คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทวัส อยู่วัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย โดยไม่ต้องมีกำหนดเวลาตามมาตรา 153 พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้เองภายหลังจากลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลขาย กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นหมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์รายใดดำเนินไปโดยไม่ชอบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสียได้ โดยไม่จำต้องมีคำสั่งภายใน 8 วันนับแต่วันขาย เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมิใช่การร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายและการแจ้งเจ้าหนี้
คดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนได้มานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำออกขายทอดตลาดได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน จึงไม่เหมือนกับการบังคับคดีแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6หมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยซึ่งถ้าส่วนใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ดังนี้เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ชอบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการขายเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยส่งหมายนัดแจ้งวันขายทอดตลาดไปยังธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนำแล้ว แต่ธนาคารเจ้าหนี้ย้ายที่อยู่โดยไม่ทราบที่อยู่ใหม่ จึงประกาศแจ้งวันเวลาขายทอดตลาดทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนำทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินเหลือจากซื้อขายใบยาสูบ: พิจารณาจากลักษณะการฟ้องเป็นหนี้ค่าของหรือทดรองจ่าย
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายใบยาสูบแห้งกัน โดยจำเลยรับเงินล่วงหน้าไปจากโจทก์ เมื่อจำเลยส่งใบยาสูบแห้งให้โจทก์ก็คิดหักราคากัน ต่อมาเมื่อคิดหักหนี้กันแล้ว ปรากฏว่ายังมีเงินค่าใบยาสูบแห้งที่จำเลยรับล่วงหน้าเหลืออยู่และดอกเบี้ย โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยคืนมิใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 (5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าใบยาสูบที่เหลือหลังหักกลบลบหนี้ ไม่ใช่การฟ้องเรียกเงินทดรองจ่าย
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายใบยาสูบแห้งกัน โดยจำเลยรับเงินล่วงหน้าไปจากโจทก์ เมื่อจำเลยส่งใบยาสูบแห้งให้โจทก์ก็คิดหักราคากัน ต่อมาเมื่อคิดหักหนี้กันแล้วปรากฏว่ายังมีเงินค่าใบยาสูบแห้งที่จำเลยรับล่วงหน้าเหลืออยู่และดอกเบี้ย โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยคืนมิใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าใบยาสูบที่เหลือจากการซื้อขาย ไม่ใช่การฟ้องเรียกเงินทดรอง จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายใบยาสูบแห้งกัน โจทก์จ่ายเงินทดรองให้แก่จำเลยเป็นค่าซื้อใบยาสูบแห้งล่วงหน้า เมื่อจำเลยส่งใบยาสูบแห้งให้โจทก์ก็คิดหักราคากันโดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์จากเงินทดรองที่ยังไม่ได้หักหนี้นับแต่วันรับเงินทดรองจนกว่าจะคืนเงินที่เหลือด้วย ต่อมาเมื่อคิดหักหนี้กันแล้วปรากฏว่ายังมีเงินค่าใบยาสูบแห้งที่จำเลยรับล่วงหน้าเหลือและดอกเบี้ย การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยมิใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนที่ใช้งานไม่ได้เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้ไม่สามารถใช้ยิงได้
ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490ที่แก้ไขแล้ว มิได้บัญญัติว่าอาวุธปืนจะต้องใช้ยิงได้จึงจะเป็นอาวุธปืน ดังนั้น การที่จำเลยมีปืนของกลางจำนวน 4 กระบอกไว้ในครอบครอง แม้จะปรากฏว่าปืนของกลางมีสภาพเก่า ลำกล้องมีสนิมขึ้นไม่สามารถใช้ยิงได้และบางกระบอกไม่มีด้ามปืน จำเลยก็มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนไม่มีสภาพใช้งานได้ ก็ยังถือเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย
ปืนของกลางแม้มีสภาพเก่า ลำกล้องมีสนิมขึ้นไม่สามารถใช้ยิงได้ และบางกระบอกไม่มีด้ามปืนก็ตาม ก็ถือเป็น "อาวุธปืน"ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2501 มาตรา 3 ดังนั้น การที่จำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในความครอบครอง จึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอม/ทางสาธารณะ: จำเลยปิดกั้นทางเดินที่โจทก์ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกว่า 10 ปี โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางเดินบนคันคลองสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งสามโจทก์ทั้งสามและบริวารได้ใช้ทางพิพาทนี้เดินไปมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ทั้งสามจึงได้ภารจำยอมโดยอายุความ หรือมิฉะนั้นทางพิพาทก็เป็นทางสาธารณประโยชน์ที่บุคคลทั่วไปมีสิทธิใช้สอยได้ ถือได้ว่าสภาพของทางพิพาทตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นอาจเป็นได้ทั้งสองกรณี กล่าวคือ หากทางพิพาทเป็นที่ดินของจำเลยก็อาจตกเป็นภารจำยอม หากไม่เป็นที่ดินของจำเลยก็อาจเป็นทางสาธารณะได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ไม่ขัดแย้งกันไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายโดยพยานบุคคล และผลกระทบต่อสินสมรสในคดีล้มละลาย
แม้การนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายว่า น. ซื้อบ้านพิพาทแทน ก. จะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ศาลฎีกาก็ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การรับฟังพยานหลักฐานและการนับระยะเวลายื่นอุทธรณ์
ในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าหนี้มีเพียงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้การยืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้าง ฆ. แต่จำเลยที่ 2มิได้แถลงหรือให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งคัดค้านว่าข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้น คำให้การของผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าวรับฟังได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 กำหนดให้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น แต่ในกรณีที่มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ขอรับชำระไปยังศาลชั้นต้นเมื่อใด ทั้งไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเมื่อใด จึงต้องถือว่าวันที่เจ้าหนี้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นวันที่ได้อ่านคำสั่งศาลชั้นต้นให้เจ้าหนี้ฟังและกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เริ่มนับแต่วันนั้น
of 48