คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการติดตามหนี้จากบัญชีจำเลยที่ 1: ต้องพิสูจน์สิทธิเรียกร้องให้ชัดเจน
ทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ได้ความ ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ใช้ในกิจการของจำเลย ที่ 1ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะหลบหนีไป ต่อมา บ. ได้มอบเงินที่ถอนมา ให้ผู้ร้องรับไว้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงมีหนังสือ ทวงหนี้ และหนังสือยืนยันหนี้ให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าว แก่กองทรัพย์สิน ของจำเลยที่2 ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อ ศาลชั้นต้น ครั้นถึงวันนัด ไต่สวน ผู้ร้อง แถลงไม่สืบ พยานบุคคล แต่ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารบัญชีเงินฝากจากธนาคาร โดยอ้างว่าเป็น บัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากได้ความ ดังกล่าวก็อาจเป็นจริง ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าเงินในบัญชีไม่ใช่เงินของ จำเลยที่ 2 และมี ปัญหาต่อไปว่า การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้เบิกเงินจาก บัญชีเงินฝาก ของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมามีการมอบเงินดังกล่าวให้ผู้ร้อง จะถือ ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ศาลจะต้อง พิจารณาตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เมื่อ ผู้ร้องอ้าง เอกสาร ที่ยังไม่ เข้าสู่สำนวนศาล ศาลชั้นต้นจึงไม่มี ข้อเท็จจริงใดที่จะสั่งว่าเอกสารดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดี และหาก ได้เอกสารดังกล่าวมา แล้วผู้ร้องไม่สืบพยานอื่น หน้าที่นำสืบต่อไป ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่จะต้องพิสูจน์ตามประเด็น ที่ตนยกขึ้นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยาน ผู้ร้องโดยไม่เรียกเอกสารดังกล่าวให้แล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่สามารถนำสืบได้ตามคำร้อง ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาความถูกต้องของหนี้ในคดีล้มละลาย และหน้าที่นำสืบของคู่ความ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 กำหนดให้ศาลเป็นผู้พิจารณาว่าสิทธิเรียกร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกร้องนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องปฏิเสธว่ามิได้เป็นหนี้ลูกหนี้ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดและผู้ร้องยังติดใจอ้างเอกสารซึ่งยังไม่เข้าสู่สำนวนของศาล ศาลชั้นต้นจึงไม่มีข้อเท็จจริงใดที่จะสั่งว่าเอกสารดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดีและหากได้เอกสารดังกล่าวมาแล้วผู้ร้องไม่มีพยานอื่นอีกต่อไปหน้าที่นำสืบต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิสูจน์ให้ได้ตามประเด็นที่ตนยกขึ้นคัดค้าน ศาลจึงจะวินิจฉัยว่าจะยกคำร้องของผู้ร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานเพราะผู้ร้องแถลงไม่ติดใจสืบตัวผู้ร้องแต่ยังติดใจสืบพยานเอกสารซึ่งเป็นสาระสำคัญในการปฏิเสธหนี้ของผู้ร้องดังนี้เป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: การแจ้งล่าช้าทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีเวลาสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ระยะเวลาและผลกระทบต่อการสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 240
ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการภายในกำหนด แต่หากไม่มีเวลาพอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็ขาดอายุความ
อายุความเรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 240ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 มิใช่เป็นการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 175 อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุเลาการชำระค่าปรับของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่เห็นเหตุผลเพียงพอเนื่องจากสามารถขอคืนเงินได้หากชนะคดี
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่ง พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ หากโจทก์ชนะคดีย่อมไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระไว้กับกองทุนดังกล่าวได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่ง ของจำเลยที่ 5 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและ น้ำตาลทรายตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 58 ไว้ก่อนพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุเลาการชำระค่าปรับของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากมีกลไกขอคืนเงินได้
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่ง พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ หากโจทก์ชนะคดีย่อมไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระไว้กับกองทุนดังกล่าวได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่ง ของจำเลยที่ 5 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและ น้ำตาลทรายตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 58 ไว้ก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3908/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอทุเลาการชำระค่าปรับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากสามารถขอคืนเงินได้หากชนะคดี
โจทก์ขอทุเลาการชำระค่าปรับตามคำสั่งของจำเลยที่ 5ในฐานะคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งสั่งให้โจทก์ชำระค่าปรับแก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกองทุนดังกล่าวตั้งขึ้นโดยกฎหมาย มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 หากโจทก์ชนะคดีก็ไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่งของจำเลยที่ 5 ก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาขายลดเช็ค: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการโต้แย้งเฉพาะลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย/สลักหลัง ไม่ถือเป็นการปฏิเสธสัญญาทั้งหมด
ข้อที่ลูกหนี้ฎีกาโต้เถียงว่าสัญญาขายลดเช็คที่บริษัทพ. ทำไว้กับเจ้าหนี้ลูกหนี้ได้ปฏิเสธแล้วนั้น เป็นการฎีกาที่ไม่ตรงต่อข้อเท็จจริง เพราะในชั้นที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ โต้แย้งเพียงว่าผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังเช็คที่นำมาขายลดแก่ เจ้าหนี้ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท พ. หาได้โต้แย้งหรือปฏิเสธว่าบริษัท พ. ไม่ได้ทำสัญญาขายลดเช็คหรือไม่ได้นำเช็คมาขายลดให้แก่เจ้าหนี้ไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบริษัท พ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คและได้นำเช็คมาขายลดให้แก่เจ้าหนี้จริงเจ้าหนี้หาจำต้องสืบพยานในข้อนี้ไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็น ยุติแล้วดังกล่าว ข้อที่ลูกหนี้ฎีกาว่าภาระการพิสูจน์เพื่อแสดง ถึงความไม่สมบูรณ์ของสัญญาขายลดเช็คตกอยู่แก่ฝ่ายเจ้าหนี้นั้น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สำคัญผิดว่าตนเองเป็นเจ้าของ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็น เจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ฯลฯ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ การที่ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นแม้จะเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดิน ของตนเองก็ตาม หากแต่ผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ อย่างแท้จริง ไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องรู้มาก่อนว่าที่ดินนั้น เป็นของผู้คัดค้านแล้วแย่งการครอบครองเป็นเวลาสิบปีจึงจะได้ กรรมสิทธิ์ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินของผู้คัดค้าน โดยเข้าใจผิดว่าเป็นของผู้ร้องเองโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนา เป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปี ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินของผู้คัดค้านตามกฎหมายแล้ว.
of 27