พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันจากอาวุธปืน และอำนาจศาลในการสั่งริบของกลาง
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดต่างกรรมกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งริบของกลาง แม้โจทก์ไม่เคยอุทธรณ์
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด - การพิจารณาเจตนาการขาดนัดและผลกระทบต่อสิทธิในการให้การ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่ขาดนัดพิจารณาสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ได้ หากการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยไม่จงใจ และศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม ในการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลจึงต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพื่อสิทธิตามกฎหมายของจำเลย
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ แม้มีทางออกอื่นแต่ต้องผ่านที่ดินผู้อื่น การตกลงใช้ทางจำเป็นไม่ขัดต่อกฎหมายอาคารชุด
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะโดยตรงได้แม้โจทก์จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นทางทิศเหนือและทิศตะวันออกไปสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม แต่ก็ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นกัน โจทก์จึงมีสิทธิจะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ เดิมเจ้าของที่ดินของโจทก์เคยใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะต่อมาก็ได้มีการจดทะเบียนภารจำยอมให้ที่ดินของโจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้ต่อมาจะมีการจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอม แต่ก็เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย ทั้งยังได้มีการตกลงกันให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้จึงเป็นการสมควรที่โจทก์เลือกใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 10เป็นกรณีเมื่อมีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว ห้ามมิให้ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นก่อภารผูกพันเกี่ยวกับอาคารชุด ดังกล่าว แต่คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองมิได้บังคับให้ไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด และกรณีเป็นเรื่องทางจำเป็นที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นเป็นผู้ก่อภารผูกพันดังกล่าวขึ้นไม่ ฉะนั้นแม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ก็หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นแม้มีทางออกอื่น แต่ต้องผ่านที่ดินบุคคลอื่น และข้อตกลงใช้ทางไม่ขัดกฎหมายอาคารชุด
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะโดยตรงได้แม้โจทก์จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกไปสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม แต่ก็ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นกัน โจทก์จึงมีสิทธิจะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมเจ้าของที่ดินของโจทก์เคยใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะต่อมาก็ได้มีการจดทะเบียนภาร จำยอมให้ที่ดินของโจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้ต่อมาจะมีการจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอม แต่ก็เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย ทั้งยังได้มีการตกลงกันให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้จึงเป็นการสมควรที่โจทก์เลือกใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ
ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 10เป็นกรณีเมื่อมีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว ห้ามมิให้ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นก่อภารผูกพันเกี่ยวกับอาคารชุด ดังกล่าว แต่คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองมิได้บังคับให้ไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด และกรณีเป็นเรื่องทางจำเป็นที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นเป็นผู้ก่อภารผูกพันดังกล่าวขึ้นไม่ ฉะนั้นแม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ก็หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่.
เดิมเจ้าของที่ดินของโจทก์เคยใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะต่อมาก็ได้มีการจดทะเบียนภาร จำยอมให้ที่ดินของโจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้ต่อมาจะมีการจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอม แต่ก็เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย ทั้งยังได้มีการตกลงกันให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้จึงเป็นการสมควรที่โจทก์เลือกใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ
ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 10เป็นกรณีเมื่อมีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว ห้ามมิให้ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นก่อภารผูกพันเกี่ยวกับอาคารชุด ดังกล่าว แต่คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองมิได้บังคับให้ไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด และกรณีเป็นเรื่องทางจำเป็นที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นเป็นผู้ก่อภารผูกพันดังกล่าวขึ้นไม่ ฉะนั้นแม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ก็หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นแม้มีทางอื่น ทางพิพาทเดิมมีผลบังคับใช้ได้ แม้มีการยกเลิกภาระจำยอม
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะโดยตรงได้ แม้จะได้ความว่าโจทก์จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นออกไปสู่ทางสาธารณะทางด้านอื่นได้ก็ตาม แต่ก็ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นกัน ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 เดิม เจ้าของที่ดินของโจทก์เคยใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ และต่อมาได้มีการจดทะเบียนภารจำยอมให้ที่ดินของโจทก์ใช้ที่พิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ภายหลังมีการจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอม แต่ก็ทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย กับทั้งยังมีการตกลงให้โจทก์ใช้ทางพิพาทของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ดังนี้ เป็นการสมควรที่โจทก์เลือกใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ กรณียังไม่มีเหตุสมควรที่โจทก์จะเปลี่ยนแปลงไปใช้ทางอื่น สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับอาคารชุดจำเลยที่ขัดกับพ.ร.บ. อาคารชุดฯ มาตรา 10 ซึ่งห้ามมิให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและห้ามผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดก่อภาระผูกพันเกี่ยวกับอาคารชุดเมื่อได้มีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว แม้ข้อตกลงเป็นโมฆะ ก็หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะตามกฎหมายไม่ เพราะกรณีเป็นเรื่องทางจำเป็นที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ อากรแสตมป์ค้างชำระ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 10 กระทำกิจการหลายอย่างรวมทั้งฟ้องคดีนี้ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป และโจทก์ดังกล่าวต่างอ้างว่ามีสิทธิใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิที่เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์คนละแปลงต่างกัน แม้จะทำหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสารฉบับเดียวกันก็ตาม ก็ต้องเสียอากรตามรายบุคคลคนละ30 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 21 (ข) จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 270 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่บริบูรณ์ ต้องห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามมาตรา 118 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง, ภารจำยอมได้มาโดยอายุความ และการพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 10 กระทำกิจการหลายอย่างรวมทั้งฟ้องคดีนี้ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป และโจทก์ดังกล่าวต่างอ้างว่ามีสิทธิใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิที่เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์คนละแปลงต่างกัน แม้จะทำหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสารฉบับเดียวกันก็ตาม ก็ต้องเสียอากรตามรายบุคคลคนละ30 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 21(ข) จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 270 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่บริบูรณ์ ต้องห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามมาตรา 118 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401 โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4693/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: ความผิดสำเร็จ vs. พยายามกระทำความผิด
สิบตำรวจตรี ป.ล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลย สิบตำรวจตรี ป.เอาธนบัตรยัดใส่กระเป๋ากางเกงด้านหลังของจำเลยแล้วจำเลยเดินไปที่ป่าละเมาะหลังบ้าน จำเลยตกลงจะจำหน่ายเฮโรอีนให้ และที่เดินไปป่าหลังบ้านก็เพื่อจะนำเฮโรอีนมาให้เป็นการลงมือกระทำความผิดในข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนแล้ว แต่จำเลยมีเฮโรอีนจำนวน 9 หลอด จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกเฮโรอีนส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรี ป.ยังไม่ทราบว่าธนบัตรที่สิบตำรวจตรี ป.ยัดใส่กระเป๋ามีจำนวนเท่าใด และจำเลยจะต้องมอบเฮโรอีนให้สิบตำรวจตรี ป.จำนวนเท่าใด ดังนี้ การซื้อขายหรือจำหน่ายเฮโรอีนยังไม่เป็นความผิดสำเร็จ โดยเป็นเพียงขั้นพยายามเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายและสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระราคาครบถ้วน แม้ฟ้องเรื่องครอบครอง ศาลไม่ถือว่าเป็นการพิพากษานอกฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์นอกจากจะบรรยายว่า โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยการครอบครองแล้ว ยังบรรยายฟ้องด้วยว่า ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ บ. มีข้อตกลงว่า เมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว บ. จะไปจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งหกในฐานะทายาทของ บ. ร่วมกันไปจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นให้แก่โจทก์อีกด้วย ดังนี้ แม้คดีจะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า โจทก์ชำระราคาที่ดินตามสัญญาให้ บ. ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับ บ. เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย และพิพากษาให้จำเลยทั้งหกซึ่งเป็นทายาทของ บ. โอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกฟ้อง