คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ จันเทรมะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายค่าชดเชย: รัฐวิสาหกิจต้องใช้ระเบียบใหม่แทนประกาศเก่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 ข้อ 2ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 56 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2514 ข้อ 46จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนยื่นคำขอพิจารณาใหม่ในคดีแพ่ง: การบังคับคดีเฉพาะจำเลยบางราย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกตอนท้ายที่บัญญัติว่า "แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" นั้นหมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีในคดีนี้มาก่อน ข้อกำหนดหกเดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนในการขอพิจารณาคดีใหม่: เฉพาะจำเลยที่ถูกบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้ายที่ห้ามมิให้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นนั้น หมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้ที่ถูกยึดทรัพย์ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีมาก่อน ข้อกำหนด 6 เดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่ ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการประเมินภาษีอากรและการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: การข่มขืนใจเพื่อให้ได้ทรัพย์สินด้วยการทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยกับพวกมีปากกาติดตัวเป็นอาวุธได้ร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหาย โดยการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท เป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจเรียกทรัพย์สินด้วยกำลังประทุษร้ายเป็นการกรรโชกทรัพย์ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
จำเลยกับพวกมีปากกาติดตัวเป็นอาวุธ ร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท การกระทำดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ไม่ใช่ความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีไปยังที่อยู่ของผู้ประกันที่ถูกต้องตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าชอบแล้ว
เจ้าหน้าที่ศาลได้ไปส่งหมายให้ผู้ประกันที่บ้านเลขที่ 370ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลหาดใหญ่ ตามที่ผู้ประกันอ้างว่าได้ย้ายไปอยู่แล้วมิได้ไปส่งที่บ้านเลขที่ 37 ถนนประชารักษ์ ตำบลหาดใหญ่ ดังที่ผู้ประกันกล่าวอ้าง แต่ถึงแม้จะฟังว่าไปส่งที่บ้านเลขที่ 37 ถนนประชารักษ์ บ้านเลขที่ดังกล่าวก็ตรงกับที่อยู่ของผู้ประกันตามคำร้องขอปล่อยชั่วคราว จำเลยที่ 2 ในระหว่างอุทธรณ์ การส่งหมายนัดให้ผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานมีอาวุธปืนต้องพิจารณาอาวุธที่ใช้ในการกระทำผิด ไม่ใช่อาวุธที่ยึดได้ภายหลัง
อาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 เป็นอาวุธปืนคนละกระบอก กับที่จำเลยที่ 3 ใช้ในการกระทำผิดในวันเกิดเหตุ ซึ่งตามฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนกระบอกที่ยึดได้นี้แต่อย่างใดจึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาวุธปืน: การลงโทษฐานครอบครองอาวุธปืนต่างกระบอกจากที่ใช้ในการกระทำผิด
อาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 เป็นอาวุธปืนคนละกระบอกกับที่จำเลยที่ 3 ใช้ในการกระทำผิดในวันเกิดเหตุ ซึ่งตามฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนกระบอกที่ยึดได้นี้แต่อย่างใด จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้
of 42