พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ร้องที่อ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของทรัพย์
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และขายทอดตลาดเป็นของผู้ร้องทั้งสอง โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและดำเนินการขายทอดตลาดโดยผู้ร้องทั้งสองไม่รู้เห็นมาก่อนการบังคับคดีจึงกระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดีครั้งนี้ อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และการจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้นตามมาตรา 288 วรรคแรก ก็กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องก่อนการขายทอดตลาด
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และขายทอดตลาดเป็นของผู้ร้องทั้งสอง โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและดำเนินการขายทอดตลาดโดยผู้ร้องทั้งสองไม่รู้เห็นมาก่อน การบังคับคดีจึงกระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดีครั้งนี้ อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์นั่นเอง มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสองประกอบมาตรา 27 และการจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้น ตามมาตรา 288 วรรคแรก ก็กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องกระสุนปืน: ปลอกกระสุนต้องมีสภาพพร้อมใช้งานจึงจะเข้าข่ายความผิด
โจทก์มิได้นำสืบให้รับฟังได้ว่า ปลอกกระสุนปืนของกลางมีสภาพอาจเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนได้อันจะเป็นเครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 4 (2) จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้ของผู้ต้องหาเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่ไม่ชัดเจน และการพิสูจน์ลักษณะของเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย
โจทก์มิได้นำสืบให้รับฟังได้ว่า ปลอกกระสุนปืนของกลางมีสภาพอาจเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนได้อันจะเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(2) จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสอง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การขอรอการลงโทษหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุก 4 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 2 ปี เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงฎีกาขอให้รอการลงโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนรถยนต์จากความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่าย ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ให้รับผิดจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 2เป็นเงิน 10,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่า กันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 และ ส. คนขับรถของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ต่างขับรถยนต์ชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งสองฝ่ายจึงไม่ต้องรับผิด ต่อ กันจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลย ที่ 2 ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2ผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ที่ชนกับรถยนต์ คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย และเนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาก็ให้มี ผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่หรืออนุญาตให้จำเลยดำเนินการเองเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นโต้แย้งการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ชั้นนี้เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และโจทก์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาฎีกาของจำเลยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการสู้คดีและการพิจารณาหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจชอบในการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยย่อมมีสิทธิสู้คดีและอุทธรณ์ฎีกาได้ชั้นหนึ่ง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามมาตรา 27,91,94, และ 96 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาก็ต้องผ่านการสอบสวนการพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลอีกชั้นหนึ่งการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีที่จำเลยขาดนัดจึงไม่เป็นประโยชน์ ทั้งยังเพิ่มภาระแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเสียเวลาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายและจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะยกคำร้องดังกล่าวของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในกำหนด แม้จะทราบหมายนัดแล้ว
โจทก์ทราบหมายนัดโดยชอบแล้วไม่นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดตามสัญญา แต่ข้อตกลงในสัญญาอาจเป็นเบี้ยปรับได้
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตามป.พ.พ. มาตรา 567 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อต่อไปส่วนข้อกำหนดตามสัญญาที่ระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย หรือสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบนั้นพอแปลได้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามจำนวนดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจที่กำหนดให้ตามที่เห็นสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก.