คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่งดสืบพยาน การประวิงคดี และการใช้ดุลพินิจของศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณาบันทึกว่าศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อเวลา 9.30 น. ต่อมาวันเดียวกันเวลา 14.45 น. ทนายจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ศาลสั่งรวมสำนวน ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลแล้วจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ จำเลยเคยขอเลื่อนคดีมา 2 นัดแล้ว นัดแรกจำเลยอ้างว่าป่วยครั้นถึงวันนัดที่สอง จำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ศาลได้ให้โอกาสจำเลยเลื่อนคดีนัดที่สองไปโดยกำชับให้จำเลยนำพยานที่จะสืบทั้งหมดมาศาลในวันนัดและเลื่อนคดีไปเป็นเวลาหนึ่งเดือนเศษ จำเลยยังไม่นำพยานมาศาลในวันนัดถือว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ฆ่าและลักทรัพย์จากผู้ตายและผู้เสียหายโดยมีเจตนาเดียวกัน
จำเลยวางแผนการที่จะฆ่าผู้ตายและผู้เสียหายเพื่อจะเอาทรัพย์มาตั้งแต่เวลาประมาณ 11 นาฬิกา เมื่อมีโอกาสจึงฆ่าผู้ตายก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทรัพย์จากผู้ตายหรือไม่ แล้วจำเลยจึงฆ่าผู้เสียหายและเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป แต่ผู้เสียหายไม่ตายตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยกระทำต่อผู้ตายและผู้เสียหายด้วยเจตนาอันเดียวกันและเป็นการกระทำต่อเนื่องกันถือได้ว่าเป็นการกระทำในคราวเดียวกัน จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเดียวกัน กระทำต่อเนื่อง: กรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยวางแผนการที่จะฆ่าผู้ตายและผู้เสียหายเพื่อจะเอาทรัพย์มาตั้งแต่เวลาประมาณ 11 นาฬิกา เมื่อมีโอกาสจึงฆ่าผู้ตายก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทรัพย์จากผู้ตายหรือไม่ แล้วจำเลยจึงฆ่าผู้เสียหายและเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป แต่ผู้เสียหายไม่ตาย ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยกระทำต่อผู้ตายและผู้เสียหายด้วยเจตนาอันเดียวกันและเป็นการกระทำต่อเนื่องกันถือได้ว่าเป็นการกระทำในคราวเดียวกัน จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725-3726/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดโดยปิดหมายที่ภูมิลำเนาทนายความที่ย้ายออกไปแล้ว ถือเป็นการส่งโดยชอบหรือไม่ และผลของการไม่มาศาล
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มในวันนัดโดยวิธีปิดหมายณ สำนักงานของทนายผู้ร้องตามที่ปรากฏในสำนวน เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องได้ย้ายสำนักงานออกไปก่อนมีการปิดหมายนัด ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบ การที่ผู้ร้องไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลไปชำระเพิ่มในวันนัดตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้ามีคุณสมบัติป้องกันสนิมและอื่น ๆ ต้องเสียอากรตามพิกัด 'อื่น ๆ'
สินค้าพิพาทเป็นผลิตภัณฑ์เคมีตามพิกัดอัตราอากรแนบท้ายพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ประเภท 38.14 ซึ่งนอกจากจะมีคุณสมบัติป้องกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกัน การรวมตัวของออกซิเจนและป้องกันการกัดกร่อน ผิวโลหะจึงมิใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม"ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.10/2527(อซ.19)ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บหรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคาของที่นำเข้า แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ตามบัญชี ท้ายประกาศฉบับเดียวกันซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ80 หรือต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 24 ของราคาของที่นำเข้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคุณสมบัติสินค้าเพื่อจัดประเภทอัตราอากร กรณีสารเคมีมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดสนิมและปฏิกิริยาออกซิเดชัน
สินค้าพิพาท โจทก์ซื้อจากประเทศสิงคโปร์ ประเทศในภาคีอาเซียน และเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 38.14 ปรากฏว่า สินค้าพิพาทนอกจากจะมีคุณสมบัติกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันและป้องกันการกัดกร่อน ด้วย ดังนั้นสินค้าพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่ง ที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม" ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 10/2527 ที่จะได้ลดอัตราศุลกากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บ หรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคา แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้รับ ลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 80 หรือต้องเสียอากรร้อยละ 24 ของราคา เมื่อการเรียกเก็บอากรขาเข้าถูกต้องแล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บแทนจำเลยที่ 2 จึง ถูกต้องด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก่อนหรือไม่ต่อไป เพราะไม่เป็น ประโยชน์แก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนทางศุลกากร: ตัวแทนมีสถานะเป็นเจ้าของสินค้าและต้องรับผิดชอบค่าภาษีอากร
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ถือว่าการประเมินสำหรับภาษีดังกล่าวยุติแล้ว จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งในศาลอีกต่อไป และประเด็นข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้นำของเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ลงชื่อในบันทึกการตรวจยึดสินค้า อีกทั้งยังเป็นผู้รับสินค้าไปจากการตรวจปล่อยของโจทก์ที่ 1 ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1เจ้าของสินค้าให้เป็นตัวแทนเพื่อปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยที่ 3 ก็ได้รับอนุมัติจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรให้เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1เพื่อดำเนินการนำเข้าเกี่ยวกับสินค้ารายนี้แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 106 ซึ่งให้ถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของสินค้าที่นำเข้าในครั้งนี้ด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า เมื่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 106 บัญญัติให้ตัวแทนเป็นเจ้าของสินค้าด้วย ก็ต้องถือว่ามีความประสงค์ให้ตัวแทนมีความรับผิดเช่นเดียวกับเจ้าของสินค้าอันแท้จริงและตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีที่ได้เสียไว้ไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องเสียจริง กรมศุลกากรมีสิทธิเรียกเก็บส่วนที่ขาดจนครบ ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 จะได้ตรวจปล่อยสินค้าไปแล้ว หากปรากฏว่าค่าภาษีอากรที่เสียไว้ไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนร่วมกันรับผิดชำระส่วนที่ขาดจนครบถ้วนได้ความรับผิดของตัวแทนที่ถือว่าเป็นเจ้าของสินค้าหาได้สิ้นสุดลงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จตามสั่งเข้าข่ายเป็นการขายสินค้า ไม่ใช่การรับจ้างทำของ
โจทก์จะผลิตคอนกรีตผสมเสร็จต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากลูกค้าตามสูตรสำเร็จของโจทก์หรือตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้วัสดุของโจทก์เอง แล้วโจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จบรรทุกรถที่มีโม่เพื่อกวนคอนกรีตให้เข้ากันและป้องกันการแข็งตัวไปส่งยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด แม้โจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้แล้วไปทดสอบ แรงอัดประลัย หากไม่ได้ขนาดที่ตกลงกันโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นก็เป็นการรับผิดชอบในคุณสมบัติของของที่นำไปใช้งานและการที่ไม่ผลิตเป็นตัวสินค้าให้สำเร็จก่อนมีการสั่งซื้อก็เพราะเกี่ยวกับสภาพของของไม่อาจทำเช่นนั้นได้ การประกอบการของโจทก์จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 7(3) และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้า ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คอนกรีตผสมเสร็จ: ลักษณะสัญญาเป็นซื้อขาย ไม่ใช่รับจ้างทำของ
ป.รัษฎากรมิได้กำหนดความหมายของคำว่าการรับจ้างทำของไว้จึงต้องพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. เรื่องลักษณะจ้างทำของซึ่งงานที่ทำนั้นต้องเป็นของผู้ว่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ ลูกค้าจะสั่งตามคุณสมบัติในรายการที่โจทก์แจ้งให้ลูกค้าทราบ เมื่อลูกค้าสั่งมาโจทก์ก็ดำเนินการผสมคอนกรีตผสมเสร็จไปเทเข้าในแบบที่ทำการก่อสร้าง อันเป็นงานที่กำหนดเท่านั้น งานส่วนนี้จึงยังเป็นของโจทก์ไม่ใช่งานของลูกค้าผู้สั่งซื้อคอนกรีตสำหรับการนำคอนกรีตที่โจทก์ผสมเสร็จแล้วไปเทตามแบบที่ต้องการซึ่งเป็นงานของลูกค้าผู้สั่งซื้อคอนกรีตนั้น โจทก์ก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในงานส่วนนี้ด้วยนอกจากนี้ตั้งแต่เริ่มการผสมคอนกรีตเสร็จจนถึงเวลาที่โจทก์นำคอนกรีตผสมเสร็จไปส่งให้ลูกค้าตามสั่งนั้น ลูกค้าผู้สั่งไม่มีอำนาจที่จะไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของโจทก์ที่พอจะถือว่าลูกค้าผู้สั่งนั้นเป็นผู้ว่าจ้างซึ่งมีอำนาจตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 592 จึงถือไม่ได้ว่าลูกค้าเป็นผู้ว่าจ้างตามลักษณะการจ้างทำของ การประกอบการของโจทก์เกี่ยวกับคอนกรีตผสมเสร็จ จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของ มิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอให้ล้มละลาย แม้จำเลยผ่อนชำระหนี้แต่ไม่สม่ำเสมอ และไม่เคยยื่นประนอมหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา 108,435.78 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 1,000 บาท เป็นเงิน 29,000 บาทแล้วแต่ก็เป็นเพียงผ่อนชำระดอกเบี้ย ต่อมาจำเลยค้างชำระเงินต้นทั้งหมดและดอกเบี้ย 106,762.61 บาทจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาชำระหนี้โจทก์ หากให้จำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อไปเดือนลำ 1,000 บาท กว่าจะหมดหนี้ก็ต้องใช้เวลาหลายปีและจำเลยหาได้ผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์สม่ำเสมอทุกเดือนไปไม่ บางครั้งสองเดือนหรือสามเดือนจำเลยจึงนำเงินมาชำระครั้งหนึ่ง ถ้าจำเลยมีความสุจริตใจหรือขวนขวายอย่างแท้จริงที่จะชำระหนี้ให้โจทก์หมดสิ้นไปโดยเร็วแล้วก็น่าจะชำระให้โจทก์อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนและเป็นจำนวนเงินมากกว่านี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยเด็ดขาดแล้ว จำเลยก็หาได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ไม่ทั้ง ๆ ที่มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ดังนี้แม้มูลแห่งหนี้จะสืบเนื่องมาจากการค้ำประกันกรณีก็ยังไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
of 27