พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังอาวัลเช็คเพื่อชำระหนี้กู้ยืม เจตนาผู้สลักหลังสำคัญ แม้ไม่ใช่คู่สัญญากู้ยืมโดยตรง
ตามบันทึกการกู้ยืมเงินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้เงินโจทก์ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้แต่เมื่อบันทึกดังกล่าวจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังอาวัลเช็คพิพาทมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเอาข้อตกลงตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มาเป็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกกู้ยืมให้โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เติมวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอง มิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งในชั้นศาล
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 แต่กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพื่อโจทก์ที่ 2 ได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและส่งออก หากจำเลยไม่พอใจการประเมินนั้นก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วจำเลยไม่พอใจคำวินิจฉัย ก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ดำเนินการผ่านขั้นตอนตามที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ยังรวมทั้งการโต้แย้งให้การต่อสู้คดีด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะมิได้คำนวณมาจากยอดเงินอากรขาเข้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดโดยชอบ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจโต้แย้งการประเมินดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ และสิทธิของทายาทที่ขาดอายุความ
แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่บิดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยครอบครองไว้เพื่อตนเอง ซึ่งเมื่อนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลัง ย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้
ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลัง ย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การให้ไม่สมบูรณ์ แต่ครอบครองต่อเนื่องเกิน 10 ปี
แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่บิดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยครอบครองไว้เพื่อตนเอง ซึ่งเมื่อนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลังย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การใช้รถยนต์ และความเสียหายจากเหตุอื่น
กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 มีข้อความว่า จำเลยที่ 3จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย ข้อความดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยแก่บุคคลภายนอกเฉพาะแต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการใช้รถคันที่เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไฟไหม้พื้นถนนของโจทก์เกิดเพราะจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยทิ้งสินค้าที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นเองบนรถที่เอาประกันภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่อุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยจำกัดเฉพาะความเสียหายจากอุบัติเหตุการใช้รถยนต์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมความเสียหายจากสาเหตุอื่น
กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อความว่า จำเลยที่ 3 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย ข้อความดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยแก่บุคคลภายนอกเฉพาะแต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการใช้รถคันที่เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไฟไหม้พื้นถนนของโจทก์เกิดเพราะจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยทิ้งสินค้าที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นเองบนรถที่เอาประกันภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่อุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อหลังใบตราส่งถือเป็นการตกลงยกเว้น/จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่ผู้ส่งสินค้าลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญไว้ในใบตราส่งด้านหลังซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขและความรับผิดไว้ นอกจากจะเป็นการโอนสิทธิตราสารให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว ยังถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดแล้วหากเกิดความเสียหายขึ้นแก่สินค้า ผู้รับขนย่อมต้องรับผิดตามเงื่อนไขที่จำกัดความรับผิดไว้เท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่อาจฟ้องจำเลยผู้รับขนให้รับผิดตามมูลค่าของความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนที่ทำให้สาธารณชนสับสน และสิทธิของผู้มีเครื่องหมายการค้าที่ใช้ก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า"DIMETAPP" กับของจำเลยคำว่า"MEDITAPP" ต่างก็เป็นคำของภาษาต่างประเทศพิมพ์ด้วยอักษรโรมันลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน สำเนียงอ่านออกเสียงคล้ายกันตัวอักษรมีจำนวนเท่ากัน ถ้าไม่สังเกตจะเข้าใจว่า เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และของจำเลยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะอักษรทุกตัวเหมือนกันเพียงแต่สลับคำพยางค์หน้า 2 คำ เท่านั้น และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 3 เช่นเดียวกับของโจทก์แม้จะระบุรายการสินค้าว่า ยาแก้หวัด แต่ในข้อบ่งใช้ที่ยา ของจำเลยก็ระบุว่าเป็นยาบรรเทาอาการแพ้ เช่น แพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้หืด เป็นต้น เช่นเดียวกับยาของโจทก์ ทั้งยาของโจทก์ จำเลยต่างก็เป็นยาเม็ดและยาน้ำด้วยกัน แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ นำไปจดทะเบียนไว้แล้วเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจนถึงนับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชน ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 คำว่า "TAPP" แม้จะฟังว่าอักษร "TA" ย่อมาจากคำว่า"TABLET" และอักษร "PP" เป็นชื่อย่อของสารเคมี 2 ชนิดแต่เมื่อนำอักษรดังกล่าวมารวมกันเป็นคำว่า "TAPP" จึงจัดว่าเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 หาใช่ชื่อสามัญหรือสิ่งใดที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งต้องห้ามถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันไม่ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่นำไปจดทะเบียนจะไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และโจทก์ไม่ได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีตามสิทธิของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเพราะโจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของโจทก์ผลิตออกจำหน่ายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของจำเลยเป็นเวลาหลายปี โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยลอกเลียนนำไปจดทะเบียนดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติมต้องมีหลักฐานเปรียบเทียบราคาที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน
บัตรราคาสินค้าและบันทึกการวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรเป็นเอกสารภายในของโจทก์ที่ทำขึ้นบุคคลภายนอกไม่อาจจะทราบได้ทั้งการประเมินราคาสินค้าก็ปรากฏว่ามีการประเมินภายหลังจากจำเลยที่ 1 นำสินค้าเข้ามาแล้วเป็นเวลากว่า 4-5 ปี กรณีเช่นนี้จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่า ราคาสินค้าที่ปรากฏในบัตรราคาสินค้าและบันทึกการวิเคราะห์ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์นำมาเทียบเคียง กับราคาสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นราคาของสินค้าประเภทเดียวกันชนิดเดียวกันกับสินค้าของผู้อื่นซึ่งนำเข้าในราชอาณาจักรมาแล้วในเวลาเดียวกันและใกล้เคียงกันกับเวลาที่จำเลยที่ 1 นำเข้า เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจจะถือเอาราคาตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ทำการประเมินสินค้าของจำเลยที่ 1 เพิ่มเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้การประเมินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติมสำหรับสินค้าดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ.