พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดโดยละเอียด ชี้ขาดโอกาสชนะคดีไม่เพียงพอ
คำขอพิจารณาใหม่ ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง บัญญัติไว้ให้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่ได้ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ความหมายก็คือ ต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งทั้งสองประการ คือ ทั้งเหตุที่ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลด้วย แต่คำขอพิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองในข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้น กล่าวไว้มีใจความสำคัญเพียงว่ารูปคดีของจำเลยทั้งสองมีโอกาสชนะคดีโจทก์ได้ และจำเลยทั้งสองได้เตรียมพยานไว้พร้อมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า คำขอได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดจึงเป็นคำขอพิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบ ปัญหาเช่นว่านี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาของนิติบุคคลต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนไม่ใช่ภูมิลำเนา โจทก์ฟ้องศาลผิด
พระราชบัญญัติ ญญัติการธนาคารพาณิชย์กำหนดว่า ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักรหรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาธนาคารต่างประเทศ จะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติดังกล่าวห้ามสาขาธนาคารต่างประเทศตั้งสำนักงานเพื่อกระทำแทนไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประเภทธนาคารพาณิชย์ หากจำเลยจะตั้งสำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้จัดตั้ง จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยในประเทศไทยในการติดต่อกับบุคคลทั่วไปเท่านั้น ประกอบกับหนังสืออนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้จำเลยตั้งสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยระบุว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยจะต้องไม่ประกอบธุรกิจอันใดอันเข้าลักษณะการประกอบการธนาคารพาณิชย์ จึงแสดงให้เห็นว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยไม่มีอำนาจดำเนินการแทนจำเลยตามวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทย จึงไม่ใช่สาขาธนาคารของจำเลยในประเทศไทย ภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ได้แก่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งหรือถิ่นที่มีสาขาสำนักงานในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ ตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยในศาลประเทศไทยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ: เบิกความได้โดยไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานได้โดยไม่จำต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 เพราะเป็นการสืบพยานตามที่กฎหมายบัญญัติอนุญาตให้จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลสาบานตนให้การเป็นพยานเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกริบ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ ณ เวลาที่กระทำผิดเป็นผู้มีสิทธิ
ขณะจำเลยกระทำความผิด ผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางยังไม่ใช่เจ้าของผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืน. (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1578/2522).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในฐานะเจ้าของรถและผู้ขับขี่ประมาท การขาดประโยชน์จากการใช้รถ และประเด็นฎีกานอกประเด็น
เมื่อรถยนต์ของโจทก์ถูกชนได้รับความเสียหายต้องเข้าซ่อมช่วงเวลาที่เสียไประหว่างซ่อมถือได้ว่าโจทก์ขาดประโยชน์แล้วตั้งแต่บัดนั้น ส่วนที่โจทก์เช่ารถยนต์ของบุคคลอื่นมาวิ่งรับส่งคนโดยสารแทนรถยนต์ของโจทก์และต้องเสียค่าเช่านั้น เป็นเพียงเพื่อบรรเทาค่าขาดประโยชน์ที่ต้องสูญเสียไปลงบ้างเท่านั้น จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นว่า บ. เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะเกิดเหตุหรือไม่ แต่กำหนดประเด็นว่า ส. เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของ บ. หรือไม่เท่านั้น ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า บ. ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะเกิดเหตุจึงเป็นฎีกานอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ คชก. และการใช้สิทธิทางศาล: การบุกรุกที่ดินจากการบังคับใช้คำสั่ง
คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่าที่พิพาทซึ่งไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือคชก.จังหวัดแล้วแต่กรณี ต้องใช้สิทธิทางศาล แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่งของ คชก.ตำบล และมีความผิดตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ฯ มาตรา 62 คชก.ตำบลก็ต้องใช้สิทธิทางศาลด้วย จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ คชก.ตำบลจึงไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถในไร่อ้อยของโจทก์ และมีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและการกระทำความผิดฐานบุกรุกทำลายทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญา
แม้ คชก. ตำบลวินิจฉัยสั่งให้โจทก์ผู้เช่าออกจากที่พิพาทและโจทก์ไม่อุทธรณ์ต่อ คชก. จังหวัดก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่ออกจากที่พิพาท คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียก็จะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524การที่จำเลยนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถไร่อ้อยของโจทก์ในที่พิพาทโดยไม่มีอำนาจกระทำได้ ย่อมมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ คชก. และสิทธิทางศาล: การบังคับคดีและการบุกรุกหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า
คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่าที่พิพาทซึ่งไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลหรือ คชก. จังหวัดแล้วแต่กรณี ต้องใช้สิทธิทางศาล แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่งของ คชก.ตำบล และมีความผิดตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯ มาตรา 62 คชก.ตำบลก็ต้องใช้สิทธิทางศาลด้วย จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ คชก.ตำบลจึงไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถในไร่อ้อยของโจทก์ และมีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการประเมินภาษี เจ้าพนักงานมีสิทธิพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานอื่น และการไม่อยู่ร่วมตรวจสอบภาษีไม่สมเหตุผล
การที่มีการแบ่งส่วนราชการตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง พ.ศ.2515 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7รับผิดชอบเขตพื้นที่บางกอกน้อย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์นั้นเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินภายในของจำเลยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพ เมื่องานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์เป็นงานที่ดำเนินการค้างมาจากงานกองภาษีการค้าและยังไม่เสร็จสิ้น กองภาษีการค้าถูกยุบเลิกไป ว.เจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 6 ฝ่ายตรวจสอบ สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ย่อมมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จงาน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.164/2525 โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ไม่มีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีรายของโจทก์ แม้หลักฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าหัก ณ ที่จ่ายสำหรับปี 2519 และปี 2520 ที่โจทก์ถูกทางราชการหักภาษีไว้เป็นภาพถ่ายมาจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขา หรือในความควบคุมของทางราชการ การอ้างภาพถ่ายเอกสารลักษณะเช่นนี้เท่ากับเป็นการอ้างสำเนาเอกสารจะต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่ง ป.วิ.พ. รับรองความถูกต้องแล้วจึงจะรับฟังได้ก็ตาม แต่ตาม มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามมาตรา 125 แห่ง ป.วิ.พ. บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จะต้องคัดค้านการอ้างเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีแต่โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้ เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ย่อมมีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65,65 ทวิ และ65 ตรี เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าเป็นรายจ่าย จึงต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์โดยยินยอมให้มีการหักค่าใช้จ่ายด้วยการนำเอาข้อมูลจากกรมโยธาธิการที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมงานก่อสร้างสถานที่ราชการที่โจทก์ดำเนินการซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงก่อสร้างมาเป็นแนวทางตรวจสอบกิจการก่อสร้างของโจทก์ แล้วคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์เป็นค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงก่อสร้างรวมจำนวนถึงร้อยละ 80 นับว่าเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะกระทำได้ ในการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. มาให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีจำเลยเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือถึงโจทก์สามครั้ง ให้โจทก์ไปพบพร้อมกับส่งเอกสารให้แก่เจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ก็เพิกเฉยไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลย เมื่อโจทก์ถูกประเมินภาษีก็ไม่ยอมมารับทราบผลการประเมิน กรณีเช่นนี้ย่อมไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีหลังการแบ่งส่วนราชการ และการรับฟังพยานเอกสาร การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 7 ได้รับคำสั่งกรมสรรพากรให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและประเมินภาษีอากรประจำสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 อันเป็นสำนักงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2515 ย่อมถือว่าเป็นเจ้าพนักงานประเมินผู้ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 121) เรื่อง ประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าพนักงานประเมิน การแบ่งส่วนราชการภายในของกรมสรรพากรเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบันไม่กระทบถึงอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีที่ทำต่อเนื่องกันมา ดังนั้น เมื่อกองภาษีการค้าซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีของโจทก์ถูกยุบเลิกไป โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ขึ้นมาแทน และปรากฏว่าภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์อยู่ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7 แต่กรมสรรพากรมีคำสั่งให้ ว.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีภายในของโจทก์อยู่เดิมมีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ต่อไป แม้ ว.จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ก็มีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ได้ ภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการเป็นสำเนาเอกสารที่ต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งรับรองความถูกต้องจึงจะรับฟังได้ แต่เมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลโดยโจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มี หรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องเช่นนี้ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่ไม่มีหลักฐานแสดงการจ่ายของโจทก์ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลจากหน่วยงานที่ควบคุมการทำงานของโจทก์มาคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์รวมจำนวนถึงร้อยละ 80ซึ่งเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกระทำได้ โจทก์เพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลยเมื่อถูกประเมินก็ไม่ยอมมารับผลการประเมินโดยอ้างว่าสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์ไม่ได้อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 จึงไม่ไปรับทราบผลการประเมินเช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุจะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม