คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการกำหนดค่าทนายความที่เกินอัตราตามกฎหมาย
ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วจำนวน 106,500 บาท จำเลยที่ 3 ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์เลยทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำนวน 569,624.30 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยการผ่อนชำระภายในวันที่ 16 ของทุกเดือน เป็นเงินไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท และจะต้อง ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2531 เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1และที่ 3 มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิ ที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ และตามคำร้องของจำเลยที่ 3 หาได้กล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดไม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยก คำร้องของจำเลยที่ 3 เสียได้โดย ไม่จำต้องทำการไต่สวนต่อไปเพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้อง ศาลก็จะงด การ บังคับ คดีไว้ตามมาตรา 296 ที่จำเลยที่ 3 อ้างไม่ได้ อยู่แล้ว จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 3และมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดี คดีของจำเลยที่ 3 ในชั้นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากำหนดไว้ไม่เกิน 1,500 บาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าทนายความ 2,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงตามตารางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องเพิกถอนหมายบังคับคดีต้องอ้างเหตุฝ่าฝืนก.ม. และอัตราค่าทนายความในคดีปลดเปลื้องทุกข์
คำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดี จะต้องกล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากไม่กล่าวอ้างศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวน เพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้อง ศาลก็จะงดการบังคับคดีไว้ตามมาตรา 296 ไม่ได้อยู่แล้ว คำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้อง และมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดีเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6ศาลฎีกากำหนดให้ใหม่ตามที่ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความในคดีขอเพิกถอนหมายบังคับคดี: ศาลฎีกาแก้ไขค่าทนายความให้เป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดี คดีของจำเลยที่ 3 ในชั้นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งชั้นสูงในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกากำหนดไว้ไม่เกิน 1,500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องร้องเพิกถอนการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน: ต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิ
ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านยื่นคำร้องขอโดยมีความประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน และให้มีการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 ไม่มีบทบัญญัติสนับสนุนให้สิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลหรืออนุญาตให้ยื่นเป็นคำร้องขอได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตามที่ผู้ร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการฟ้องแย้งอย่างคนอนาถาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสาบานตัวตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถา แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้สาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 บัญญัติไว้ ดังนั้น กระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินมาในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานับแต่ยื่นคำร้องไม่ว่าจะดำเนินโดยศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ตลอดจนคำสั่งในเรื่องนี้ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งคดีโดยคนอนาถาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสาบานตัวตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม กระบวนการพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
จำเลยยื่นคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถา โดยไม่ได้สาบานตัวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การ เป็นไปด้วยความยุติธรรม กระบวนพิจารณานับแต่ยื่นคำร้องไม่ว่า จะดำเนินโดยศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ตลอดจนคำสั่งในเรื่องนี้ เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย ศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้น ดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายจากหนี้ตามคำพิพากษาและการสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินมาชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษายังไม่ครบถ้วน โดยคำนวณหนี้ที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระคิดถึงวันฟ้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาท การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8(5) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 8(9) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดและการสันนิษฐานการล้มละลาย หากถูกยึดทรัพย์
คู่ความย่อมต้องผูกพันในผลแห่งคำพิพากษาของศาลซึ่งถึงที่สุดหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนจำเลยจะอ้างเหตุในชั้นขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งศาลยังไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เพื่อที่จะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาหาได้ไม่ การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8(5) ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวโจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 8(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย และการไม่อนุญาตขยายเวลาโดยไม่มีเหตุผล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสองกำหนดให้เวลาล่วงเลย 15 วัน จึงจะมีผล ปรากฏว่าทำการปิดหมายแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2531 การนับเวลาล่วงพ้น 15 วันจึงเริ่มนับแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2531 แล้วเริ่มนับกำหนด ยื่นคำให้การภายใน 8 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคแรก ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน2531 ครบกำหนดในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2531 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องยื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นภายใน กำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่น คำให้การในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 โดยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัย ที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่จะยื่น คำให้การได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ชอบที่ศาลชั้นต้น จะสั่งยกคำร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ผู้รับพินัยกรรมตัดสิทธิทายาท และอำนาจผู้จัดการมรดก
จำเลยมิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของผู้ตาย ถือได้ว่าเป็นการครอบครองไว้แทนทายาท ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกจึงไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์มรดก จำเลยจะยกอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกหาได้ไม่ เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกไปทั้งหมดแล้ว แม้โจทก์จะเป็นทายาทในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็ตาม แต่เป็นผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมโจทก์จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1608 วรรคสอง ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้สั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1727 วรรคแรก และไม่มีอำนาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกตาม มาตรา 1713 ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีพินัยกรรมของเจ้ามรดกแทนจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 48