คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่งมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ แม้มิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามเสียสิทธิในที่ดินไปโดยตรงโจทก์ทั้งสามจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)และมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 28(2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ทั้งสามต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2เบิกความเท็จเท่านั้นจึงจะเป็นผู้เสียหายได้ ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1และที่ 2 ย่อมยกขึ้นฎีกาได้ แม้ไม่เคยยกขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความอันเป็นเท็จว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงที่โจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. โดยจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินทั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อความที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ได้เบิกความว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงมาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านและจำเลยที่ 2 เบิกความว่า เห็นจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงมาประมาณ 20 ปี ข้อความที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกความดังกล่าวนั้นเป็นความเท็จความจริงจำเลยที่ 1 ไม่ได้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลง จน ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ข้อความเท็จ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินทั้งสองแปลงโดยการครอบครองจริง จึงมีคำสั่ง ให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างวันเวลากระทำความผิดไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากไม่ใช่สาระสำคัญของคดี
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องอันจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ข้อแตกต่างเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดตามฟ้องเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันศาลจะต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างวันเวลากระทำผิดไม่ใช่สาระสำคัญ ศาลไม่จำเป็นต้องยกฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องอันจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ข้อแตกต่างเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดตามฟ้องเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันศาลจะต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องหนี้เดิมหลังมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เป็นฟ้องซ้ำที่ต้องห้าม
ที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั่นเอง โดยมีการหักจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามชำระให้โจทก์บ้างแล้วออกไปและรวมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระเข้าไปด้วยเท่านั้นแต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใดคงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้นประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอ้างอิงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: หนี้เดิมตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้ฟ้องซ้ำไม่ได้
ที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั่นเอง โดยมีการหักจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามชำระให้โจทก์บ้างแล้วออกไปและรวมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระเข้าไปด้วยเท่านั้น แต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใด คงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้นประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอ้างอิงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 กรณีรับสภาพหนี้เดิม
จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั้นเอง แต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใด คงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น ประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้ จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดกรรมการผู้จัดการในสัญญาจะซื้อจะขาย: ผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคล
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะตัวแทนนิติบุคคล ไม่มีข้อความใดในสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัว สัญญาพิพาทฉบับนี้จึงมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หาผูกพันจำเลยที่ 1 ไม่ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องในบังคับคดีได้ อันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 คู่ความจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาพิพาทไม่ได้ เมื่อตามสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัวอันเป็นการนำสืบให้เห็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ: สัญญาทำในฐานะตัวแทนบริษัท ไม่ผูกพันส่วนตัว
สัญญาพิพาททำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะตัวแทนนิติบุคคลและไม่มีข้อความใดในสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัวสัญญาพิพาทจึงมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้นหาผูกพันจำเลยที่ 1 ไม่ สัญญาพิพาทเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ อันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เมื่อสัญญาพิพาท ระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัว อันเป็นการนำสืบให้เห็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดและการแจ้งภูมิลำเนา การไม่แจ้งย้ายที่อยู่ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยในการขยายเวลาฎีกา
เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้โจทก์ณ บ้านเลขที่ตามคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาล แม้โจทก์จะย้ายไปรับราชการต่างจังหวัด แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่า โจทก์ได้ย้ายทะเบียนบ้านและครอบครัวไปด้วยดังนี้ ถือว่าโจทก์มีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 45(เดิม) การส่งหมายนัดดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74และมาตรา 79 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 แล้ว การที่โจทก์ย้ายไปรับราชการในต่างจังหวัดและมิได้อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง ทำให้โจทก์ไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ลดโทษจำเลยอายุ 17-20 ปี แม้มิได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่มีอายุกว่า 17 ปีแต่ยังไม่เกิน 20 ปี โดยลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยได้แม้ปัญหานี้จะมิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นก็ตาม
of 48