พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยืมทองคำ: สภาพแห่งข้อหา, รายละเอียดทรัพย์สิน, คำขอท้ายฟ้อง, และอายุความ
คำว่า "สภาพแห่งข้อหา" ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง หมายถึงเหตุหรือสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยว่า โจทก์มีเหตุหรือสิทธิอย่างไรเหนือจำเลย โจทก์อ้างนิติกรรมคือสัญญาเป็นเหตุแห่งข้ออ้างเพื่อบังคับจำเลย โดยบรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า สภาพแห่งข้อหาคือ ยืม และได้บรรยายต่อไปถึงทรัพย์สินที่ยืมโดยละเอียดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจได้ทั้งโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกทรัพย์คืน หากแต่ฟ้องเรียกราคาทรัพย์ที่มีการตกลงกันไว้ในการยืมแล้วเป็นจำนวนแน่นอน โจทก์จึงหาต้องบรรยายรายละเอียดให้มากกว่านี้ไม่ ส่วนที่โจทก์มิได้ขอให้จำเลยคืนทรัพย์ซึ่งยืมไป โจทก์ก็มีสิทธิขอได้ คำขอของโจทก์แจ้งชัดแล้วหากบังคับจำเลยไม่ได้ ศาลก็ไม่บังคับให้ หาใช่เรื่องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อการทำละเมิดของลูกจ้าง แม้จะลงชื่อแทนบุคคลอื่นและได้รับประโยชน์
จำเลยลงชื่อเป็นผู้ประกอบการขนส่งรถยนต์คันเกิดเหตุแทน ธ.โดยได้ผลประโยชน์ตอบแทน ดังนั้น เมื่อ ป. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์คันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการทำละเมิดนั้นด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการขัดทรัพย์เมื่อถูกยึด – ทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ปรากฏว่าผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ยึด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2534)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2534)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการคัดค้านการยึดทรัพย์ – ทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 288 ปรากฏว่าผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการคัดค้านการยึดทรัพย์ - ทรัพย์สินยังไม่ตกเป็นของจำเลย
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือใช้ประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้ กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลย ศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจัดทำเฟอร์นิเจอร์ชำรุด ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายและรื้อถอน
โจทก์จ้างจำเลยที่ 3 ควบคุมดูแล การทำงานของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ละเลยไม่ควบคุมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดทำงานตามแบบที่ตนได้เขียนขึ้น จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำเฟอร์นิเจอร์ไม่ตรงตามแบบแปลนและทำไม่แล้วเสร็จ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาและว่าจ้างผู้อื่นทำต้องว่าจ้างในราคาที่สูงขึ้นเพราะวัสดุราคาสูงขึ้น ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลยแล้ว การที่จะให้จำเลยรื้อเฟอร์นิเจอร์ออกไปจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายมาก โจทก์ต้องรับเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวไว้ และจ่ายค่าแรงให้จำเลยนั้นเมื่อจำเลยทำงานผิดแบบแปลน ใช้วัสดุคุณภาพต่ำไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์โจทก์ย่อมปฏิเสธไม่ยอมรับงานของจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวออกไป แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายก็เกิดจากความผิดของฝ่ายจำเลยเอง จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินค่าออกแบบส่วนที่ยังขาดนั้นเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ดังนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของช่างซ่อมรถ การประกอบสปริงเบรคผิดวิธีเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
โจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปซ่อมเบรกที่ศูนย์บริการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างและช่างผู้ชำนาญของจำเลยที่ 1 ได้พบเห็นการติดตั้งสปริงรั้ง ก้ามเบรกผิดวิธี แต่กลับปล่อยปละละเลยไม่จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้รถยนต์คันพิพาทเบรกแตกตกลงข้างทางได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรง เช่นผู้มีอาชีพอย่างจำเลยที่ 2 พึงปฏิบัติ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลละเมิดที่เกิดขึ้น เมื่อรถยนต์คันพิพาทไม่สามารถใช้ได้ และโจทก์ได้ขอค่าเสียหายรถยนต์คันพิพาทเต็มจำนวน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้รถยนต์คันพิพาทอีกต่อไป ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์คันพิพาทจึงไม่เกิดขึ้นโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด
คดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ยื่นคำร้องระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี พอแปลได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ขอถอนฟ้องเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าบิดา: การลดโทษตามกฎหมายและขอบเขตการลงโทษขั้นต่ำ
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(1) ประกอบกับมาตรา 80 ซึ่งมาตรา 289 บัญญัติโทษไว้สถานเดียวคือประหารชีวิตเมื่อลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(1)แล้ว จึงต้องวางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพศาลลดโทษให้อีกกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 คงจำคุกจำเลย 25 ปี เป็นการถูกต้องแล้วและเป็นการลงโทษต่ำสุดเท่าที่กฎหมายกำหนด ไม่อาจลดโทษลงได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของพนักงานจัดเก็บพัสดุ: ไม่ต้องรับผิดหากไม่มีส่วนรู้เห็นและหัวหน้างานไม่ควบคุมดูแล
จำเลยเป็นพนักงานรับจ่ายพัสดุ ทั่วไป ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล รักษาพัสดุ ในคลังพัสดุ ถึงแม้ ก. หัวหน้าแผนกวัสดุทั่วไปมีคำสั่งให้จำเลยกับพวกจัดเก็บพัสดุ ในคลังพัสดุ เข้าที่เก็บให้เรียบร้อยก็ตาม แต่โดยหน้าที่ ก. จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุในคลังพัสดุ โดยตรง ความรับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุ ที่เก็บรักษาไว้ในคลังพัสดุ หาโอนไปยังจำเลยกับพวกที่จัดเก็บไม่ ทั้งจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับพัสดุ หัวฉีด ที่หายไปตั้งแต่ต้น การที่หัวฉีด ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในช่องเก็บของให้เรียบร้อยมาตั้งแต่แรกก็ไม่ใช่ความผิดของจำเลย นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่ามีคนร้ายงัดคลังพัสดุ แล้วขโมยพัสดุ ไปหรือพัสดุ ได้หายไปในระหว่างที่จำเลยทำหน้าที่พนักงานรับจ่ายพัสดุ หรือในระหว่างที่จำเลยจัดเก็บพัสดุ เข้าที่เก็บ การที่จำเลยไม่รายงานเกี่ยวกับการจัดเก็บพัสดุ ให้ ก. ทราบไม่ใช่ผลโดยตรง อันเป็นเหตุให้หัวฉีด ของโจทก์หายไป ก. สามารถที่จะตรวจตราพัสดุ ในคลังและสั่งให้ผู้อื่นเข้าไปทำหน้าที่แทนจำเลยได้ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้หัวฉีด ของโจทก์สูญหายไปไม่.