คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังแบ่งทรัพย์สิน: ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร และความพลั้งเผลอเป็นไปได้ในนิติบุคคล
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม ส่วนการที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขได้หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้สามัญเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: ศาลพิจารณาเป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงความพลั้งเผลอ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: อำนาจฟ้อง, การยอมรับเอกสาร, และสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ถ. ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยจำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้องแล้ว ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ชั้นพิจารณาศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แสดงว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน ยังค้างชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน8,538,400.98 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เลิกทันทีแม้ผิดนัดชำระ หากเจ้าหนี้รับชำระล่าช้าโดยไม่ทักท้วง ต้องบอกกล่าวให้ชำระก่อน
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดหรือกระทำผิดสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดยอมให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันที โดยมิต้องมีการบอกกล่าวก่อนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเกือบ 1 ปี ฝ่ายโจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง แสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดในสัญญา จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ได้ ในกรณีนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน หนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ไม่เป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การยินยอมรับชำระหนี้เกินกำหนด ทำให้คู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเป็นข้อสำคัญ
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้โจทก์ยินยอมรับไว้โดยไม่ทักท้วงแสดงว่าโจทก์ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อน หนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ไม่ถือเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1, ที่ 2 ให้การว่าหลังจากผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อแล้วโจทก์ยังยอมรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้ออีก แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญจึงเป็นการวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1, ที่ 2ให้การหาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนข้อหาจากฆ่าโดยเจตนาเป็นประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และอำนาจศาลในการแก้ไขโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้องได้ หากไม่เป็นสาระสำคัญและจำเลยไม่โต้แย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาที่พยานหลักฐานชี้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ฟ้องในความผิดฐานฆ่าโดยเจตนา
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์มาเป็นพยานในชั้นพิจารณา คงมีแต่นาง ร. และเจ้าพนักงานตำรวจมาเบิกความรับรองคำให้การของ นางสาว บ. นางสาว ค.นางสาวม.และนายส.ซึ่งให้การไว้ในชั้นสอบสวนสอดคล้องต้องกันว่า วันเกิดเหตุจำเลยได้ว่าจ้างนางสาว ม. นางสาว ค. และผู้หญิงอีก 3 คน ซึ่งเป็นนักร้องให้ไปร้องเพลง โดยนั่งรถยนต์คันที่ผู้ตายขับไปด้วยกันจำเลยนั่งตอนหน้าทางด้านซ้ายผู้ตาย โดยนางสาว ม. และนางสาว ค.นั่งถัดจำเลยไปทางด้านซ้าย ส่วน ส. และคนอื่นนั่งอยู่กระบะหลังเมื่อรถยนต์หยุดตรงที่เกิดเหตุมีเสียงปืนดัง 1 นัด จากบริเวณหน้ารถจำเลยหลบหนีไปกับพวก และปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนว่า จำเลยนัดแนะกับผู้ตายว่า จำเลยจะทำทีเอาอาวุธปืนออกมาจี้ผู้ตายให้ผู้ตายหยุดรถ แล้วจำเลยจะฉุดนักร้องหญิง 1 คนไป แต่อาวุธปืนเกิดลั่นขึ้น 1 นัด ทั้งจำเลยเบิกความยอมรับว่า พนักงานสอบสวนไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน และลงชื่อไว้ในคำให้การจริง ดังนี้ เชื่อได้ว่า นางสาว บ. นางสาว ค. นางสาว ม.และนาย ส. รู้เห็นเหตุการณ์ตามที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่า จะรับฟังดังคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาไม่ได้ แต่ไม่ปรากฏว่า พนักงานสอบสวนและพยานดังกล่าวมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าพนักงานสอบสวนและพยานจะแกล้งปรักปรำจำเลย พยานหลักฐานโจทก์ประกอบกันฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุและเป็นผู้ทำให้ปืนลั่น กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเจตนาฆ่า แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยทำปืนลั่นขึ้นโดยไม่มีเจตนาฆ่า แต่เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: พิจารณาฐานะทรัพย์สินและรายได้ของจำเลยเพื่อวินิจฉัยความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งนักสำรวจดิน 6 กรมพัฒนาที่ดินนอกจากมีรายได้ประจำจากเงินเดือนยังประกอบกิจการค้าขายอาหารร่วมกับภรรยา บ้านของจำเลยแม้จะปลูกอยู่ในที่ดินบุคคลอื่นและรถยนต์อยู่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อแต่ทั้งบ้านและสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยย่อมนำไปแสวงหาประโยชน์ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก จำเลยจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ มิได้เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ในคดีล้มละลายต้องเสียเพียง 50 บาท ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) โจทก์เสียมา 200 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุด, การคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสัญญา, หักชำระหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2523 มีกำหนดเวลา12 เดือน ย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 28 สิงหาคม 2524 สัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งรวมอยู่ด้วยจึงสิ้นสุดไปพร้อมกัน เว้นแต่โจทก์จำเลยจะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไปอีกโดยตรงหรือโดยปริยาย การที่โจทก์จำเลยจะเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปภายหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วจำเลยจะต้องเบิกเงินจากบัญชีได้อีก แต่โจทก์หายอมให้จำเลยเบิกเงินได้อีกไม่ จึงเห็นเจตนาของโจทก์ได้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีกับจำเลยอีก ส่วนการที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชี2 ครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว ก็เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าเป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้น หาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ภายหลังจากสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้โดยวิธีธรรมดาจะคิดดอกเบี้ยโดยวิธีทบต้นต่อไปอีกหาได้ไม่
of 48