คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายรถยนต์, ค่าสินไหมทดแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรถยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่งพ่นสีใหม่เป็นสีเดิม ความจริงเป็น รถยนต์รุ่นเก่า และเคยเปลี่ยนสีมาหลายครั้งกับกล่าวอ้างคุณสมบัติ ของรถยนต์ซึ่งไม่เป็นความจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อขายรถยนต์จึงเกิดจากกลฉ้อฉลให้สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถยนต์ ยัง คงเป็นยี่ห้อเดียวกับที่โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลยจึง มิได้ ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้นโจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์ จาก จำเลยโจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมี สิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะเป็นบิดาจำเลยที่ 2และการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะทำกันที่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ประกอบกิจการ บริษัทที่จำเลย ที่ 2ทำงานอยู่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในใบสั่งซื้อ รถยนต์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำขึ้น คงมีแต่ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2ลงชื่อในฐานะผู้จัดการหรือผู้ขายเท่านั้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายรถยนต์กับโจทก์ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 ไว้ จึงต้องถือหลัก ทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความสำคัญของกำหนดเวลา และอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่5 เมษายน 2532 อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด3 วัน หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันอ่านคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคแรก ซึ่งใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฎีกาคือภายในวันที่ 20 เมษายน 2532 โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2532 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 5 เมษายน 2532 อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด 3 วัน หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันอ่านคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคแรกซึ่งใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฎีกาคือภายในวันที่ 20 เมษายน 2532 โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2532 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา หากเป็นคำสั่งในชั้นฎีกา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียวถ้าเป็นการขอฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ถ้าเป็นการขอฟ้องหรือต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คดีนี้โจทก์ขอฟ้องคดีในชั้นฎีกา เป็นเรื่องอยู่ในกระบวนพิจารณาของศาลฎีกา และในชั้นแรกศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ โจทก์ยื่นคำร้องอ้างว่าประสบอุบัติเหตุรถยนต์คว่ำมาศาลช้ากว่ากำหนดเพราะเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งและให้ไต่สวนพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของตนใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมให้ยกคำร้องแม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าให้เป็นที่สุด แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น ซึ่งทำแทนศาลฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกาโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า โจทก์จึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกา ที่โจทก์กลับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ตามสัญญาการรับดูแลรถยนต์ของกลาง และขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกันอันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้น หาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาคืนของกลาง: การผูกพันตามสัญญาที่มอบอำนาจให้กระทำต่อพนักงานสอบสวน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางมาส่งภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง และพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว แต่จำเลยไม่ส่งมอบ กรมตำรวจโจทก์ที่ 1 และหัวหน้าพนักงานสอบสวนโจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 1 จะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ แต่สารวัตรใหญ่ก็เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่งและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนด้วย การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำภายในขออำนาจที่ได้รับมอบหมาย และผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย คำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษาและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืนจากพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมรวมถึงการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นรับรถยนต์ไว้ ถือเป็นการกระทำการครั้งเดียวตามที่ได้รับมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตามคำร้องรับของกลาง: ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา แม้เจ้าของที่แท้จริงจะโต้แย้ง
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนี่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนการมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกัน อันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากร-แสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้นหาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้ให้เช่า แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะเปลี่ยนไป สัญญาเช่ายังใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าและสัญญาเช่าระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยจะโต้เถียง ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษา และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยต้องดำเนินการก่อนมีคำพิพากษา
ที่จำเลยอ้างว่าไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ไม่ได้แต่งทนายความ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายความทำแทนจำเลยไม่ผูกพันจำเลย คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับจำเลยได้ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งเป็นเวลาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้วและมิใช่จำเลยแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น และ ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรก็ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ไม่ผูกพันตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษาและการขอพิจารณาคดีใหม่จำกัดเฉพาะกรณีขาดนัด
การที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 นั้น ต้องขอก่อนศาลมีคำพิพากษา ส่วนการขอให้พิจารณาใหม่หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ต้องเป็นเรื่องแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 จำเลยอ้างว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ไม่ได้แต่งทนาย สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ทนายความทำแทนไม่ผูกพันจำเลย คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับได้ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นเวลาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว และมิใช่เป็นการพิจารณาคดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ หากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรก็ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ไม่ผูกพันตนได้.
of 48