พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่ระบุเลขที่หุ้น ไม่ทำให้การโอนเป็นโมฆะ หากบริษัทไม่ได้ออกใบหุ้นและไม่มีทะเบียนผู้ถือหุ้น
ในเอกสารการโอนหุ้นโจทก์ผู้รับโอนกับผู้โอนได้ลงลายมือชื่อมีพยานรับรอง 2 คน ทั้งกรรมการบริษัทจำเลยสองนายได้ลงชื่อประทับตราบริษัทอนุมัติให้โอนหุ้นกันได้ ถูกต้องตามแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองบังคับไว้ ส่วนที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวบัญญัติความต่อไปว่าตราสารการโอนหุ้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วยก็เพื่อจะรู้ได้แน่นอนว่าหุ้นใดของผู้ถือหุ้นยังอยู่และหุ้นใดได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าถ้ามิได้แถลงหมายเลขหุ้นที่โอนกัน การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมเป็นโมฆะ ทั้งบริษัทจำเลยยังไม่ได้ออกใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้น ย่อมไม่มีเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันที่ผู้โอนจะแถลงลงในหนังสือโอนหุ้นและจดแจ้งการโอน กับชื่อผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นได้ การโอนหุ้นดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดประชุมผู้ถือหุ้นและการแต่งตั้งกรรมการที่เคยเป็นผู้สอบบัญชี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 เป็นบทกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใดเมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่แต่มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่า ถ้าไม่แจ้งไปให้ผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุม 7 วันแล้ว การแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่า เพราะการนัดประชุมใหญ่ไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งเพียงอย่างเดียวอาจทำโดยวิธีอื่นได้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นทุกคนทราบกำหนดวันนัดประชุมใหญ่แล้ว แม้หนังสือแจ้งนัดประชุมใหญ่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน 7 วัน ก็เป็นคำบอกกล่าวแจ้งประชุมใหญ่โดยชอบ
แม้จะปรากฏว่าขณะที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งจ. เป็นกรรมการนั้นจ. ยังดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาหลังจาก จ. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้ว จ. ไม่เคยได้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทแต่อย่างใด ทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีในเดือนถัดไป ดังนี้ การแต่งตั้ง จ. เป็นกรรมการจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท
แม้จะปรากฏว่าขณะที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งจ. เป็นกรรมการนั้นจ. ยังดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาหลังจาก จ. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแล้ว จ. ไม่เคยได้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทแต่อย่างใด ทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีในเดือนถัดไป ดังนี้ การแต่งตั้ง จ. เป็นกรรมการจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนและมีองค์ประชุมครบตามกฎหมาย
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัท ได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้น กำหนดวันประชุม แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172,1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นไปตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัทได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกำหนดวันประชุมแล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172, 1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการละเมิดชื่อเสียงจากการถอดถอนกรรมการ
โจทก์เป็นประธานกรรมการของบริษัท จึงเป็นประธานการประชุมใหญ่เมื่อไม่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดเป็นอย่างอื่นเมื่อประธานบอกเลิกประชุม การประชุมก็สิ้นสุดลงกรรมการอื่นประชุมต่อไปโดยไม่นัดประชุมใหม่โดยบอกกล่าวก่อนตามข้อบังคับ เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับและ มาตรา 1174, 1175 รายงานการประชุมครั้งนี้ถอดประธานกรรมการโดยอ้างว่าทำความเสียหายแก่บริษัท จำเลยนำไปขอจดทะเบียน จึงทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นขัดต่อ กม.แพ่งฯ และการลงชื่อนัดประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การประชุมใหญ่ที่ปรึกษาเรื่องนอกระเบียบวาระ มติซึ่งผู้ถือหุ้นลงมติให้จ่ายเงินใช้หนี้ซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175,1185 ผู้ชำระบัญชีลงชื่อนัดประชุมแต่คนเดียวอีกคนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย ขัดต่อ มาตรา 1261 ผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนได้ตาม มาตรา 1195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบอกกล่าวประชุมผู้ถือหุ้น: ระยะเวลาที่กำหนดกฎหมายเน้นที่การส่งก่อนวันประชุม ไม่จำเป็นต้องให้ถึงมือผู้รับก่อน
มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่บริษัทจำกัด เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้รับ ย่อมถือว่าจำเลยส่งถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โจทก์จะได้รับวันใด หาเป็นข้อสำคัญไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมบริษัทจำกัด การนับระยะเวลาตามกฎหมาย ให้ดูวันที่ส่ง ไม่ใช่วันที่ผู้รับได้รับ
มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่บริษัทจำกัด เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้รับ ย่อมถือว่าจำเลยส่งถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โจทก์ได้รับวันใด หาเป็นข้อสำคัญไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่บริษัทที่ผิดระเบียบ และการถอนผู้ชำระบัญชีต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่ง เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตามป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่ง เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตามป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบและถอดถอนผู้ชำระบัญชีต้องยื่นภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีมีข้อพิพาท
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247