คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ จันเทรมะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือจดทะเบียน ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดกับความผิดของผู้เช่าซื้อ
ป. ขายรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 แต่ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์การที่ ป. กับจำเลยที่ 1 ไปทำคำเสนอใช้บริการของผู้ร้องโดยให้ผู้ร้องตกลงชำระราคารถยนต์ของกลางให้แก่ ป. และให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางจากผู้ร้อง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ป. ตกลงขายรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 แม้ผู้ร้องจะมิได้ครอบครองรถยนต์ของกลางเลยก็ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบกันโดยปริยาย กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกเป็นของผู้ร้องในทันทีที่ตกลงซื้อขายกัน แม้จะจดทะเบียนโอนกันในภายหลังการซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะใบคู่มือการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเงินทุนลงทุนในกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการให้เช่าซื้อ มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าไม้ อันเป็นเหตุให้มีการจับกุมจำเลยที่ 1 มาดำเนินคดีแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีพนักงานของผู้ร่วมร้องในการกระทำความผิดด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ต้องคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: แผ่นพลาสติกปูพื้นเป็นวัตถุก่อสร้าง ไม่ใช่สิ่งทอหรือเครื่องแต่งกาย
โจทก์ผลิตสินค้าแผ่นพลาสติกดูราฟลอร์ซึ่งเป็นแผ่นพี.วี.ซี.หรือแผ่นพลาสติกนิ่มเพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะ หาได้มีความประสงค์จะให้ใช้เป็นสินค้าประเภทอื่นไม่การที่มีผู้นำสินค้าที่โจทก์ผลิตไปใช้ประกอบเป็นสินค้าอื่น เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นสินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชี 1 ท้าย พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่ประเภทผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2)จึงไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีการค้าตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าพลาสติก: สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างหรือพลาสติกเป็นผืน และอัตราภาษีที่ถูกต้อง
ผลิตภัณฑ์สินค้าของโจทก์เป็นแผ่น พี.วี.ซี หรือแผ่นพลาสติกนิ่มมีความเหนียวแน่นทนทาน กว้าง 2 เมตร ยาว 20-30 เมตร หนา1-1.5 มิลลิเมตร โจทก์ผลิตขึ้นด้วยความประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะการที่มีผู้นำไปใช้ประกอบเป็นสินค้า เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้ที่นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์สินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งมิได้รับการลดหย่อนภาษีการค้า ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1. การขายของชนิด 1(ก) ในประมวลรัษฎากร ไม่อาจจัดเป็นสินค้าพลาสติกเป็นผืนประเภท ผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2) ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าเพียงอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน และการให้การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้รับ ส. เข้าทำงาน โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันว่า หากส.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่าทางแพ่งและทางอาญา จำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยไม่จำกัดจำนวน ต่อมา ส. ได้ลักเอาสินค้าของโจทก์ไปคิดเป็นเงินจำนวน 17,789 บาท ขอให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 ไม่ และการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในกรณีเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 จำเลยให้การว่า ส. จะได้ลักเอาสินค้าของโจทก์ไปและทำให้โจทก์เสียหายตามฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่อาจรับรองได้เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, และการบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุโต้เถียงข้อเท็จจริงยุติแล้ว ประเด็นความเสียหายจากการใช้เอกสารปลอม
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าการใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนจำนองด้วยเอกสารปลอม: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ไม่เข้าข่ายฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดการครอบครองประโยชน์ โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในที่พิพาทเป็นเงินเดือนละ 1,000 บาท ถือได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท เมื่อจำเลยให้การว่า จำเลยได้ขอใช้ที่พิพาทจาก ส. ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้ยึดถือทำประโยชน์ในที่พิพาทมานานแล้วการครอบครองของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลง โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาโดยตลอดมิได้ทิ้งร้าง การครอบครองจึงยังไม่สิ้นสุดลง เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายที่สมบูรณ์
เจ้าของเดิมทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและสามีโดยลงลายมือชื่อเป็นผู้จะขายและผู้เขียนสัญญาฝ่ายเดียว ส่วนผู้ร้องกับสามีไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาด้วย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำมั่นของเจ้าของเดิมว่าจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและสามีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและสามีได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายนั้นให้สำเร็จต่อไปและคำบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึงเจ้าของเดิมแล้ว คำมั่นของเจ้าของเดิมดังกล่าวจึงยังไม่มีผลเป็นการซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 454 วรรคแรกและจะฟังว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างเจ้าของเดิมกับผู้ร้องและสามีก็ไม่ได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้อง จึงมิได้เป็นการยึดถือครอบครองแทนเจ้าของเดิมโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องหาจำต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองด้วยการบอกกล่าวไปยังเจ้าของเดิมหรือผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมเพื่อแสดงว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองไม่ เมื่อผู้ร้องกับสามีได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันนานกว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาจะซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
แม้ผู้ร้องจะอ้างว่า ต. ได้ทำสัญญาเรื่องจะขายที่ดินพิพาทไว้ให้แก่ผู้ร้องและสามีตามเอกสารหมาย ร.1 ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวคงมีแต่ ต. ลงลายมือชื่อเป็นผู้จะขายและผู้เขียนสัญญาฝ่ายเดียว ส่วนผู้ร้องและสามีผู้ร้องกลับไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาดังกล่าวนั้นด้วย สัญญาดังกล่าวจึงรับฟังได้แต่เพียงว่าเป็นคำมั่นของ ต. ว่าจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและสามีเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องและสามีได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายนั้นให้สำเร็จต่อไป และคำบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึง ต.แล้วคำมั่นของต. ดังกล่าวจึงยังไม่มีผลเป็นการซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคแรก ดังนั้น จะฟังว่าสัญญาเรื่องจะขายที่ดินเป็นหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างต. กับผู้ร้องและสามีไม่ได้ การที่ผู้ร้องและสามีเข้าไปยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของ ต. จึงมิได้เป็นการยึดถือครอบครองแทน ต. โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเรื่องจะขายที่ดินตามเอกสาร กรณีของผู้ร้องและสามีจึงหาจำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง ต.หรือทายาทของต. ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 ไม่ เมื่อผู้ร้องและสามียึดถือครอบครองที่ดินของต. ไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382.
of 42