พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะ
การยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114,115 นั้นเป็นอำนาจโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อโจทก์หรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114,115แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง โจทก์หรือเจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ได้ แต่ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลโดยตรง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์สินรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้าอ้อย, การแจ้งคำสั่ง, และการไม่สืบพยานส่งผลต่อคำพิพากษา
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร.เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส.ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร.ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้า ก. คณะกรรมการน้ำตาลทราย และการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเมื่อไม่สืบพยาน
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร. เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส. ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร. ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง"แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่าคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายหาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย เพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราบ เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบได้เลือกจำเลยที่ 4เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยมีจำเลยที่ 4 ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้วมิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทราบได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทราบในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 มาตรา 42(2)บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทราบมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือมีอำนาจสั่งตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทราบซึ่งมีจำเลยที่ 5เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟัง ไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทราบมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก.ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควต้าก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์วัด ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นกำนันและเป็นประธานกรรมการของวัดที่โจทก์เป็นเจ้าอาวาส เมื่อโจทก์เป็นผู้เก็บรักษาเงินรายได้ของวัดไว้เองและใช้จ่ายไปโดยไม่มีรายละเอียดประกอบกับน้องของโจทก์ซึ่งมีอาชีพค้าขายเล็กน้อย มีเงินซื้อที่ดินได้ถึง 100 ไร่ ซึ่งจำเลยเคยขอให้โจทก์ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินรายรับรายจ่ายของวัด แต่โจทก์ก็ไม่เคยชี้แจง การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนส่งไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมและติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และมีอาวุธปืน
โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียวและไม่ได้ตัวมาเบิกความ คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย บันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหาและภาพถ่าย การ ชี้ตัวผู้ต้องหา ที่ผู้เสียหายเป็นผู้ชี้เป็นพยานต่อศาลว่าผู้เสียหายจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้าย แต่พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานชั้นสอง มิได้ทำต่อหน้าศาล จำเลยไม่มีโอกาส ซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างชัดแก่ศาลได้ พยานโจทก์ที่เหลือมีแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนและในชั้นแจ้งข้อหา บันทึกการนำชี้เกิดเหตุประกอบคำสารภาพ และภาพถ่ายผู้ต้องหานำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ เมื่อจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าได้ให้ การรับสารภาพดังกล่าวเพราะถูกขู่บังคับและทำร้าย แม้โจทก์จะมีพนักงานสอบสวนผู้ดำเนินการตามเอกสารและภาพถ่ายดังกล่าวมา เป็นพยานประกอบ พยานหลักฐานโจทก์ก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตาม ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทง ไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ ผู้เสียหายแล้ว ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตามฟ้องด้วย ศาลฎีกามีอำนาจ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ฎีกาแก้ฟ้องได้ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียว และไม่ได้ตัวมาเบิกความ คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย บันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหาและภาพถ่ายการชี้ตัวผู้ต้องหา ที่ผู้เสียหายเป็นผู้ชี้เป็นพยานต่อศาลว่า ผู้เสียหายจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้าย แต่พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานชั้นสอง มิได้ทำต่อหน้าศาล จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างชัดแก่ศาลได้พยานโจทก์ที่เหลือมีแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนและในชั้นแจ้งข้อหา บันทึกการนำชี้เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ และภาพถ่ายผู้ต้องหานำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ เมื่อจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าได้ให้การรับสารภาพดังกล่าวเพราะถูกขู่บังคับและทำร้าย แม้โจทก์จะมีพนักงานสอบสวนผู้ดำเนินการตามเอกสารและภาพถ่ายดังกล่าวมาเป็นพยานประกอบ พยานหลักฐานโจทก์ก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตามทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้ว ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตามฟ้องด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตามทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้ว ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตามฟ้องด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ไม่สำเร็จ และการมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักการประกันทั้งหมด และส่วน ที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปี ซึ่งในหลักการหนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้" ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้ง มติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอ ของจำเลยที่ 1 หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่มีผลผูกพัน โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอประนอมหนี้ไม่ผูกพันโจทก์หากไม่ตกลง ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักประกันทั้งหมด และส่วนที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปีซึ่งในหลักการนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้..." ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้งมติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่ 1หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินจำนองต้องเป็นของจำเลย
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ โดยมี จ.นำที่ดิน 2 แปลงจำนองเป็นประกัน ที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย: ทรัพย์สินที่จำนองต้องเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายด้วยหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีบุคคลอื่นจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6 เพราะที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10