คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างปรับปรุงถนนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ถือเป็นละเมิด หากผู้ซื้อที่ดินทราบถึงความเสี่ยงและประโยชน์สาธารณะมีน้ำหนักมากกว่าความเสียหายส่วนตัว
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ข้อ 7 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงจังหวัด และข้อ 18 ให้อธิบดีของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่กำกับตรวจตราและควบคุมงานที่เกี่ยวกับทางหลวงจังหวัด เมื่อจำเลยดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงถนนพิพาทโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อความสะดวกปลอดภัยในการจราจรของประชาชนทั่วไปและเพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นการสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ใด ประกอบกับไม่สามารถหลีกเลี่ยงการยกระดับถนนให้ต่ำลงกว่าที่สร้างได้ เพราะจะทำให้การจราจรติดขัดและอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของผู้ที่ต้องใช้ทางหลวงจังหวัดสายนี้จำนวนมากได้ ทั้งโจทก์ทราบมาก่อนซื้อที่ดินพร้อมบ้านแล้วว่าจำเลยจะก่อสร้างปรับปรุงยกระดับถนนพิพาท เมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์ซื้อดังกล่าวซึ่งอยู่ติดถนนพิพาทมาคำนึงประกอบแล้ว โจทก์จึงคาดหมายได้ว่าการยกระดับถนนพิพาทอาจทำให้ที่ดินและบ้านที่โจทก์กำลังจะซื้อนั้นถูกถนนพิพาทบังทางลมและแสงสว่าง เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพดังกล่าวก่อนซื้อที่ดินและบ้านไว้แล้ว และเมื่อเปรียบเทียบประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไปจำนวนมากจะได้รับความสะดวกปลอดภัยและความเจริญของท้องถิ่นจากการยกระดับถนนพิพาทในระดับที่สร้างกับการที่โจทก์ต้องขาดความสะดวกสบายไปบ้างแล้ว ความเดือดร้อนของโจทก์ดังกล่าวไม่เกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ และมีเหตุอันสมควร โจทก์จำต้องยอมรับเอาดังเช่นบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับโจทก์ในสังคมยอมรับ การก่อสร้างปรับปรุงยกระดับถนน-พิพาทไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างปรับปรุงถนนยกระดับไม่เป็นละเมิด หากโจทก์ทราบล่วงหน้าและประโยชน์สาธารณะมีมากกว่าความเดือดร้อน
โจทก์ทราบมาก่อนซื้อที่ดินพร้อมบ้านแล้วว่าจำเลยจะก่อสร้างปรับปรุงยกระดับถนน โจทก์จึงคาดหมายได้ว่าการยกระดับถนนอาจทำให้ที่ดินและบ้านที่โจทก์กำลังจะซื้อนั้น ถูกถนนพิพาทบังทางลมและแสงสว่าง เท่ากับโจทก์ยอมรับสถานการณ์ดังกล่าวก่อนซื้อที่ดินและบ้านไว้แล้ว และเมื่อเปรียบเทียบประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไปจำนวนมากที่จะได้รับความสะดวกปลอดภัยและความเจริญของท้องถิ่นจากการยกระดับถนนพิพาทในระดับที่สร้างกับการที่โจทก์ต้องขาดความสะดวกสบายไปบ้างแล้ว ความเดือดร้อนของโจทก์ไม่เกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย โจทก์จำต้องยอมรับเอาดังเช่นบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับโจทก์ในสังคมยอมรับ ควรก่อสร้างปรับปรุงยกระดับถนนพิพาทการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากผู้ถูกแย่งเป็นเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์ ขอให้ขับไล่ การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองจำเลยก็ได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มาแล้วกว่า1 ปี และโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง นั้น คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาท กรณีไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองและการฟ้องแย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์ขอให้ขับไล่ การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองจำเลยก็ได้แย่งการครอบครองจากโจกท์มาแล้วกว่า 1 ปี และโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง นั้น คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาท กรณีไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และการจดทะเบียนทางภารจำยอม
โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ใช้ทางในที่ดินของจำเลย ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก่อนปี 2498ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวล้วนแต่อยู่ในตระกูล ของ โจทก์ทั้งสิ้น การใช้ทางในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการ ขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติหรือโดยถือวิสาสะ จึงไม่อาจได้ ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2498 ที่ ส. ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกไปและมีการโอนกันต่อ ๆมาจนถึงจำเลยซึ่งรับโอนเมื่อปี 2526 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางของโจทก์และคนในครอบครัวเป็นไปโดยสงบและเปิดเผย มิได้ขออนุญาตจากผู้ใด จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทางสาธารณะที่โจทก์สามารถใช้สัญจรไปมาได้อยู่แล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ยังถือไม่ได้ว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางในที่ดินของจำเลยที่โจทก์ใช้เดินออกสู่ถนนพระรามที่ 3 อยู่จึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยให้การว่า โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ไม่เคยใช้ ทางบนที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่มีทางภารจำยอมคำให้การดังกล่าวย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วยการที่ศาลวินิจฉัยไปถึงความกว้างของทางภารจำยอมว่ามีความกว้าง 1 เมตร จึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การ ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร โจทก์ใช้ทางพิพาทไม่สะดวก ทั้งการสร้างรั้วหรืออาคารในที่ดินของจำเลยโดยเว้นทางพิพาทไว้ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางด้านทิศใต้เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์จากที่ดินทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากได้ย้ายทางไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้แล้วย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลงกลับจะทำให้โจทก์เดินระยะทางสั้นเข้าเพราะไม่ต้องเดินวกไป ทางขวามากดังที่เป็นอยู่เดิม และการย้ายภารจำยอมเป็น ประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมนั้นพึงต้องถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่ง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 แม้โจทก์จะได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบที่จะเรียกให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้ โจทก์สร้างสะพานไม้ใช้เดินเข้าออกบนทางภารจำยอมเนื่องจากน้ำท่วม บางครั้งต้องเดินลุยน้ำแต่หากท่วมมากก็ต้องถอดกางเกงแล้วเดินออกไป ดังนั้นที่จำเลยถมดินทำให้ทางภารจำยอมสูงกว่าระดับที่ดินของโจทก์ก็ยิ่งทำให้โจทก์ ได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้นไม่ต้องเดินสะพานไม้อีกต่อไปการถมดินของจำเลยจึงมิได้ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาระจำยอม การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ และการกำหนดขอบเขตภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ การใช้ทางพิพาทในระยะเวลา ดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมี ทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มา จนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์ เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาท จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จน ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภารจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภารจำยอม จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการ เพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากเดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดิน ทางด้านทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภารจำยอม เป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้าม ชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภารจำยอมไปทางด้านทิศใต้ สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้ จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจะเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: อำนาจสถานที่, การออกเสียง, และผลผูกพันคำสั่งศาล
การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 31 มิได้บังคับว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกภายในเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกที่ราชตฤณมัยสมาคม โดยคำนึงถึงความสะดวกของเจ้าหนี้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีจำนวนหลายพันคนเป็นสำคัญ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดให้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนอกเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายคดีนี้ จึงกระทำได้โดยชอบ ในวันประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก การที่เจ้าหนี้บางรายกลับไปก่อนโดยไม่ร่วมพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของเจ้าหนี้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่าเจ้าหนี้ต้องอยู่ร่วมด้วยทุกคนเสมอไป ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้เด็ดขาด ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างว่าตนไม่ใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเพื่อขอให้ศาลรอการพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายไว้ก่อนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัวเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภาระจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีทางพิพาทในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของบ้านแต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภาระจำยอมโดยอายุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภาระจำยอมโดยอาศัยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ตนปลูกบ้านอยู่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น ไม่ใช่ประโยชน์แก่ตัวบ้านที่ปลูกบนที่ดินของผู้อื่น
อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีทางพิพาทในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของบ้านแต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ตนปลูกบ้านอยู่เท่านั้น
of 48