พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง กรรมสิทธิ์ไม่สิ้นสุดหากไม่มีการแย่งชิง
เมื่อผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสิ้นสุดลงโดยการไม่ใช้ ดังนั้นแม้จะปรากฏว่าผู้ร้องไม่ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 2 ปี ตราบใดที่ยังไม่มีผู้อื่นมาแย่งกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องหาเสียกรรมสิทธิ์ไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้าน แต่เป็นการครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาจนครบสิบปี ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบที่มาแห่งหนี้จากการซื้อขายรถยนต์เพื่อยืนยันการกู้ยืม และความรับผิดของผู้จำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินแล้วนำสืบว่าการยืมเงินมีมูลหนี้เดิมมาจากการซื้อขายรถยนต์ เป็นการสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้นั้นมีมูลมาอย่างไร ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อการยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีอยู่จริงและสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เพียงแต่ขาดหลักฐานแห่งการกู้ยืม ตามกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หนี้ดังกล่าวมีการจำนองเป็นประกัน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญายืมจึงย่อมบังคับเอากับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองได้ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ว่า การนำสืบถึงมูลหนี้เดิมของการยืมเป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนอง: แม้การกู้ยืมขาดหลักฐาน แต่จำเลยที่ 2 และ 3 ผู้จำนองยังต้องรับผิดชอบหนี้ตามสัญญา
การนำสืบถึงมูลหนี้เดิมอันเป็นที่มาแห่งหนี้ตามฟ้องเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดีหาเป็นการนำสืบนอกประเด็นไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แม้การกู้ยืมเงินขาดหลักฐานตามกฎหมายก็เพียงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเมื่อหนี้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีอยู่จริงและสมบูรณ์ตามกฎหมาย ย่อมมีการจำนองเป็นประกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707 และ 681 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ โจทก์ย่อมบังคับเอากับผู้จำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: กรณีพิเศษตามประมวลรัษฎากร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่ เมื่อคดีเดิมสิ้นผลไปแล้ว
แม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตาม แต่ได้ความตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องแถวพิพาท และจำเลยได้ส่งมอบห้องแถวพิพาทให้แก่โจทก์ อีกทั้งจำเลยไม่ได้อยู่ในห้องแถวพิพาทอีกต่อไปแล้ว ซึ่งผู้ร้องสอดมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่เป็นความจริงข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ดังนี้ หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่: เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องฟ้องคดีใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิ
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยทั้งหมดและบริวารออกจากห้องแถวพิพาท และจำเลยทั้งหมดได้ออกจากห้องแถวพิพาทแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตามแต่การที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมดก็จะทำให้คดีล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี จึงสมควรให้ผู้สอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(13) จึงต้องแสดงให้แจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยต้องมีข้อโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฎีกาโจทก์บรรยายเพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร แต่มิได้บรรยายว่าคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างไร กรณีจึงไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกาได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์หรือไม่ทั้งฎีกาโจทก์มีข้อความว่า "ด้วยความเคารพต่อศาลชั้นต้น โจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคลาดเคลื่อน โจทก์ขอประทานกราบเรียนศาลที่เคารพโปรดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น" ดังนี้ฎีกาโจทก์มิได้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากแต่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฟ้องฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบมาตรา 246,247 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงให้แจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยต้องมีข้อโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฎีกาโจทก์บรรยายเพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร แต่มิได้บรรยายว่าคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างไร กรณีจึงไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกาได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์หรือไม่ทั้งฎีกาโจทก์มีข้อความว่า "ด้วยความเคารพต่อศาลชั้นต้น โจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคลาดเคลื่อน โจทก์ขอประทานกราบเรียนศาลที่เคารพโปรดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น" ดังนี้ฎีกาโจทก์มิได้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากแต่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฟ้องฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบมาตรา 246,247 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่อุทธรณ์ฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในคำให้การ ถือเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกานอกเหนือคำให้การ
ปัญหาข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกา แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ในปัญหาข้อดังกล่าวไว้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของตน จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกาด้วยเพราะเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกานอกเหนือคำให้การของตน