คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความล่าช้าในคดีเช็ค: ผลกระทบต่ออายุความและความเป็นคำร้องทุกข์
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมาย แต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถาม ผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)
คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์หากไม่ได้มีเจตนาให้ดำเนินคดี และคดีเช็คขาดอายุความหากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมายแต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถามผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความรับผิดของเจ้าของที่ดินกับผู้ก่อสร้าง
บทบัญญัติตามมาตรา 42 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมิได้บังคับเป็นการเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องให้เจ้าของอาคารร่วมรับผิดในการรื้อถอนเสมอไปแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับผิดในการรื้อถอน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารมิได้ยินยอมอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารโรงจอดรถที่ต้องถูกรื้อถอน ทั้งเป็นผู้มาแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบถึงการปลูกสร้างที่ผิดแบบ จึงไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการรื้อถอนด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวต้องรับผิดในการรื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความรับผิดของผู้ก่อสร้าง
บทบัญญัติตามมาตรา 42 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมิได้บังคับเป็นการเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องให้เจ้าของอาคารร่วมรับผิดในการรื้อถอนเสมอไปแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับผิดในการรื้อถอน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารมิได้ยินยอมอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารโรงจอดรถที่ต้องถูกรื้อถอน ทั้งเป็นผู้มาแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบถึงการปลูกสร้างที่ผิดแบบ จึงไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการรื้อถอนด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวต้องรับผิดในการรื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขาย: สิทธิครอบครองแทนจำเลย & ไม่เป็นการแย่งการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขายโจทก์ได้ชำระเงินมัดจำบางส่วน เงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำเลยจะขอรับเอาเมื่อจำเลยได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์เสร็จและในระหว่างที่ยังไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยได้มอบที่ดินซึ่งซื้อขายให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองของโจทก์โดยละเอียด และแจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ครอบครองที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการครอบครองที่พิพาทแทนจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเข้าครอบครองที่พิพาทเมื่อใดก็ได้ และเมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทก็เป็นการเข้าครอบครองที่ของตนเองหาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 1375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย การครอบครองแทน และสิทธิในการเข้าครอบครองที่ดินของตน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขายโจทก์ได้ชำระเงินมัดจำบางส่วน เงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำเลยจะขอรับเอาเมื่อจำเลยได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์เสร็จและในระหว่างที่ยังไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์จำเลยได้มอบที่ดินซึ่งซื้อขายให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองของโจทก์โดยละเอียด และแจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ครอบครองที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการครอบครองที่พิพาทแทนจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเข้าครอบครองที่พิพาทเมื่อใดก็ได้ และเมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทก็เป็นการเข้าครอบครองที่ของตนเองหาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 1375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ และปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร จึงจะฟ้องร้องบังคับได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205ข้ออ้างตามฟ้องคดีนี้ของโจทก์คือ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เกินกว่าห้าสิบบาทซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โจทก์จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ และต้องปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนจึงจะใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205ข้ออ้างตามฟ้องคดีนี้ของโจทก์คือ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เกินกว่าห้าสิบบาทซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โจทก์จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาอาญา: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และการยกอายุความที่ไม่เคยว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ถือเป็นการฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364,365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 จำคุก 3 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 362 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยโดยเพิ่มบทมาตรา 365 เป็นบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดเพิ่มขึ้นอีกบทหนึ่ง และคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีสิทธิฎีกาของคู่ความจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของห้องแถวพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นคดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท ฎีกาของจำเลยเท่ากับโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ภายในเวลา 3 เดือนคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จึงขาดอายุความนั้นจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขั้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้แม้โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และอำนาจฟ้องในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดอันยอมความได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364, 365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 จำคุก 3 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 362 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยโดยเพิ่มบทมาตรา 365 เป็นบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดเพิ่มขึ้นอีกบทหนึ่ง และคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี สิทธิฎีกาของคู่ความจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของห้องแถวพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท ฎีกาของจำเลยเท่ากับโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ภายในเวลา 3 เดือนคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จึงขาดอายุความนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขั้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้แม้โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
of 48