คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจาก อ. ผู้จัดการมรดกของ ส. ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จัดการทรัพย์มรดก ของ ส.โดยขณะรับโอนผู้คัดค้านที่1ทราบว่าส. มีหนี้สินบุคคล หลายราย และ ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาท แสดงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ทราบถึงสภาพการมีหนี้สินพ้นตัวของกองมรดกของ ส. เป็นการรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนและรับจำนองที่ดินพิพาทภายหลังจากมี การฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้น แม้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและเป็นบุคคลภายนอกก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองนอกประเด็นคำให้การ ศาลต้องพิจารณาประเด็นตามที่คู่ความยกขึ้น
จำเลยให้การเกี่ยวกับการครอบครองว่า ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองและอยู่อาศัยจะอ้างใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ แต่กรณีนี้จำเลยครอบครองและอยู่อาศัยตลอดมาเกินกว่า30 ปี จำเลยจึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(1) ทั้งไม่มีข้อความตอนใดในคำให้การของจำเลยที่จะมีความหมายให้แปลได้ว่าจำเลยได้ยกประเด็นเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คำให้การของจำเลยจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากพ้นกำหนดสิทธิฟ้องเพิกถอนจะหมดไป
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย อันมีผลให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์ต้องบอกล้างภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้นแล้วเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องพ้นเวลาสิบปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ คำฟ้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลย ลำพังแต่เหตุดังกล่าว หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉล โมฆียะกรรม และอายุความบอกล้างนิติกรรม
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์จำใจทำนิติกรรมขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่สมัครใจก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวด้วยว่าโจทก์มีความเชื่อ ในคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ถ้า การสร้างเขื่อนทั้งหลายตามโครงการของจำเลยที่ 1เสร็จ น้ำต้องท่วมที่ดินของโจทก์แน่ โจทก์จึงต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1ใช้กลฉ้อฉลให้โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 อันเป็นผลให้สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์จะต้องบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นภายในเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถึงวันฟ้อง พ้นเวลาสิบปีแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทได้ ลำพังแต่เหตุตามฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะดัง ที่โจทก์ฎีกาไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อให้ได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้นั้น การโอนนั้นจะต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่การโอนตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ซื้อจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ย่อมนำมาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนตามสัญญาซื้อขายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมหรือไม่ และผู้รับโอนสุจริตหรือไม่
พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 115 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนได้ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นนั้น มีความหมายว่าการโอนทรัพย์สินต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วและการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็ม จำนวนจากจำเลยเพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยนำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบเทียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์ที่โอนไปกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใด จะนำมาตรานี้มาเพิกถอนการโอนรายนี้ไม่ได้และเมื่อผู้รับโอนได้รับโอนมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และข้อยกเว้น กรณีประเด็นพิพาทซ้ำ
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ขับไล่โจทก์ทั้งสี่ และให้โจทก์ทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่าศาลฎีกาย้อนสำนวนคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่แล้วได้พิพากษาเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 โดยฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย (โจทก์ทั้งสี่) หรือคู่สมรส ในเมื่อคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คดีนี้เป็นจำเลยมีประเด็นเดียวกับคดีนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้วคดีนี้จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144(1) ถึง (5)กรณีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อยกเว้นตามมาตรา 144 และขอบเขตการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 พิพากษายกฟ้อง การที่ศาลฎีกาได้ส่งคดีที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นคดีดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(4) ที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ไม่ ใช่ คดีนี้ซึ่งไม่มีกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายเพื่อขอประทานบัตรใหม่เป็นการลงทุนทางภาษี ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการลดเบี้ยปรับ
เมื่อปรากฏว่ารายจ่ายพิพาท มิใช่รายจ่ายเกี่ยวกับกิจการทำเหมืองแร่ของโจทก์ที่ตำบลบางริ้น ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524แต่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อขอประทานบัตรเหมืองแร่ใหม่ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ทำให้ได้มาซึ่งสิทธิประทานบัตรการทำเหมืองแร่เมื่อโจทก์ใช้จ่ายเงินดังกล่าวไปแล้ว ภายหลังเมื่อโจทก์ได้รับประทานบัตร โจทก์ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายจนบังเกิดเป็นทุนรอนของโจทก์ขึ้นมา อันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ มิใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมเหมืองบางริ้นให้คงสภาพเดิม จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ตามมาตรา 65 ตรี(5)แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์นำเอาค่าใช้จ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายและไม่ยอมเสียภาษีอากรให้แก่จำเลยกลับนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ ตามพฤติการณ์ยังไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์แต่การที่โจทก์ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยในการตรวจสอบภาษี โดยมอบอำนาจให้คนของโจทก์ไปให้ถ้อยคำและส่งมอบเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยแทนโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้โจทก์ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางเพียงขอให้งดเบี้ยปรับศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจลดเบี้ยปรับให้ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ลดเบี้ยปรับตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับอื่นซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์และมีคำขอมาในคดีนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้ร่วมกัน ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด
การที่ ด.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นเพราะจำเลยกับส.ต่างประมาท มิใช่เป็นการร่วมกระทำละเมิด เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน จึงเป็นกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้กระทำละเมิดทุกคนต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทน้อยกว่า ส.จึงให้จำเลยรับผิดเพียง3 ใน 10 ส่วน ตามความร้ายแรงแห่งละเมิดหาได้ไม่ เพราะด.มิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ผู้กระทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้กระทำละเมิดด้วยกันเอง
of 27