คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทวงหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แม้ไม่ต้องออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้
การทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นการทวงหนี้จึงเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 มิใช่ต้องรอให้มีการออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ตามมาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นการอื่นใดนับว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเท่ากับเป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงไม่ขาดอายุความ
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง ดังนั้น การนับอายุความเป็นปีจึงต้องมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย ระยะเวลาที่นับนั้นจึงต้องสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมีกำหนด 3 ปี นับแต่ทวงถาม เมื่อทวงถามวันที่ 2 กันยายน 2526 อายุความจึงเริ่มนับวันที่ 3 กันยายน 2526 เป็นวันแรก และสิ้นสุดลงในวันที่ 2 กันยายน 2529 อันเป็นวันสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน ผลกระทบจากการทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการนับอายุความตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โดยไม่ต้องรอให้มีการออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 ประกอบด้วย มาตรา 159 วรรคสองกล่าวคือ กรณีที่นับเป็นปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย เมื่อระยะเวลามิได้เริ่มนับจากวันแรกของปี ระยะเวลาที่นับนั้นจึงสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับเริ่มระยะเวลา อายุความตามตั๋ว สัญญาใช้เงินพิพาทมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถาม คือ วันที่ 2 กันยายน 2526 วันสุดท้ายของอายุความจึงได้แก่วันที่ 2 กันยายน 2529เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529 จึงยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผลของการทวงหนี้ต่ออายุความ
การทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นการทวงหนี้จึงเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 มิใช่ต้องรอให้มีการออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ตามมาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นการอื่นใดนับว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเท่ากับเป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงไม่ขาดอายุความ อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง ดังนั้น การนับอายุความเป็นปีจึงต้องมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย ระยะเวลาที่นับนั้นจึงต้องสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมีกำหนด3 ปี นับแต่ทวงถาม เมื่อทวงถามวันที่ 2 กันยายน 2526 อายุความจึงเริ่มนับวันที่ 3 กันยายน 2526 เป็นวันแรก และสิ้นสุดลงในวันที่ 2กันยายน 2529 อันเป็นวันสุดท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลพิจารณาพยานโจทก์และวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องรับฟังพยานจำเลย
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่ดินนั้นได้ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสองแล้ว
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิจำกัด-เจ้าของรวมฟ้องรบกวนได้-อำนาจฟ้อง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่ดินนั้นได้ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199วรรคสองแล้ว โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อฟ้องคดีต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้น ซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหนี้มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ป.พ.พ. มาตรา 349 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สิทธิโจทก์ยึดถือใบหุ้นไว้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกต่อไป โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทรัพย์สินของผู้อื่นไปเพื่อเรียกหนี้ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากมีเจตนาให้ชำระหนี้เท่านั้น
จำเลยเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไปเพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน จึงไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นกรณีไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 334จำเลยจึงไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทรัพย์สินของผู้อื่นไปเพื่อเรียกร้องหนี้ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากมีเจตนาให้ชำระหนี้
ภริยาผู้เสียหายเป็นหนี้จำเลย จำเลยจึงตามไปที่บ้านผู้เสียหายและเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไปเพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน การกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าบริการของรัฐวิสาหกิจ: พิจารณาจากฐานะผู้ค้าบริการตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2497 องค์การโทรศัพท์โจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์และธุรกิจที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการโทรศัพท์ และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า เพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การโทรศัพท์มีอำนาจรวมถึง...(3) กำหนดอัตราค่าเช่า ค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ค่าบริหารอื่น ๆ ของกิจการโทรศัพท์และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าต่าง ๆ ดังกล่าว ดังนั้นการที่โจทก์เรียกค่าเช่าค่าบริการที่จำเลยค้างชำระจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ2 ปี ไม่ใช่อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166.
of 27