พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้มีประกันต้องดำเนินการผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การบังคับคดีที่ได้กระทำภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ หมายบังคับคดีแพ่งดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 110 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน และมีสิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินที่จำนองหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองเพียงใด เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามขั้นตอนของกฎหมายในคดีล้มละลายต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายที่ดินจำนองซึ่งลูกหนี้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และขอให้กันส่วนส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปรวมไว้เป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม มาตรา 111.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ขาดอายุความย่อมไม่สามารถขอรับชำระได้
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกคำบังคับ ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเริ่มต้นบังคับคดีแล้ว เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดีและศาลไม่ต้องออกหมายบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอหมายบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ขอให้ออกคำบังคับ ยังไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดี และศาลก็ไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275,276 ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้ขอให้ศาลออกคำบังคับภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ก็ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เริ่มต้นดำเนินการบังคับคดีตามมาตรา 271 แล้ว การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีถือได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เริ่มต้นดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ถ้า ได้ดำเนินการบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวได้กลายเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเสียแล้ว เมื่อเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ดังกล่าวย่อมอยู่ในฐานะเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 94(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลมีอำนาจพิจารณาอิสระ แม้เป็นหนี้เดิมที่ใช้ฟ้องล้มละลาย
หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำมาขอรับชำระหนี้แม้จะเป็นหนี้รายเดียวกับที่เจ้าหนี้นำมาเป็นมูลฟ้องลูกหนี้ล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วก็ตาม แต่ก็หามีผลผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลจำต้องถือตามไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมรับผิดค่าเช่ารถ แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่า หากมีส่วนร่วมในการทำสัญญาและรับประโยชน์
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยร่วมกันเข้าหุ้นส่วนอย่างไร จำเลยคนไหนแต่ผู้เดียวหรือร่วมกับใครบ้างมาทำสัญญาเช่าฉบับไหน เมื่อใด ครั้งไหนที่แทนกัน มีใบมอบอำนาจหรือตั้งตัวแทนหรือไม่ โดยเฉพาะข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนโจทก์จะต้องบรรยายให้เข้าลักษณะหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 ว่าจำเลยคนไหนลงหุ้นอย่างไร ด้วยอะไร อันจะถือว่าเป็นหุ้นส่วน ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนเป็นฟ้องเคลือบคลุม นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุดังที่จำเลยฎีกามาดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า จำเลยร่วมกันเป็นหุ้นส่วนอย่างไรก็ตาม แต่การที่จำเลยแต่ละคนจะเข้าหุ้นส่วนกันอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องก็ได้ การนำสืบของโจทก์ในข้อนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย และไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนมาฟังเป็นยุติในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4รับเหมาช่วงงานก่อสร้างทางพิพาทจากบริษัท ภ. จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นในอันที่จะต้องชำระค่าเช่ารถแทรกเตอร์ที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้ลงชื่อเป็นผู้เช่าหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้จำเลยอื่นลงชื่อในสัญญาเช่ารถแทรกเตอร์แทนจำเลยที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า สัญญาเช่าที่โจทก์อ้างน่าจะไม่เป็นความจริงโจทก์อาจเพิ่งมาทำขึ้นภายหลังโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 4เพื่อโยนความรับผิดไปยังจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งมีฐานะการเงินมั่นคงอยู่ นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 3 ข้อ คือ1.ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 2.จำเลยทั้งห้าเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่และ 3.จำเลยเช่ารถตามฟ้องใช่หรือไม่ ดังนี้ ประเด็นว่าค่าเช่ารถมีเพียงไร ย่อมเป็นผลสืบเนื่องจากเมื่อวินิจฉัยประเด็นข้อ 3 แล้วจึงถือว่าอยู่ในประเด็นข้อ 3 ด้วย ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเช่าอีก ก็ถือว่าคดีมีประเด็นเรื่องค่าเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำสืบในประเด็นค่าเช่า และศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ บริษัทภ.รับเหมาก่อสร้างทางให้แก่กรมทางหลวง และบริษัทภ.ได้ให้จำเลยรับเหมาช่วงงานก่อสร้างทางดังกล่าวซึ่งจำเลยก็ได้เช่ารถแทรกเตอร์ของโจทก์ไปใช้ในการก่อสร้างทางดังกล่าว แต่จำเลยไม่สามารถสร้างทางให้แล้วเสร็จภายในกำหนดในสัญญา ดังนี้จำเลยจะถือเอาวันที่กรมทางหลวงบอกเลิกสัญญากับบริษัทภ. เป็นวันที่สัญญาเช่ารถแทรกเตอร์ระงับ และให้คิดค่าเช่าถึงวันดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะวันเลิกสัญญาก่อสร้างทางกับวันที่จำเลยเช่าและผิดนัดไม่ชำระค่าเช่ารถแทรกเตอร์เป็นคนละส่วนแยกออกจากกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการเลื่อนสืบพยานและการตั้งทนายใหม่ หากมีเหตุจำเป็นสมควร ศาลควรอนุญาตเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
วันนัดสืบพยานจำเลย ทนายคนเดิมของจำเลยขอถอนตัวและจำเลยขอตั้งทนายคนใหม่แทน ศาลชั้นต้นอนุญาต แม้การถอนตัวของทนาย คนเดิมจะเกิดจากการขอของจำเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นสิทธิโดยชอบ ของจำเลยที่จะกระทำได้ และการที่จำเลยจะตั้งผู้ใดเป็นทนายของตนต่อไปก็เป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยอีกเช่นกัน ส่วนทนายคนใหม่จะมาศาลในวันนัดนั้นได้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของทนายคนใหม่ จำเลยไม่มี สิทธิหรืออำนาจที่จะบังคับได้ เมื่อทนายคนใหม่ยื่นคำร้องว่ามาศาลในวันนัดนั้นไม่ได้เพราะคิดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว และโจทก์ก็ไม่คัดค้าน ดังนี้ หากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าเป็นความจริง ก็ ชอบ ที่จะไต่สวนหาความจริงได้ไม่ยาก จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้น จะ ถือเอา ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าทนายคนใหม่ติดว่าความคดีอื่นอยู่ก่อน แล้ว ยัง ขืนตั้งให้เป็นทนายอีกมาเป็นเครื่องชี้ว่าจำเลยจงใจเพื่อ ไม่ให้ มี ทนายมาดำเนินคดีในวันนัดนั้น และการเลื่อนคดีของทนาย คนใหม่ ไม่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีโดยทนายจำเลย: เหตุจำเป็น & สิทธิในการแต่งตั้งทนาย
ศาลเคยอนุญาตให้ทนายจำเลยเลื่อนคดีครั้งหนึ่งแล้ว ในนัดต่อมาทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัวจากการเป็นทนายจำเลยและศาลอนุญาตและในวันเดียวกันนั้นจำเลยได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ ทนายความคนใหม่มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างว่าทนายความคนใหม่ติดว่าความที่ศาลอื่น ดังนี้เป็นกรณีจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ศาลชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปได้อีกแม้จะเกินกว่าหนึ่งครั้งก็ตาม ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐานและการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์
ผู้เสียหายและ บ. มีโอกาสเห็นหน้าจำเลยได้ชัดเจนเจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบทะเบียนรถจักรยานยนต์ของคนร้ายซึ่งทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุแล้วทราบว่าเป็นรถของจำเลยจึงติดตาม จับกุมจำเลยได้หลังเกิดเหตุเพียงวันเดียว จำเลยให้การ รับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนให้จำเลย ยืนปะปนกับคนอื่นประมาณ 8 คน ผู้เสียหายและ บ.ก็ชี้ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้าย การที่ผู้เสียหายจำจำเลยซึ่งอยู่ในห้องพิจารณาไม่ได้ก็เพราะจำเลยเปลี่ยนทรงผมครั้นได้ดูรูปในบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยแล้ว ผู้เสียหายยืนยันว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับคนร้าย พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นและการชำระค่าหุ้น: สิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้นตามบัญชีรายชื่อและการสันนิษฐานตามกฎหมาย
ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ในวันประชุมตั้งบริษัทจำเลยเอกสารหมาย จ.2 ปรากฎลายมือชื่อของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองลงชื่อจองหุ้น และค้างชำระค่าหุ้น อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปและยังมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ 1/2525 ที่บริษัทจำเลย ส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานครเอกสาร หมาย จ.9 เป็นพยานสนับสนุนอีกซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1024 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ ผู้ร้องคัดค้านไม่สามารถนำสืบหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองยังคงถือหุ้นและค้างชำระค่าหุ้น และค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทวงหนี้ไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดโดยประมาทและเจตนา, ความรับผิดของผู้สนับสนุน, การรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันตามกฎหมายที่จะต้องร่วมกันจัดทำแผ่นป้ายแสดงข้อความว่ารถกำลังลากจูง และต้องจัดให้มีและเปิดโคม ไฟหรือจุดไฟแสงขาวส่องที่ป้ายดังกล่าว เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้ใช้ถนนหรือผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลังมามองเห็นได้ว่ามีการลากจูง จำเลยทั้งสองสามารถกระทำและใช้ความระมัดระวังดังกล่าวแต่ไม่ได้กระทำ เป็นการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงความประมาทของจำเลยทั้งสองไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทอย่างไร โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสไม่ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในข้อ 1(ข)ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว..."และในฟ้องข้อ 1 ก. ดังกล่าวจะมีข้อหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยประมาทอยู่ก็ตามแต่ก็มีความผิดซึ่งเป็นความผิดที่ต้องกระทำโดยเจตนาอยู่ด้วย ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83มาด้วย ก็พอที่จะแปลความได้ว่าหมายถึงจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวนั่นเอง หาใช่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น มีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้กระทำความผิดโดยเจตนาเท่านั้น ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดโดยประมาทไม่อาจมีได้ตามกฎหมาย เพราะผู้สนับสนุนต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุนด้วย โดยสภาพจึงไม่อาจมีการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยประมาทได้.