พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินไม่ถือเป็นการจัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของผู้เสียหายได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายกลับนำรถยนต์บรรทุกที่ได้รับมอบหมายไปรับจ้างขนดินโดยทุจริต แต่คำว่าได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองทรัพย์สินตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมีความหมายต่างกับคำว่าได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายตามนัยแห่งมาตรา 353ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกใช้สิทธิเรียกร้อง: บอกเลิกสัญญา หรือ เรียกร้องเบี้ยปรับรายวัน
สัญญาซื้อขายข้อ 8 มีความว่า ในกรณีที่ผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนแล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนสัญญาข้อ 9 มีความว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์ตามกำหนดและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินประกันของจำเลยจากธนาคารตามสัญญาข้อ 8 แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับจากจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 9 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยเอกสารปลอม แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้หากจำเลยอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 40,000 บาท ไม่ใช่68,000 บาท ดังโจทก์ฟ้อง แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่จำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้ จึงมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ว่าสัญญากู้ปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยอุทธรณ์เรื่องเอกสารปลอม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2แต่จำเลยเองเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 เป็นเอกสารปลอมเพราะจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้ ดังนี้จึงมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 ปลอมหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเชื่อ ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปลอมและบังคับตามสัญญาจึงเป็นการชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร, การสำแดงเท็จ, และการระงับคดีอาญา: สิทธิในการโต้แย้งและการคืนหลักประกัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เห็นว่าโจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ให้โจทก์นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันค่าภาษีอากรไว้ ทั้งการกระทำของโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ 99 จึงมีหนังสือเรียกให้โจทก์ไปตกลงระงับคดีอาญา ซึ่งหากโจทก์ยอมเสียค่าปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาดโดยคำนวณจากราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 102 และ 102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติศุลกากรกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยที่ตีราคาสินค้าโจทก์แล้วนำไปกำหนดค่าปรับ และโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันค่าภาษีอากรจนกว่าโจทก์จะชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบตามมาตรา 112 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร การระงับคดีอาญา และการวางประกันค่าอากร
โจทก์นำสินค้าเข้า พนักงานของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าต่ำไปและสำแดงรายการสินค้าเท็จ จึงให้โจทก์นำเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันมาวางโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันในวงเงิน 400,000 บาท และ 783,000 บาท ตามลำดับพนักงานของจำเลยจึงตรวจปล่อยสินค้าให้โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์ไปตกลงระงับคดี แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงได้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ กำหนดไว้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยได้ และเมื่อยังโต้เถียง จำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยคืนหลักประกัน ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่าโจทก์กระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ถ้า โจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ทำให้คดีอาญาระงับได้ตามมาตรา 102 และ 102 ทวิสินค้าที่โจทก์นำเข้าได้ระบุว่าเป็นกระบอกสูบเครื่องยนต์เครื่องหมายการค้า เอ็น.พี.อาร์. แต่ในตัวสินค้ามีเครื่องหมายรถยนต์ ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงถือเอาราคาตามที่บริษัทรถยนต์ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง โดยลดให้ร้อยละห้า และถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาด กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับอันจะได้ระงับคดีอาญา ดังนี้เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉล เกิน 10 ปี ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์เป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาอ้างมูลเหตุในฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงมารดาโจทก์ว่า เมื่อจำเลยสร้างเขื่อนชลประทานและเขื่อนเก็บน้ำแล้วน้ำจะท่วมที่ดินของมารดาโจทก์ ให้มารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลย มารดาโจทก์หลงเชื่อจึงขายที่ดินให้ ซึ่งความจริงเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วน้ำไม่ท่วมที่ดิน จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์เท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย ซึ่งจะมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมแล้วจึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายจากกลฉ้อฉล: 10 ปีนับแต่วันทำนิติกรรม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงเท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินนั้นเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตาม มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนที่ไม่เป็นความจริง และความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใด เพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดตามฟ้องอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชา กล่าวหาว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มือคติ ในการทำงาน พยายามหน่วงเหนี่ยวและกระทำการเป็นกำแพงฟ้องกันการส่งสินค้าออก ซึ่งเป็นการร้องเรียนกล่าวหาฝ่าฝืนความจริง จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนเท็จ การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และขอบเขตความรับผิดร่วมกัน
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใดเพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดเต็มตามฟ้องอยู่แล้ว ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศจะพูดกับจำเลยที่ 1 ผู้มาขอให้โจทก์ช่วยตรวจสอบเรื่องของจำเลยที่ 1ว่า "ผมไม่ชอบให้พ่อค้าเร่งข้าราชการ ผมรู้หน้าที่ของผมดี ผมไม่ชอบ"ก็ไม่ใช่ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ เชื่อว่าเกิดจากความไม่พอใจที่จำเลยที่ 1 มาเร่งรัด ประกอบกับโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยไม่ชักช้า โจทก์จึงไม่มีอคติในการทำงาน การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มีอคติในการทำงาน และกระทำการหน่วงเหนี่ยวเป็นกำแพงป้องกันการส่งสินค้าออก จึงเป็นการร้องเรียนกล่าวหาที่ฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นการละเมิดต่อโจทก์