คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1175

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการบริษัทในการถอดถอนผู้แทนในกิจการร่วมค้า และความชอบด้วยกฎหมายของการประชุม
ป.พ.พ. มาตรา 1144 บัญญัติว่า "บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง" กรรมการของจำเลยที่ 1 จึงต้องจัดการบริษัทตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว เมื่อในการเรียกประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดระยะเวลาในการเรียกประชุมกรรมการไว้เป็นการเฉพาะ และปรากฏตามรายงานการประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ใช้ ป.พ.พ. เป็นข้อบังคับของบริษัท ดังนั้น ในการเรียกประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1162 ที่บัญญัติว่า "กรรมการคนหนึ่งคนใดจะนัดเรียกให้ประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้" อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับการเรียกประชุมกรรมการบริษัท ซึ่งในกรณีนี้กฎหมายมิได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการบอกกล่าวเรียกประชุมไว้ และเมื่อการเรียกประชุมกรรมการบริษัทมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้กรรมการนัดเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ กรณีจึงไม่อาจนำวิธีการบอกกล่าวเรียกประชุมตามมาตรา 1175 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงสามารถเรียกประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้
ข้อบังคับของบริษัทเป็นข้อตกลงในการจัดการงานของบริษัทที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัท และข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้สำหรับบริษัทใดย่อมใช้บังคับสำหรับบริษัทนั้น เมื่อบริษัท ร. เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะของกิจการร่วมค้าตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย โดยจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในบริษัท ร. เท่านั้น แม้สัญญาร่วมลงทุนของบริษัท ร. จะกำหนดว่าการเรียกประชุมกรรมการของบริษัทต้องเรียกประชุมล่วงหน้า 15 วัน ก็ตาม แต่เมื่อที่ประชุมของจำเลยที่ 1 ให้ใช้ ป.พ.พ. เป็นข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ตกลงให้นำข้อบังคับของบริษัท ร. มาใช้เป็นข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ด้วย ระยะเวลาในการบอกกล่าวเรียกประชุมกรรมการของบริษัท ร. ที่กำหนดให้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1
การออกหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการระบุวาระการประชุมว่า เรื่องต่าง ๆ รวมถึงมาตรการที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ในฐานะกรรมการของบริษัท ร. เมื่อพิจารณาถึงวาระการประชุมตามที่กำหนดไว้ในเอกสารดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นวาระการประชุมเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการใด ๆ ที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งครอบคลุมรวมถึงการคงอยู่ หรือการถอดถอน หรือการแต่งตั้งผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทดังกล่าวด้วย การที่ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ ๑ ได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์กับพวกซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัท ร. ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งบุคคลอื่นแทนจึงเป็นการพิจารณาและลงมติในวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้
บริษัท ร. เป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการของบริษัทแยกต่างหากจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น การที่ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ ๑ มีมติถอดถอนโจทก์กับพวกออกจากการเป็นผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัท ร. จึงมิใช่เป็นการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ ๑ ที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑๕๑ ที่กำหนดให้การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทต้องกระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: การเข้าร่วมประชุมด้วยความรู้เท่าทันถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องทราบนัดและเข้าร่วมประชุมคราวปัญหาพร้อมกับผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ครบทั้งหมด 7 คน สำหรับการประชุมคราวปัญหาได้มีการแจ้งนัดประชุมให้ผู้ร้องทราบทางโทรศัพท์และเป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่งผู้ร้องทราบปัญหาดี ผู้ร้องได้มีหนังสือขอให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งมีการอ้างอิงบันทึกฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 ที่มีการเสนอขายที่ดินเพื่อจัดการชำระหนี้ด้วย จึงเชื่อว่าผู้ร้องทราบล่วงหน้าถึงปัญหาและวาระที่ที่ประชุมจะต้องพิจารณา กับมีเวลาเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ต้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 แล้ว แม้การแจ้งนัดประชุมคราวปัญหาให้ผู้ร้องทราบจะกระทำโดยทางโทรศัพท์ แต่ผู้ร้องก็ทราบนัดและเข้าร่วมประชุมด้วย การที่ผู้ร้องแพ้มติในที่ประชุมดังกล่าวแล้วกลับมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมโดยอ้างว่า การแจ้งนัดประชุมไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 บัญญัติไว้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวการประชุมผู้ถือหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 และ 1195ได้บัญญัติ เรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุมแม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียโดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวันทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อมติที่ประชุม
ป.พ.พ.มาตรา 1175 และ 1195 ได้บัญญัติเรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุม แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย โดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย แม้เอกสารมีปัญหาการส่งคืน
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่21มกราคม2537ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175แล้วแม้ต่อมาเมื่อวันที่24มกราคม2537ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมาและบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้นซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่27มกราคม2537ก่อนวันนัดประชุมสองวันก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบอีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่14มกราคม2537ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่29มกราคม2537นั้นผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้วจึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว แม้เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอกและในวันนัดสืบพยานทนายผู้คัดค้านที่2แถลงไม่ติดใจสืบพยานและผู้คัดค้านที่1มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่1ว่าไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวจึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบ แม้หนังสือถูกตีคืนและมีการส่งซ้ำก็ถือว่าชอบแล้ว
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่21 มกราคม 2537 ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175แล้ว แม้ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมา และบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้นซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่ 27 มกราคม 2537 ก่อนวันนัดประชุมสองวัน ก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบอีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่ 14 มกราคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 มกราคม 2537 นั้น ผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว แม้ เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่ 2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอก และในวันนัดสืบพยาน ทนายผู้คัดค้านที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่ 1 ว่า ไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบ แม้มีการส่งหนังสือคืน และการรับฟังเอกสารพยานที่ทนายยอมรับ
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่ 21 มกราคม 2537ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1175 แล้ว แม้ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมา และบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้น ซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่27 มกราคม 2537 ก่อนวันนัดประชุมสองวัน ก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบ อีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่ 14 มกราคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 มกราคม 2537 นั้น ผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว
แม้เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่ 2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอก และในวันนัดสืบพยาน ทนายผู้คัดค้านที่ 2แถลงไม่ติดใจสืบพยาน และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่ 1 ว่า ไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าหนี้ และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใดมติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า7วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย2คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงมติของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย และความชอบด้วยกฎหมายของการแจ้งนัดประชุม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใด ซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้น หมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าว ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใด มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1185
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบต้องยื่นคำร้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันลงมติ
การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งได้นัดเรียกประชุมฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องร้องขอเพิกถอนภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ลงมตินั้นตามมาตรา 1195 เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่พ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ลงมติ จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอน
of 3