พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินต้องพิจารณาจากสภาพที่ตั้ง วัตถุประสงค์ และรายได้ที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ.2527 มาตรา 5 การกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน จะต้องพิจารณาจากผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการหนึ่ง สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประการหนึ่งและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนอีกประการหนึ่ง รวม 3 ประการด้วยกันจำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจากราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเพียงประการเดียว ราคาดังกล่าวประเมินโดยเอาตำบล ถนน และทะเล เป็นหลัก ซึ่งเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ที่พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 5 บัญญัติให้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ไว้ซ้ำอีก มีผลเท่ากับบังคับให้มีการพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นแปลง ๆ ไป ทั้งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 ที่บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ของจำเลยเห็นได้อยู่ในตัวว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรา 6(3) จำเลยมีสิทธิให้เช่าซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ในนิคมอุตสาหกรรมของจำเลยได้ นอกจากนี้มาตรา 32 และมาตรา 35 บัญญัติให้ประธานกรรมการ พนักงานและลูกจ้างของจำเลยอาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นจึงได้บัญญัติให้การกำหนดราคาที่ดินต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเวนคืนด้วย มิฉะนั้นจะเป็นช่องทางให้จำเลยแสวงกำไรจากการกดราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของจำเลย หรือเพื่อผลกำไรจะได้กลับมาสำหรับจ่ายเป็นโบนัสทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อสังคม การที่จำเลยนำเอาราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการเดียวมากำหนดเป็นราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจึงไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์กำหนดราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไร่ละ 50,000 บาทโดยพิจารณาถึงรายได้ที่จำเลยได้รับจากการให้เช่าที่ดินของโจทก์ที่ได้ไปจากการเวนคืนไร่ละ 48,000 บาท ต่อปี จึงชอบแล้ว เพราะรายได้จากทรัพย์สินกับราคาของทรัพย์สินนั้นย่อมจะต้องสัมพันธ์กันพระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ได้มีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปีคงที่จนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องกำหนดราคาตามความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสภาพที่ดิน วัตถุประสงค์การเวนคืน และรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งฯมาตรา 5 เน้นที่จะให้เกิดความเป็นธรรมเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้เงินทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้น ที่มาตรา 5 บัญญัติให้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์มีผลเท่ากับให้มีการพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นแปลง ๆ ไป ทั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฯ จำเลยจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จำเลยมีสิทธิให้เช่าให้เช่าซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ในนิคมของจำเลยได้พนักงานและลูกจ้างของจำเลยอาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่ครม.กำหนด พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจึงบัญญัติให้การกำหนดราคาที่ดินต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเวนคืนด้วย การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนจากราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการเดียว จึงไม่ชอบ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งฯมาตรา 9 วรรค 4 บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ได้มีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปีคงที่จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษทางอาญา: ปืนและกระสุน, พฤติการณ์, ประวัติ, คุณงามความดี, รอการลงโทษ
ขณะที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและยึดอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้เป็นของกลางนั้น ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงว่าจำเลยพาอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวเพื่อจะใช้ในการกระทำผิด หรือเพื่อจะก่อเหตุร้ายขึ้น ทั้งกระสุนปืนที่บรรจุอยู่กับอาวุธปืนก็มีอยู่เพียงนัดเดียว ความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนักเมื่อจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับเคยได้กระทำคุณงามความดีโดยเข้าร่วมกับกลุ่มหนุ่มสาวพัฒนาหมู่บ้านของจำเลยจนได้รับรางวัลดีเด่นของหมู่บ้านจึงมีเหตุอันควรปรานี ที่จะให้รอการลงโทษจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดีอาวุธปืน: เหตุบรรเทาโทษ, พฤติการณ์, และการให้โอกาสกลับตัว
ขณะที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและยึดอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้เป็นของกลางนั้น ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงว่าจำเลยพาอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวเพื่อจะใช้ในการกระทำผิด หรือเพื่อจะก่อเหตุร้ายขึ้น ทั้งกระสุนปืนที่บรรจุอยู่กับอาวุธปืนก็มีอยู่เพียงนัดเดียว ความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนัก เมื่อจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับเคยได้กระทำคุณงานความดีโดยเข้าร่วมกับกลุ่มหนุ่มสาวพัฒนาหมู่บ้านของจำเลยจนได้รับรางวัลดีเด่นของหมู่บ้านจึงมีเหตุอันควรปรานี ที่จะให้รอการลงโทษจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยยกเหตุผลใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิจารณา
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการพักอาศัยไม่มีเจตนาเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เท่านั้นส่วนในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องมิใช่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไว้ ถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการพักอาศัยไม่มีเจตนาเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องมิใช่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไว้ ถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง: สิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์และให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจคนใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างก็ต้องดำเนินการให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่นว่านั้นพ้นจากตำแหน่งซึ่งเรียกกันว่าให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งยี่สิบสาม ซึ่งการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งซึ่งได้ให้ความหมายของการเลิกจ้างไว้ว่าหมายถึงการที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน โดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสาม พ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโดยที่โจทก์ทั้งสี่สิบสามไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 56 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 จึงเป็นการเลิกจ้าง ส่วนที่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐาน ของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 กำหนดว่าพนักงานที่ต้องต้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจ จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างนั้น ก็เป็นเพียงข้อกำหนด ให้พนักงานที่เกษียณอายุไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยโดยให้ได้รับเงิน เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน หากปฏิบัติงานก่อนครบเกษียณมาครบห้าปีขึ้นไป มิใช่เป็นข้อกำหนดว่าการที่รัฐวิสาหกิจให้พนักงานออกจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่เป็นการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข: ศาลฎีกาชี้ว่าฟ้องแย้งที่อ้างเหตุละเมิดหลังปฏิเสธการเลิกจ้าง เป็นฟ้องแย้งที่ไม่สมควรรับพิจารณา
ในชั้นแรกจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ต่อมากลับให้การว่า หากศาลฟังว่าเป็นการเลิกจ้าง ก็เป็นการเลิกจ้างด้วยความเป็นธรรมเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงานผู้ขายสินค้ากับประกอบกิจการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับจำเลยที่ 1 และเปิดเผยความลับในทางการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเพราะเหตุละเมิดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขที่ไม่สมควรจะรับไว้พิจารณากับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข: การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการละเมิดสัญญาจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ หากศาลฟังว่าเป็นการเลิกจ้าง ก็เป็นการเลิกจ้างด้วยความเป็นธรรมเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงานผู้ขายสินค้ากับประกอบกิจการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับจำเลยและเปิดเผยความลับในทางการค้าของจำเลย ทำให้จำเลยเสียหาย ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเพราะเหตุละเมิดดังกล่าวให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการไม่ยอมรับว่ามีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามฟ้องเดิมของโจทก์เลย เว้นแต่ศาลจะฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เสียก่อน จึงจะไปพิจารณาในปัญหาข้อพิพาทอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ภายหลังฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขที่ไม่สมควรจะรับไว้พิจารณากับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยเป็นข้าราชการอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์และได้รับคำสั่งมอบหมายจากนายกเทศมนตรีให้ไปรับเงินจากศาลมามอบให้เทศบาล แม้จะไม่ใช่หน้าที่ตามตำแหน่งของจำเลยโดยตรง แต่เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเงินที่ได้รับมอบหมายนั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่จัดการเป็นของตนโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147