คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ จันเทรมะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนหนี้ที่ต่ำกว่าการรับสารภาพในชั้นศาล และหลักการไม่แก้ไขคำพิพากษาหากไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์จำนวน 57,508.20 บาท จำเลยทั้งสองให้การรับว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน 38,464.76 บาท จึงมีประเด็นข้อพิพาทกันแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้หรือไม่ จำเลยที่ 1จะฎีกาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำนวน 15,144.66 บาทซึ่งต่ำกว่าที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้ไม่ได้ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: ศาลต้องระบุมาตราและวรรคที่ผิดชัดเจน การแก้คำพิพากษาโดยอุทธรณ์ชอบแล้ว
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 8เป็นบทกำหนดโทษที่แก้ไขใหม่ของมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 8เท่ากับลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 76(ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งความผิดตามมาตรา 76 ดังกล่าวมีหลายวรรคแต่ละวรรคกำหนดโทษไว้แตกต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่ระบุว่าจำเลยมีความผิดวรรคใดย่อมไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์แก้เสียให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันพยายามลักทรัพย์: การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การร่วมรู้ร่วมคิด และการเป็นตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 2 กำลังไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุยามวิกาลแล้วยืนอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 ในขณะเกิดเหตุ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ร่วมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2ในการลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยยืนคุมเชิงพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ถือได้ว่าแบ่งหน้าที่กันทำเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือลักทรัพย์: การแบ่งหน้าที่และเจตนาในการกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม พยายามลักทรัพย์: แบ่งหน้าที่กระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม-พยายามลักทรัพย์: แบ่งหน้าที่ชัดเจนถือเป็นตัวการ
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2
การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมและแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่ขัดต่อข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 267,268นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่งเกิดจากการกระทำผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม แต่เนื่องจากมาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไร คงให้นำอัตราโทษตามที่ระบุไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ซึ่งแล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราหนึ่งมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในกรณีเช่นนี้หากจะมีการลงโทษตามมาตรา 268 ก็จะต้องนำเอาอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 265มาใช้เป็นโทษของมาตรา 268 เพราะโจทก์ได้กล่าวอ้างมาในฟ้องด้วยว่าจำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารอันเป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยได้ปลอมขึ้น เมื่อมาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมแจ้งการย้ายที่อยู่ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคดีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 193 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าใบแจ้งย้ายที่อยู่ท.ร.17 เป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยปลอมขึ้นไปใช้ และแสดงต่อ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนง ให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ เจ้าพนักงานผู้กระทำการตาม หน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนงหลงเชื่อจึงได้ จดข้อความอันเป็นเท็จนั้นลงในทะเบียนบ้านของจำเลย อันเป็นเอกสารของทางราชการโดย ประการที่จะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพระโขนงผู้อื่นและประชาชน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267,268 นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่ง เกิดจากการกระทำผิดฐานใช้ หรืออ้างเอกสารราชการปลอมแต่ มาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะ ว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไรคงให้นำอัตราโทษตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 264,265,266 หรือมาตรา 267 ซึ่ง แล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้ หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในคดีนี้หากจะมีการลงโทษจำเลยตาม มาตรา 268ก็จะต้อง นำเอาอัตราโทษตาม ที่กำหนดไว้ในมาตรา 265 มาใช้ เป็นโทษของมาตรา 268 ซึ่ง มาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึง ห้าปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพัน บาทถึง หนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ - คดีขับไล่บุคคลออกจากที่ดิน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งห้าบุกรุก เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องที่ดินโจทก์จะให้เช่าได้เกิดเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ ฉ.จำเลยทั้งห้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิฉ. ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันตามสัญญาประกัน กรณีจำเลยหลบหนี และการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีที่ไม่ถูกต้อง
กรณีมีอุบัติเหตุรถยนต์ติดหล่มเดินทางไปยังศาลที่พิจารณาคดีไม่ทัน ผู้ประกันมีสิทธิยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและผัดการส่งตัวจำเลยต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตในขณะนั้นโดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 10 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ แต่การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตขณะเกิดเหตุ เมื่อเวลา 13.40นาฬิกา ซึ่งล่วงเลยเวลานัดไปแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าการเดินทางต่อไปยังศาลชั้นต้นคดีนี้ต้องใช้เวลามากกว่าหรือยากลำบากกว่าเพียงใด ผู้ประกันจึงไม่อาจนำจำเลยไปแสดงตัวต่อศาลชั้นต้นคดีนี้ได้ ทั้งยังปรากฏต่อมาว่าเมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันอื่น ผู้ประกันก็ส่งตัวจำเลยตามสัญญาประกันไม่ได้ แม้ภายหลังจากที่ศาลสั่งปรับผู้ประกันฐานผิดสัญญาประกันแล้ว ผู้ประกันก็มิได้นำส่งตัวจำเลยต่อศาลเพื่อขอลดค่าปรับหรือบรรเทาผลร้ายอีก เช่นนี้เชื่อได้ว่าจำเลยหลบหนีไม่มาศาลชั้นต้นตามกำหนดนัดตั้งแต่วันที่อ้างว่ามีอุบัติเหตุแล้ว.
of 42