พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองและการฟ้องแย้งเพื่อเอาคืนสิทธิ การฟ้องภายในกำหนดอายุความ
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3ก่อนที่โจทก์จะรับซื้อฝาก จาก ส.เมื่อส. ไม่ไถ่ถอนภายในกำหนดโจทก์จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองบ้านและที่ดินพิพาท การที่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่าง ส.กับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้วในคดีดังกล่าวนั้นโจทก์ในฐานะจำเลยได้ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่จำเลย แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้น ซึ่งเป็นผลทำให้ฟ้องแย้งของโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยจะตกไปด้วยผลของกฎหมายก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแย้งด้วยหาได้ไม่ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งของโจทก์ในคดีก่อน และในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2531 จึงเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากฟ้องแย้งเดิมซึ่งโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องเพื่อเอาคืน ซึ่งการครอบครองภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วก็ยังสามารถพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
คำพิพากษาของศาลแม้จะวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของบ้านพิพาทว่าเป็นของจำเลย ซึ่งจำเลยใช้ยันบุคคลภายนอกได้ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็ยังมีสิทธิที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2)ทั้งการที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา8 วัน นับแต่วันปิดประกาศกำหนดเวลาให้โจทก์ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องดังกล่าว มาตรา296 จัตวา (3) ก็เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ซึ่งมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดโจทก์จึงยังสามารถโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโดยเป็นเจ้าของบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท แม้มีคำพิพากษาถึงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ยังสามารถฟ้องพิสูจน์สิทธิของตนเองได้
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ท.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้ขับไล่ ท. กับพวกให้ออกไปจากบ้านพิพาทศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลย ให้ ท.กับบริวารออกไปท. กับพวกไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ในบ้านพิพาทและให้ศาลแรงงานกลาง ออกหมายจับ ท.โจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้โดยบรรยายฟ้องว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ ที่จำเลยอ้างในคำฟ้องในคดีเดิมว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยและนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยึดทรัพย์ในบ้านและออกหมายจับ ท.นั้นทำให้โจทก์เสียหาย คำฟ้องดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ กล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คำพิพากษา ของศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของบ้านพิพาท ว่าเป็นของจำเลยซึ่งจำเลยใช้ยันบุคคลภายนอกได้ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็ยังมีสิทธิที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) ทั้งการที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศกำหนดเวลาให้โจทก์ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ท. ลูกหนี้ตาม คำพิพากษายื่นคำร้องดังกล่าว มาตรา 296 จัตวา(3) ก็เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นบริวารของ ท. เท่านั้น ซึ่งมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์จึงยังสามารถ โต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโดยเป็น เจ้าของบ้านพิพาทหรือไม่การที่โจทก์ไม่ดำเนินการตาม มาตรา 296 จัตวา(3) จึงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่ จะ ฟ้องเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง: ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเฉลี่ยทรัพย์ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น คำว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่นี้หมายความถึง ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์อยู่ในคดีที่มีการขอเฉลี่ยทรัพย์ ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ผู้ขอก็ขอเฉลี่ยจากเงินที่ขายทรัพย์ได้ หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีทรัพย์สินอื่น เจ้าหนี้มีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่ถูกยึด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสองที่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเฉลี่ยทรัพย์ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น คำว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่นี้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์อยู่ในคดีที่มีการขอเฉลี่ยทรัพย์ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ผู้ขอก็ขอเฉลี่ยจากเงินที่ขายทรัพย์ได้หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้เป็นประกัน
ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคสอง หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์สินซึ่งถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นก็ขอเฉลี่ยเงินที่ขายทรัพย์สินนั้นได้หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นอีกไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำยึดไว้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดได้แม้ผู้ร้องสามารถเอาชำระจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่นำมาจำนองประกันหนี้จำเลยได้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องมีเหตุโต้แย้งสิทธิ หากไม่มีเหตุโจทก์ผิดสัญญา ศาลไม่รับฟ้อง
ฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง จึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 กล่าวคือ จะต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยเกิดขึ้น หากคำฟ้องแย้งไม่ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาให้สิทธิอาศัย แต่จำเลยฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยกับ ต. ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลอุทธรณ์ และการไม่ชัดเจนในการอ้างเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ทราบวันขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ได้ประเมินราคาทรัพย์พิพาทไม่เป็นธรรม ฎีกาจำเลยที่ 1 มิได้โต้เถียงว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายอย่างไร จึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยอุทธรณ์ฎีกาไม่ชัดเจน และไม่ได้ยกข้อเท็จจริงใหม่ในศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด จำเลยที่ 1ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ทราบวันขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ได้ประเมินราคาทรัพย์พิพาทไม่เป็นธรรม ฎีกาจำเลยที่ 1 มิได้โต้เถียงว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายอย่างไร จึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตความรับผิดของตัวการ-ผู้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายแต่ละราย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับโจทก์ที่ 1แล้ว โจทก์ที่ 7 และที่ 8 มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงยุติสำหรับโจทก์ที่ 7 และที่ 8 การที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ประมาทตามฟ้องโจทก์นั้นเป็นการวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มิได้ประมาทแล้วย่อมผูกพันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีที่อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 จะมิได้เข้าเป็นคู่ความก็ต้องถือว่าอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 1 จึงมิได้กระทำละเมิดและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีใหม่ซึ่งเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1