ์และที่หัวเกาะกลางถนนให้รถของ ส.ซึ่งแล่นมาตามถนนพหลโยธินผ่านไปก่อน แต่จำเลยที่ 1 ได้ขับรถตัดหน้ารถยนต์ของ ส. อย่างกะทันหันและในระยะกระชั้นชิดทำให้ ส.ไม่สามารถห้ามล้อรถให้หยุดได้ทัน และไม่สามารถหักหลบได้ จึงได้เกิดชนกันโดยจุดชนอยู่บนถนนพหลโยธิน จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ และความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เป็นผลที่ใกล้ชิดกับเหตุที่รถทั้งสองคันชนกัน และเป็นความประมาทเลินเล่อที่เกิดขึ้นภายหลังจากความประมาทของส.ที่ขับรถด้วยความเร็วมาก่อน ซึ่งหากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถตัดหน้ารถยนต์ของ ส.แล้วความเสียหายย่อมจะไม่เกิดขึ้น กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียไปในการร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้-จัดการมรดกมิใช่เป็นค่าปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียไปในการร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้-จัดการมรดกมิใช่เป็นค่าปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อตัดหน้าทำให้ชนกัน จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งหมด แม้ผู้ตายขับรถเร็ว
ขณะที่ ส. ขับรถยนต์มาตามถนนพหลโยธินด้วยความเร็วจำเลยที่ 1 ได้ขับรถบรรทุกออกจากถนนพัฒน์พงษ์ตัดผ่านถนนพหลโยธินโดยไม่ใช้ความระมัดระวังและหยุดรอที่บริเวณปากทางถนนพัฒน์พงษ์และที่หัวเกาะกลางถนนให้รถของส. ซึ่งแล่นมาตามถนนพหลโยธินผ่านไปก่อน แต่จำเลยที่ 1 ได้ขับรถตัดหน้ารถยนต์ของ ส.อย่างกะทันหันและในระยะกระชั้นชิดทำให้ ส. ไม่สามารถห้ามล้อรถให้หยุดได้ทัน และไม่สามารถหักหลบได้ จึงได้เกิดชนกันโดยจุดชนอยู่บนถนนพหลโยธิน จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อและความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เป็นผลที่ใกล้ชิดกับเหตุที่รถทั้งสองคันชนกัน และเป็นความประมาทเลินเล่อที่เกิดขึ้นภายหลังจากความประมาทของส. ที่ขับรถด้วยความเร็วมาก่อน ซึ่งหากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถตัดหน้ารถยนต์ของ ส. แล้ว ความเสียหายย่อมจะไม่เกิดขึ้น กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียไปในการร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมิใช่เป็นค่าปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: จำเลยไม่ใช่เจ้าของสิทธิโดยตรง โจทก์ฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปดูแล เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทโดยตรง ทั้งกฎหมายได้ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุและมีหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้ทำการแทนหรือตัวแทนกระทรวงการคลังเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกระทรวงการคลังเป็นจำเลยด้วยคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจผูกพันกระทรวงการคลังผู้เป็นเจ้าของสิทธิในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการกระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: การพิพากษาห้ามเข้าเกี่ยวข้องที่ดิน กับสิทธิเจ้าของร่วม
ในสำนวนคดีก่อน จำเลยทั้งสามในคดีนี้ฟ้องขอให้ห้ามส. และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินตามฟ้องซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ส. ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับพี่น้องโดย ได้รับมรดกมาจากมารดา หมายความว่า ส. กับโจทก์ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันมีฐานะเท่าเทียมกันในที่ดิน มิใช่บริวารซึ่งกันและกัน และจำเลยทั้งสามก็ไม่ได้ขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวในฐานะเป็นบริวารของ ส. เพื่อให้คำพิพากษาคดีดังกล่าวมีผลบังคับแก่โจทก์ด้วยโจทก์จึงมิใช่คู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: โจทก์ไม่ใช่คู่ความเดิมจึงไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
ในสำนวนคดีก่อน จำเลยทั้งสามในคดีนี้ฟ้องขอให้ห้าม ส.และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินตามฟ้องซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ส.ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับพี่น้องโดยได้รับมรดกมาจากมารดา หมายความว่า ส.กับโจทก์ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันมีฐานะเท่าเทียมกันในที่ดิน มิใช่บริวารซึ่งกันและกัน และจำเลยทั้งสามก็ไม่ได้ขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวในฐานะเป็นบริวารของ ส. เพื่อให้คำพิพากษาคดีดังกล่าวมีผลบังคับแก่โจทก์ด้วยโจทก์จึงมิใช่คู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองแทน vs. ครอบครองเพื่อตนเอง และการกำหนดค่าทนายความ
บิดาจำเลยให้โจทก์อาศัยอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนายกให้แม้โจทก์ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ตามใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้บิดาจำเลยทราบ จึงยังไม่ถือว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองจากผู้อาศัยมาเป็นครอบครองเพื่อตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว คดีนี้เป็นคดีที่พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ตามตาราง 6 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดินหลังจากการยึดถือแทนโจทก์ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนครอบครองขาดอายุความ
แม้เดิมจำเลยจะยึดถือที่พิพาทไว้เพื่อทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้อันเป็นการยึดถือไว้แทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืนจำเลยไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอนคืน กรณีจึงเป็นการที่จำเลยยึดถือที่ดินพิพาทอยู่ในฐานะผู้แทนผู้ครอบครองคือโจทก์ แล้วจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป เป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองจากโจทก์ตลอดมา โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ย่อมหมดสิทธิจะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนเจตนาการยึดถือครองที่ดินจากแทนโจทก์เป็นแย่งการครอบครอง ทำให้สิทธิในการครอบครองเดิมขาดอายุ
แม้เดิมจำเลยจะยึดถือที่พิพาทไว้เพื่อทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้อันเป็นการยึดถือไว้แทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืน จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอนคืน กรณีจึงเป็นการที่จำเลยยึดถือที่ดินพิพาทอยู่ในฐานะผู้แทนผู้ครอบครองคือโจทก์ แล้วจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป เป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองจากโจทก์ตลอดมา โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ย่อมหมดสิทธิจะเอาคืนซึ่งการครองครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ค่าชดเชยการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่12 กันยายน พ.ศ.2534 ข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 46 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2514 ข้อ 46 จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น