พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมถึงข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ฟ้องฎีกาถือว่าเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษาศาลชั้นต้น และคู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ เมื่ออ่านโดยตลอดแล้ว ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยว่าอย่างไร จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าอย่างไร ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร ทั้งไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือไม่ ฟ้องฎีกาของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172ประกอบด้วยมาตรา 246, 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมถึงข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ฟ้องฎีกาถือว่าเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษาศาลชั้นต้น และคู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ เมื่ออ่านโดยตลอดแล้ว ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยว่าอย่างไร จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าอย่างไร ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร ทั้งไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือไม่ ฟ้องฎีกาของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172ประกอบด้วยมาตรา 246,247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมเท่านั้น
บุคคลผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 คงมีเพียงทายาทผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการเท่านั้น ตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของผู้ตายมีใจความว่า ให้พ.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยให้ขายบ้านและที่ดินแล้วรวมกับเงินสดซึ่งฝากไว้กับธนาคารใช้ฌาปนกิจศพของผู้ตาย ส่วนที่เหลือให้นำถวายวัดทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย หาได้มีข้อความตอนใดระบุชื่อวัดผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมของผู้ตายไม่การที่ พ. ผู้จัดการมรดกคนเดิมของผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายถวายวัดผู้ร้องยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ร้องที่จะเรียกเอาทรัพย์มรดกรายนี้ได้ตามกฎหมายผู้ร้องจึงไม่ใช้ผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
การวินิจฉัยถึงสิทธิของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่าผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งยกคำร้อง ไม่คืนค่าขึ้นศาลให้แก่ผู้ร้อง.
การวินิจฉัยถึงสิทธิของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่าผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งยกคำร้อง ไม่คืนค่าขึ้นศาลให้แก่ผู้ร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ทายาท/ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น
บุคคลผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 คงมีเพียงทายาทผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการเท่านั้น ตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของผู้ตายมีใจความว่า ให้พ.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยให้ขายบ้านและที่ดินแล้วรวมกับเงินสดซึ่งฝากไว้กับธนาคารใช้ฌาปนกิจศพของผู้ตาย ส่วนที่เหลือให้นำถวายวัดทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย หาได้มีข้อความตอนใดระบุชื่อวัดผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมของผู้ตายไม่การที่ พ. ผู้จัดการมรดกคนเดิมของผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายถวายวัดผู้ร้องยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ร้องที่จะเรียกเอาทรัพย์มรดกรายนี้ได้ตามกฎหมายผู้ร้องจึงไม่ใช้ผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว การวินิจฉัยถึงสิทธิของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่าผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งยกคำร้อง ไม่คืนค่าขึ้นศาลให้แก่ผู้ร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดที่ขาดสาระสำคัญแห่งคดี และผลของการประนีประนอมยอมความที่ทำให้มูลละเมิดระงับ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรชายและเป็นลูกจ้างผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ดังกล่าวด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ขับชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิด แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่อาศัยฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ผู้แทนเจ้าของรถยนต์บรรทุกยินดีชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของโจทก์ พนักงานสอบสวนได้บันทึกข้อตกลง และให้โจทก์จำเลยทั้งสองลงชื่อไว้ในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นผลทำให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 425, 850, 852 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้
หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ผู้แทนเจ้าของรถยนต์บรรทุกยินดีชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของโจทก์ พนักงานสอบสวนได้บันทึกข้อตกลง และให้โจทก์จำเลยทั้งสองลงชื่อไว้ในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นผลทำให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 425, 850, 852 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดต้องระบุเหตุแห่งความรับผิดชัดเจน สัญญาประนีประนอมยอมความระงับคดี
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรชายและเป็นลูกจ้างผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ดังกล่าวด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ขับชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิด แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่อาศัยฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ผู้แทนเจ้าของรถยนต์บรรทุกยินดีชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของโจทก์ พนักงานสอบสวนได้บันทึกข้อตกลง และให้โจทก์จำเลยทั้งสองลงชื่อไว้ในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นผลทำให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์จะมาฟ้องจำเลยที่ 2ในมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 2ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การหมดอายุความและการฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครอง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดิน พิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ทำให้สิทธิฟ้องระงับ แม้จำเลยยังไม่ได้ให้การ
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อหาเครื่องกระสุนปืน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 55,78 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฎีกาในข้อกฎหมายก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาเดิมที่ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55, 78 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฎีกาในข้อกฎหมายก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13