พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันไม่ต้องรับผิดหากผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย
จำเลยที่ 1 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จาก ว. ซึ่งจำเลยที่ 1ยอมรับผิดต่อบุคคลภายนอกแทน ว. ในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งจะต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน ว. เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่เกิดเหตุชนโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 ไม่ใช่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าส. ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2หรือของ ว.กับไม่ปรากฏว่าว. มีส่วนจะต้องรับผิดชอบในวินาศภัยที่เกิดกับโจทก์ด้วยหรือไม่ เมื่อ ว. ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการละเมิดที่ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนและสิทธิเรียกร้องช่วงสิทธิ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ
สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2)ก็รับฟังเป็นพยานได้ เมื่อโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มีอยู่กับจำเลย โจทก์ย่อมต้องรับช่วงสิทธิในส่วนของอัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ที่จำเลยต้องชำระให้แก่ธนาคารตามสัญญามาเรียกเอากับจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรกประกอบมาตรา 226 วรรคแรก จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี ในระหว่างผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำสุราฯ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายและความผิดฐานขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราดังกล่าว ทั้งสี่ฐานนี้แม้จะเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าความผิดในแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นตอน ๆ ไป แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสี่ฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นกรรมต่างกัน แม้ทำต่อเนื่องกัน
ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่น สำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายและความผิดฐานขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราดังกล่าว ทั้งสี่ฐานนี้แม้จะเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าความผิดในแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นตอน ๆ ไป แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสี่ฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดรถตามกฎหมายจราจรทางบก: การสิ้นสุดอำนาจเมื่อคดีขาดอายุความและการไม่เป็นละเมิด
โจทก์ฟ้องกล่าวเป็นประเด็นในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองยึดรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะพึงกระทำได้ โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการยึดรถไว้โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระทำ ข้อเท็จจริงตามฎีกาโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานไม่มีความจำเป็นต้องยึดรถโจทก์ไว้ต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม 2526ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถกรณีอุบัติเหตุและการหมดอายุความของความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดยังอยู่ในอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวเป็นประเด็นในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองยึดรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะพึงกระทำได้ โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการยึดรถไว้โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระทำ ข้อเท็จจริงตามฎีกาโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานไม่มีความจำเป็นต้องยึดรถโจทก์ไว้ต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากสัญญาเช่า: ข้อพิพาทเรื่องผิดสัญญาเช่าหรือละเมิด และผลเรื่องอายุความ
คดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวน ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาได้ความว่า ความเสียหายของห้องสุขาทั้ง 8 รายการ เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่จำเลยได้เช่าห้องสุขาซึ่งอยู่ภายในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารของโจทก์ และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซึ่งมีหน้าที่จะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาเช่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่จำเลยในฐานะผู้เช่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่า อันเนื่องมาจากจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า หาใช่เป็นเรื่องละเมิดไม่ แม้การที่จำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอาจจะเป็นผิดสัญญาและเป็นเรื่องละเมิดได้ในขณะเดียวกันก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างไรแล้ว เพียงแต่การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยบรรยายว่าเป็นเรื่องละเมิดและในฟ้องบางตอนจะใช้คำว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ก็ไม่อาจจะนำบทกฎหมายในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นเรื่องอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าต่อผู้ให้เช่าจากความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากการประพฤติผิดสัญญาเช่า และอายุความฟ้องร้อง
เมื่อกรณีเป็นเรื่องจำเลยในฐานะผู้เช่าต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า อันเนื่องมาจากจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า การที่โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าเป็นเรื่องละเมิดและว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ก็หาอาจนำกฎหมายเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีได้ไม่อายุความที่โจทก์จะฟ้องคดีจึงมีกำหนด 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์ที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากทนายติดว่าความอื่น ศาลพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและไม่ได้มีเจตนาประวิงคดี
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์เป็นครั้งแรกโดยอ้างว่าติดว่าความในคดีอื่น ซึ่งทนายจำเลยคงคัดค้านแต่เพียงว่าเหตุที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเป็นเหตุไม่จำเป็นและสมควร ไม่ได้คัดค้านว่าทนายโจทก์มิได้ติดว่าความที่ศาลอื่นจริง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าทนายโจทก์ติดว่าความในคดีอื่น ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องขอเลื่อนคดี แม้ในวันนัดชี้สองสถานเสมียนทนายโจทก์จะได้ลงชื่อทราบวันนัดสืบพยานของโจทก์แทนทนายโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานโจทก์ให้ตามวันว่างของทนายโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีเพิ่งนัดสืบพยานโจทก์เป็นนัดแรก พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ใช่คู่สัญญาเช่าซื้อ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญา แม้ศาลล่างพิพากษา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถแทรกเตอร์กับโจทก์ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อตามฟ้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้