พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน: แม้โจทก์ผิดสัญญา ส่งผ้าไม่ครบ/ล่าช้า จำเลยก็ต้องชำระค่าผ้าที่รับไป
จำเลยให้การว่า โจทก์ผิดสัญญาส่งผ้าให้แก่จำเลยล่าช้าและไม่ครบจำนวนตามสัญญา ทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้ชดใช้ราคาค่าผ้าที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ชำระหนี้ไม่ถูกต้องครบถ้วนในเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน ดังนี้ แม้คำให้การดังกล่าวจำเลยจะไม่ได้ให้การให้ปรากฏถ้อยคำว่า "สัญญาต่างตอบแทน" ไว้ด้วย แต่ก็มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า สัญญาซื้อขายผ้าตามฟ้องเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระราคาเป็นการตอบแทน ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวกับคำให้การจำเลยเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยได้ยกประเด็นดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามประเด็นข้อนี้เสียเอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การผิดสัญญาซื้อขายผ้า และหน้าที่ชำระราคาส่วนที่รับไว้
จำเลยให้การว่า โจทก์ผิดสัญญา ส่งผ้าให้แก่จำเลยช้าและไม่ครบจำนวนตามสัญญา ทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้ชดใช้ราคาค่าผ้าที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ชำระหนี้ไม่ถูกต้องครบถ้วนในเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน ดังนี้ แม้คำให้การดังกล่าวจำเลยจะไม่ได้ให้การให้ปรากฏถ้อยคำว่า "สัญญาต่างตอบแทน" ไว้ด้วยแต่ก็มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า สัญญาซื้อขายผ้าตามฟ้องเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระราคาเป็นการตอบแทน ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวกับคำให้การจำเลยเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ แต่จำเลยได้ยกประเด็นดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาตามประเด็นข้อนี้เสียเอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกยังไม่โอน ยักยอกไม่ได้ เหตุไม่มีการส่งมอบหรือตรวจนับ
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกข้าวเปลือกของโจทก์จำนวน 400 กระสอบซึ่งฝากไว้ที่ยุ้งข้าวของจำเลย โดยข้าวเปลือกจำนวนดังกล่าวจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่ามีการตรวจนับจำนวนหรือคัดเลือกข้าวเปลือกเพื่อกำหนดส่งมอบให้แก่โจทก์ ข้าวเปลือกที่โจทก์กล่าวอ้างจึงยังไม่เป็นวัตถุแห่งหนี้ที่จะชำระให้แก่กัน และกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกยังไม่โอนไปเป็นของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองข้าวเปลือกของโจทก์ ไม่อาจเป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง และประเด็นการกระทำผิดร่วมกันออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลงโทษปรับสถานเดียว คดีของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เงินที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเช็คแลกเงินสดทั้งสองฉบับเป็นเงินที่โจทก์มีอำนาจใช้สอยได้ บิดาโจทก์มอบให้โจทก์ไว้โดยเสน่หาเป็นเงินสดส่วนตัวของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คแล้วจำเลยฎีกาว่าการรับแลกเช็คคดีนี้เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยเอาเช็คจำเลยที่ 1 เป็นประกันโดยมิชอบ โจทก์รับแลกเช็คแทนบิดามารดาโจทก์ และจำเลยที่ 2 ร่วมกับนายทองเจือ ปลอมเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้นลงชื่อโดยถูกต้องแต่ลายมือชื่อที่ลงร่วมด้วยไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดจากโจทก์ การสั่งจ่ายเช็คของห้างจำเลยที่ 1นี้เป็นเรื่องระหว่างธนาคารตามเช็คกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคล การกระทำของจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้กระทำแทน เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยเหตุผลว่าไม่มีเงินในบัญชีพึงให้ใช้เงินตามเช็คกรณีก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องส่วนลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นลายมือชื่อปลอม ไม่เหมือนกับตัวอย่างที่ให้ไว้แก่ธนาคารนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ใดปลอมขึ้น แต่ก็ย่อมเห็นเจตนาได้ว่าเป็นการปลอมขึ้นเพื่อให้เหมือนตัวอย่าง ลายมือชื่อที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่ธนาคารและตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารซึ่งโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ร่วมรู้เห็นด้วย ดังนี้ แม้ลายมือชื่อจำเลยที่ 3 จะเป็นลายมือชื่อปลอมก็มีผลเพียงทำให้คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำผิดไม่มีผลให้การกระทำในส่วนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่เป็นความผิดตามฟ้องแล้วเปลี่ยนแปลงไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติการประเมินภาษีของรองอธิบดีกรมสรรพากรที่รักษาราชการแทนอธิบดี ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรจะเป็นกฎหมายพิเศษอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตามมาตรา 49 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นโดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก็ตาม แต่ก็ไม่จำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าผู้มีอำนาจอนุมัติจะต้องเป็นตัวอธิบดีกรมสรรพากรเองเท่านั้น เพราะตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน และตามข้อ 44 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนดังกล่าวมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน ดังนั้น รองอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ย่อมมีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วแลกเงิน: การสลักหลังปลอมทำให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินขาดสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้รับรอง
มีผู้ปลอมการสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งจ่ายให้แก่บริษัท อ.ถือว่าการสลักหลังเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เสมือนหนึ่งว่าบริษัท อ.ไม่เคยสลักหลักตั๋วแลกเงิน ตั๋วแลกเงินยังคงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายระบุชื่อแก่บริษัท อ. อยู่ โจทก์ได้รับตั๋วแลกเงินมาโดยอาศัยการสลักหลังของจำเลยที่ 1 ซึ่งสลักหลังต่อจากการสลักหลังปลอมจึงเป็นการได้มาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 6 ซึ่งรับรองตั๋วแลกเงินก่อนมีการสลักหลังปลอมจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วแลกเงินปลอมทำให้การได้มาซึ่งตั๋วแลกเงินขาดสาย ผู้รับรองตั๋วไม่ต้องรับผิด
มีผู้ปลอมการสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งจ่ายให้แก่บริษัท อ.ถือว่าการสลักหลังเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เสมือนหนึ่งว่าบริษัท อ. ไม่เคยสลักหลังตั๋วแลกเงิน ตั๋วแลกเงินยังคงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายระบุชื่อแก่บริษัท อ. อยู่ โจทก์ได้รับตั๋วแลกเงินมาโดยอาศัยการสลักหลังของจำเลยที่ 1 ซึ่งสลักหลังต่อจากการ สลักหลังปลอม จึงเป็นการได้มาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 6 ซึ่งรับรองตั๋วแลกเงิน ก่อนมีการสลักหลังปลอมจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้า: การฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา ไม่ใช่ลาภมิควรได้, อายุความ 10 ปี, และข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นนายหน้าเพื่อชี้ช่องให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองตกลงให้จำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าติดต่อเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขง และข้อความที่ว่าแต่ผู้เดียว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียวนั่นเอง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเพื่อให้โจทก์คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและการฟ้องแย้ง: ศาลอนุญาตถอนฟ้องได้หากไม่มีผลทำให้คู่ความเสียเปรียบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องได้ในภายหลัง
แม้หากศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จสำนวนจะต้องพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่ถูกต้องก็ตาม แต่การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยเหตุดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับประเด็นในเนื้อหาแห่งคดี จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีก ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงหามีผลทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีไม่และเมื่อการอนุญาตให้ถอนฟ้องมีเหตุอันสมควร ฟ้องแย้งย่อมตกไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาต่ำกว่าประเมิน หากไม่มีเจตนาทุจริตหรือสมรู้กันกดราคา
ในการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เคาะไม้ครั้งที่ 1และครั้งที่ 2 หลังจากนั้นได้หยุดการขายไว้และเรียกโจทก์จำเลยกับผู้สู้ราคาสูงสุดเข้าไปสอบถาม และผู้สู้ราคาสูงสุดได้เสนอราคาเพิ่มขึ้นอีก รองอธิบดีกรมบังคับคดีได้อนุมัติให้ขายในราคาดังกล่าวเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้ทำการขานราคานั้นอีกครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้าสู้ราคา แต่ไม่มีผู้คัดค้านและได้เคาะไม้เป็นครั้งที่ 3 ให้ขายในราคานั้น เป็นการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมบังคับคดีอันเกี่ยวกับการขายทอดตลาด การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ราคาขายทอดตลาดจะต่ำกว่าราคาประเมิน แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าเป็นการสมรู้กันกดราคา หรือกระทำโดยไม่สุจริต การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว.