คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลต่อเนื่องจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษากลับ หรือมีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำต่อศาลชั้นต้นในชั้นขอทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ผู้ร้องเป็นผู้รับผิดชอบแทนจำเลย โดยยินยอมชำระเงินตามคำสั่งศาลแทนจนครบ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวมิได้ยุติเพียงศาลอุทธรณ์พิพากษาเท่านั้น หากผู้ร้องประสงค์จะ ผูกพันตนเพียงชั้นศาลอุทธรณ์ก็ควรเพิ่มเติมข้อจำกัดความรับผิดชอบ นั้นไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้ง ดังนั้นความรับผิดของผู้ร้องตามสัญญา ค้ำประกันดังกล่าวจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือในระหว่างฎีกา ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้: หลักฐานการรับฝากเงินไม่ชัดเจน เจ้าพนักงานประเมินถือยอดฝากจริงได้
โจทก์นำสืบพยานบุคคลที่อ้างว่ารู้เห็นเกี่ยวกับเงินฝากในธนาคารว่าเป็นของผู้อื่นหลายปากเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้วทั้งไม่ได้ความว่าพยานที่โจทก์จะนำสืบมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากพยานโจทก์ที่นำสืบมาแล้วอย่างไร ศาลชั้นต้นมีอำนาจไม่อนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานบุคคลในประเด็นดังกล่าวของโจทก์ต่อไป เมื่อฟังไม่ได้ว่าเงินในบัญชีธนาคารเป็นเงินที่โจทก์รับฝากบุคคลอื่น เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบที่จะถือเอายอดเงินสดที่โจทก์นำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ทั้งหมดเป็นหลักในการคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยเปรียบเทียบกิจการค้าของโจทก์กับร้านค้าซึ่งมีสถานการค้าอยู่ในทำเลเดียวกันและค้าขายสินค้าประเภทเดียวกันกับโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้ การถือเอาเงินฝากทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน และการพิสูจน์ที่มาของเงิน
โจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีกระแสรายวันของโจทก์รวมเงินอื่นซึ่งไม่ใช่เงินได้พึงประเมินไว้ด้วย เงินดังกล่าวมีเป็นจำนวนมากและเป็นของบุคคลหลายคน บุคคลในฐานะเช่นโจทก์น่าจะจัดทำหลักฐานการรับจ่ายไว้ แต่โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับไปกลับมาจนฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้จัดทำหลักฐานไว้หรือไม่ ที่อ้างว่าเงินเป็นของบุคคลใดบ้างนั้นก็ล้วนมีข้อพิรุธ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอายอดเงินสดที่โจทก์นำเข้าฝากในบัญชีของโจทก์เป็นหลักในการคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยคิดเปรียบเทียบกับกิจการค้าขายของร้านอื่นซึ่งมีสถานการค้าอยู่ในทำเลเดียวกันและค้าขายสินค้าประเภทเดียวกัน แต่มียอดการเสียภาษีเงินได้แตกต่างกับโจทก์จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องมีหลักฐานเปรียบเทียบราคาที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน หากไม่มีหลักฐานเพียงพอ การประเมินราคาสินค้าเพิ่มเติมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บัตรราคาสินค้าและบันทึกการวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรเป็นเอกสารภายในของโจทก์ที่ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจจะทราบได้ทั้งการประเมินราคาสินค้าของโจทก์ก็ปรากฏว่ามีการประเมินภายหลังจากจำเลยที่ 1 นำสินค้าเข้ามาแล้วเป็นเวลากว่า 4-5 ปี กรณีเช่นนี้จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่า ราคาสินค้าที่ปรากฏในบัตรราคาสินค้าและบันทึกการวิเคราะห์ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์นำมาเทียบเคียง กับราคาสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นราคาของสินค้าประเภทเดียวกันชนิดเดียวกันกับสินค้าของผู้อื่นซึ่งนำเข้าในราชอาณาจักรมาแล้วในเวลาเดียวกันและใกล้เคียงกันกับเวลาที่จำเลยที่ 1 นำเข้า เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าวจึงไม่อาจจะถือเอาราคาตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ทำการประเมินสินค้าของจำเลยที่ 1 เพิ่มเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ การประเมินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติมต้องมีหลักฐานเปรียบเทียบราคาที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน
บัตรราคาสินค้าและบันทึกการวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรเป็นเอกสารภายในของโจทก์ที่ทำขึ้นบุคคลภายนอกไม่อาจจะทราบได้ทั้งการประเมินราคาสินค้าก็ปรากฏว่ามีการประเมินภายหลังจากจำเลยที่ 1 นำสินค้าเข้ามาแล้วเป็นเวลากว่า 4-5 ปี กรณีเช่นนี้จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่า ราคาสินค้าที่ปรากฏในบัตรราคาสินค้าและบันทึกการวิเคราะห์ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์นำมาเทียบเคียง กับราคาสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นราคาของสินค้าประเภทเดียวกันชนิดเดียวกันกับสินค้าของผู้อื่นซึ่งนำเข้าในราชอาณาจักรมาแล้วในเวลาเดียวกันและใกล้เคียงกันกับเวลาที่จำเลยที่ 1 นำเข้า เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจจะถือเอาราคาตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ทำการประเมินสินค้าของจำเลยที่ 1 เพิ่มเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้การประเมินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติมสำหรับสินค้าดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อเอกสารหาย - เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามยอดขายได้ แม้เอกสารสูญหายและแจ้งความแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 8ป.รัษฎากร มาตรา 19, 71 (1)ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้ว โจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงาน-ประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การไม่นำเอกสารบัญชีตามหมายเรียก และผลกระทบต่อการประเมินภาษีในอัตรา 2% ของยอดขาย
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไปซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อเอกสารหาย - ความประมาทเลินเล่อไม่เป็นเหตุยกเว้นการส่งเอกสาร
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การปรับปรุงกำไรสุทธิ, การหักค่าสูญเสียน้ำหนักสินค้า, และการพิจารณาคำพิพากษาศาลในคดีก่อนหน้า
ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้หักได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาดังนั้น ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2518 จึงต้องคิดหักตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว แต่รายการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์นั้น โจทก์หาได้ใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ แต่โจทก์คิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์ซึ่งเป็นการคิดหักโดยไม่มีหลักเกณฑ์ เป็นเหตุให้เมื่อรวมทุกรายการแล้วมีค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินมากกว่าการคิดตามหลักเกณฑ์ในพระราชกฤษฎีกา ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่โจทก์คิดหักเกินไปเช่นนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 มาตรา 5 ยอมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามวิธีการทางบัญชีซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่ก็ต่อเมื่อการหักตามวิธีการทางบัญชีที่ใช้อยู่นั้น หักต่ำกว่าอัตราตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่คิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์เกินกว่าการคิดหักตามหลักเกณฑ์ในพระราชกฤษฎีกา ก็จะต้องคิดหักตามพระราชกฤษฎีกาจะคิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์เป็นนิติบุคคล กฎหมายกำหนดให้ทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ที่ลงบัญชีไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ แต่โจทก์ใช้จ่ายเงินไปโดยไม่มีหลักฐานประกอบหรืออ้างอิง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์ผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี (18) การคิดคำนวณการสูญเสียน้ำหนักมันสำปะหลังก่อนนำมาผลิตจนถึงขั้นผลิตเป็นมันอัดเม็ดแล้วส่งถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศจะมีการสูญเสียน้ำหนักไปตามธรรมชาติ เช่น สภาวะอากาศขณะทำการผลิตและขนส่ง ระยะเวลาการเก็บรักษาก่อนผลิตหรือหลังผลิตตลอดจนฝุ่นและมันอัดเม็ดที่ปลิวฟุ้งหรือตกหล่นในทะเลระหว่างการขนส่งด้วยจึงไม่อาจกำหนดกฎเกณฑ์ความสูญเสียของน้ำหนักให้แน่นอนหรือตายตัวได้ จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้จำเลยยอมให้โจทก์หักความสูญเสียของน้ำหนักตั้งแต่ก่อนผลิตจนถึงขั้นผลิตเป็นมันอัดเม็ดแล้ว แต่ไม่ยอมหักความสูญเสียของน้ำหนักมันอัดเม็ดระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปจนถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศซึ่งเป็นความสูญเสียของน้ำหนักมันอัดเม็ดตามธรรมดาและโดยธรรมชาติย่อมจะเกิดขึ้นให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 39ประกอบด้วยมาตรา 65 เพราะโจทก์มิได้รับเงินจากผู้ซื้อตามน้ำหนักของมันอัดเม็ดที่สูญเสียไปดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลใช้ดุลพินิจงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้วฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีก่อนเป็นคดีระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2515 ถึง 2516โจทก์ไม่มีกำไรสุทธิอันจะต้องเสียภาษีเงินได้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงเกี่ยวกับคดีนี้และย่อมมีผลผูกพันจำเลยด้วย ดังนั้น การที่จำเลยคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 โดยตั้งฐานคำนวณว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2515 และ 2516 โจทก์มีกำไรสุทธิอันจะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์และจำเลยต่างฎีกา โดยโจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย เป็นจำนวนเงิน1,296,949.36 บาท โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์โจทก์ฎีกา มิใช่ต้องถือทุนทรัพย์ตามที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการสมยอมและรู้ฐานะลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้
เจ้าหนี้นำหนี้ตามตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งลูกหนี้ออกให้มายื่นเพื่อขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่หนี้ทั้งสองจำนวนเป็นหนี้ที่เกิดจากการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้โดยลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินนั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วเงินดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1) ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้ชำระให้ธนาคารแทนลูกหนี้นั้นเจ้าหนี้ได้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวดังนี้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ดังกล่าวตามมาตรา 94(2)
of 27