พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินตามเช็คหลังปฏิเสธการจ่าย: หลักเกณฑ์การเลิกคดีตาม พ.ร.บ.เช็ค
ในกรณีที่ผู้ออกเช็คได้นำเงินไปชำระแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็ค ให้คดีเป็นอันเลิกกัน ดังที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 บัญญัติไว้นั้น เมื่อได้ความว่าผู้ออกเช็คได้นำเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็ค โดยมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าเป็นเงินที่ผู้ออกเช็คนำไปชำระแก่ธนาคาร เพื่อจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วคดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินค่าเช็คหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินทำให้คดีเลิกกันได้ แม้ไม่แจ้งให้ผู้รับทราบ
ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 5 วรรคท้าย บัญญัติว่า ถ้าผู้กระทำผิดตามมาตรา 3 ได้นำเงินตามเช็คไปชำระแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ทรงเช็คได้บอกกล่าวให้ผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้นไม่ปรากฏข้อความบังคับว่าผู้ออกเช็คหรือจำเลยจะต้องแจ้งให้ผู้ทรงเช็คหรือโจทก์ทราบ หรือขอให้ธนาคารแจ้งให้ผู้ทรงเช็คทราบแทนผู้ออกเช็คหรือต้องแจ้งให้ธนาคารทราบว่า เงินที่ผู้ออกเช็คนำเข้าบัญชีนั้นเป็นการนำเข้าเพื่อจ่ายตามเช็คนั้นโดยเฉพาะเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1นำเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คนั้นโดยมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าเป็นเงินที่ผู้ออกเช็คนำไปชำระแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ vs. วิ่งราวทรัพย์ ความผิดฐานปล้นทรัพย์ต้องมีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ร่วมกัน การกระทำของแต่ละคนอาจเข้าข่ายความผิดต่างกัน
ผู้เสียหายทั้งสองเป็นนักศึกษาวิทยาลัย ท. นั่งรถยนต์โดยสารประจำทางมาด้วยกันที่ใกล้บันไดรถ ขณะรถติดสัญญาณจราจรไฟสีแดงจำเลยที่ 3 วิ่งเข้ามาถามผู้เสียหายทั้งสองว่าเป็นนักศึกษาวิทยาลัยท.หรือไม่ขณะเดียวกันจำเลยที่2วิ่งขึ้นไปบนรถใช้มีดสะปาต้าฟันแขนซ้ายของผู้เสียหายที่ 1 บาดเจ็บ และใช้มีดดังกล่าวจี้เอาเสื้อฝึกงาน 1 ตัว นาฬิกาข้อมือ 1 เรือนไป ส่วนพวกของจำเลยทั้งสามขึ้นไปล้วงกระเป๋าใส่เงิน 1 ใบ พร้อมเงินสด 10 บาทไปและจำเลยที่ 1 ขึ้นไปกระชากสร้อยคอทองคำ 1 เส้นจากคอผู้เสียหายที่ 2แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 กระทำต่อผู้เสียหายคราวเดียวกัน แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ที่ 3 กับพวกไม่ได้สมรู้ร่วมคิดอันมีลักษณะประสงค์ต่อทรัพย์ผู้เสียหายเพียงแต่พวกของจำเลยทั้งสามคนหนึ่งชวนให้ไปตีกับพวกนักศึกษาวิทยาลัย ท. ลักษณะที่จำเลยที่ 3แยกไปสอบถามผู้เสียหายทั้งสองน่าจะเป็นความคึกคะนองและพาล หาเรื่องหาใช่เป็นการแบ่งหน้าที่กันกระทำเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายจำเลยที่ 1 กระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหายที่ 2 เป็นลักษณะที่ถือโอกาสเป็นส่วนตัวลำพังผู้เดียว เจตนากระทำความผิดดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 336 วรรคแรก พวกของจำเลยทั้งสามถือโอกาสขณะนั้นเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 ไปโดยพลการ จำเลยที่ 1 ที่ 3 ไม่ได้สมรู้ร่วมคิดจำเลยที่ 1 ที่ 3 ไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินแทนทายาทและการไม่มีอำนาจฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องแต่ได้ความว่าโจทก์เป็นภริยาของ ต. จำเลยยกที่พิพาทให้ ต.ไม่ได้ยกให้โจทก์ด้วยหลังจากต. ตายโจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมา โดยไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ครอบครอง อย่างเจ้าของโดยเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ ถือว่าโจทก์ครอบครอง แทนทายาทของ ต. โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาทและไม่มี อำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ไม้ในป่าสงวน: การฟ้องลักทรัพย์ต้องระบุเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ต้นไม้ในเขตป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างกับข้อเท็จจริงส่งผลให้ต้องยกฟ้อง
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ไม้ขบดงในป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างฟ้องกับข้อเท็จจริงนำไปสู่การยกฟ้อง
ไม้ขบดง ซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหายถูกจำเลยตัดและนำไปแปรรูปเป็นไม้ของกลาง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบคำสั่งศาล และการลงลายมือชื่อรับทราบ
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การแสดงเจตนาและการแจ้งคำสั่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อไว้ และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำ ส่งสำเนาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่ง ในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉย ไม่ จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของ ศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อ ไว้ ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือ ทนายจำเลยอย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบวันนัดฟังคำสั่ง และการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3และให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อ ทราบวันนัดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำส่งสำเนา ฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 3มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว แต่ผู้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าว มิใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3แต่เป็นผู้อื่น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยเป็นการสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา