คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ จันเทรมะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการยกให้ที่ดินที่เป็นสินสมรส และการจำนองที่ดิน ศาลต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นข้อกล่าวหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม และจำเลยที่ 2 ได้ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ขอให้เพิกถอนการยกให้ที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2ไถ่ถอนการจำนองที่ดินส่วนของโจทก์ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 ให้การและแถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง คำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1ดังกล่าวก็หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไม่ทั้งจำเลยที่ 2 มิได้ให้การและโจทก์มิได้ยอมรับว่า จำเลยที่ 2แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการยกให้ไม่สมบูรณ์และฟังว่าหลังจากการยกให้ที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกคืนการครอบครองเกินกว่า 1 ปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 และพิพากษายกฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบเพราะข้อเท็จจริงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ยังโต้เถียงกันว่า การยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์รู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ และโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดอาญา: จำเลยไม่สมคบคิดและไม่ได้ช่วยเหลือขณะกระทำผิด จึงไม่เป็นผู้สนับสนุน
ผู้เสียหายและนาย ม. ชกต่อยกอดปล้ำกันได้ประมาณ 3 นาทีจำเลยจึงขับรถจักรยานยนต์มาที่เกิดเหตุ โดยมีนาย จ. นั่งซ้อนท้ายมาด้วย นางสาวส.เรียกให้นาย จ. ช่วยห้ามและให้เอาตัวนายม.ไป นาย จ. เข้ารวบตัวผู้เสียหาย นายม.ชกต่อยผู้เสียหายอีก 2-3 ครั้ง แล้วขึ้นรถจักรยานยนต์ของจำเลยหลบหนีไป การที่จำเลยนั่งดูอยู่บนรถจักรยานยนต์มิได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และที่นายจ.เข้าไปเกี่ยวข้องเนื่องจากนางสาวส.เรียกให้ช่วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้สมคบกับนาย ม.หรือ นายจ.เพื่อทำร้ายผู้เสียหายมาก่อนและการพานาย ม.ออกไปจากที่เกิดเหตุหลังจากเลิกชกต่อยกันแล้วจะถือว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่นาย ม.ก่อนหรือขณะกระทำผิดหาได้ไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทต่อเจ้าหนี้ แม้ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเดิม ศาลพิพากษายืนตามสัญญา
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยทั้งสองทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ โดยยอมรับว่า ล. เป็นหนี้โจทก์จำนวน 300,000 บาทยังมิได้ชำระและจำเลยทั้งสองยอมชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า คำให้การของจำเลยทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย ข้อคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาว่า ล. เป็นหนี้โจทก์หรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยมา จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบิตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ใช้บังคับ ให้ใช้กฎหมายเดิมคุ้มครอง
แม้โจทก์ทั้งสองจะถูกคำสั่งให้ลงโทษพักงานและงดทำงานล่วงเวลาภายหลังที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของโจทก์ที่ถูกกล่าวหาว่าทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมายรวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ข้อพิพาทเกิดขึ้นคือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 ยังคงบังคับตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่ อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อน วันที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตาม ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กโดยเด็กยินยอม และความผิดฐานพรากเด็ก ศาลลดโทษสถานเบา
ความผิดฐานพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครอง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามมีกำหนด 5 ปีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้นั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ น่าจะมีความรู้ทางเรื่องเพศได้พอสมควร ทั้งก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายรักใคร่ชอบพออยู่กับจำเลยมาก่อน ที่ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปกระทำชำเราภายในบ้านและสถานที่อื่นก็ด้วยความสมัครใจและยินยอมของผู้เสียหาย ความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนักสมควรที่จะลงโทษจำเลยในสถานเบาโดยให้จำคุกในอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลสั่งรับทำงานต่อ ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างหยุด
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่า การเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ศาลแรงงานอาจสั่งได้เป็น 2 ประการคือ ให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปประการหนึ่ง และให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างในกรณีที่เห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้อีกประการหนึ่ง ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไป กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง นับแต่วันที่เลิกจ้างจนถึงวันที่รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญาและการพิจารณาโทษสถานเบา กรณีจำเลยให้การรับสารภาพ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ศาลลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วางโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย.
of 42