คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยซึ่งขับรถยนต์โดยสารกับ ส. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายนั่งซ้อน ท้ายมาต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด ผู้ตายมิได้มีส่วนทำความผิดด้วย และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกันเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม ตามป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบด้วยมาตรา 291 จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยกับ ส. จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ส. ด้วยกันเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีบังคับคดีและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดแยกกันเป็น2 ส่วน ส่วนแรกขอให้ปล่อยที่ดินกับบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินอันเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์และส่วนที่สองขอให้ปล่อยทรัพย์ต่าง ๆรวม 7 รายการ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์แม้จะร้องขอรวมกันมา การที่จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ก็จะต้องถือทุนทรัพย์ของผู้ร้องแต่ละส่วน ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกันและแยกออกจากกันได้ เมื่อคำขอส่วนที่สองซึ่งเป็นคดีเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์อันมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิจากการแข่งขันแย่งลูกค้าในเส้นทางการขนส่งประจำทาง
จำเลยทั้งสองมีสถานที่จำหน่ายตั๋วโดยสารและจำหน่ายตั๋วโดยสารให้แก่ผู้โดยสารเป็นรายบุคคล เมื่อเส้นทางเดินรถของจำเลยทับเส้นทางของโจทก์ที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 6 ประกอบการเดินรถร่วมกับโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการละเมิดแก่โจทก์ทั้งหก แม้ในคดีอาญาศาลจะไม่ได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ คดีไม่มีข้อพิพาทไม่อาจใช้สิทธิได้
การใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นมิได้หมายความว่าผู้ใดประสงค์จะใช้สิทธิของศาลอย่างใดก็อาจใช้ได้ตามอำเภอใจต้องพิจารณาด้วยว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นที่จะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรอง หรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย กรณีผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคำให้การพยานโจทก์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำสั่งศาลฎีกาในคดีอาญาเป็นโมฆะนั้น ไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลได้ การที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิแล้วนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องชอบที่จะฟ้องผู้ที่ผู้ร้องเห็นว่าโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายสร้างภาพยนตร์เป็นการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ ตามมาตรา 65 ตรี (5)
เมื่อบริษัทโจทก์สร้างภาพยนต์ เสร็จแล้ว โจทก์สามารถนำภาพยนตร์ดังกล่าวไปฉายหาผลประโยชน์ได้ทั่วประเทศ แม้ฟิล์มภาพยนต์ ที่โจทก์ฉายหารายได้แล้วครั้งแรกหรือที่เรียกว่ากากหนัง จะมีค่าหรือราคาลดน้อยลงไป แต่ภาพยนต์ หรือฟิล์มภาพยนตร์นั้นยังคงเป็นทรัพย์สินและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ โจทก์ยังสามารถนำออกฉายหาผลประโยชน์ให้โจทก์หรือขายขาดให้บุคคลอื่นต่อไปได้อีก มิได้เสื่อมค่าหมดไป จะเปรียบเทียบกับการผลิตสินค้าทั่วไปและถือว่าภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์ของโจทก์เป็นสินค้าของโจทก์ด้วยไม่ได้ เพราะวัตถุประสงค์ที่โจทก์สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาก็เพื่อนำออกฉายหารายได้จากผู้เข้าชมซึ่งมาหาความบันเทิงผู้ชมภาพยนตร์เพียงแต่ได้ชมภาพและฟังเสียงของภาพยนตร์ชั่ว ระยะเวลาอันสั้นโดยเสียเงินค่าตอบแทน หาได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นแต่ประการใด กิจการของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะซื้อขายสินค้า ฉะนั้นรายจ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์เสียไปเนื่องจากการสร้างภาพยนตร์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป. รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายสร้างภาพยนตร์เป็นการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายซื้อขายสินค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5)
โจทก์สร้างภาพยนตร์เพื่อนำออกฉายหารายได้จากผู้เข้าชมซึ่งมาหาความบันเทิง ผู้ชมภาพยนตร์เพียงแต่ได้ชมภาพและฟังเสียงของภาพยนตร์ชั่วระยะเวลาอันสั้นโดยเสียเงินค่าตอบแทน หาได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นแต่ประการใด แม้ฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ฉายหารายได้แล้วครั้งแรกหรือที่เรียกว่ากากหนังจะมีค่าหรือราคาลดน้อยลงไป แต่ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์นั้นยังคงเป็นทรัพย์สินและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ยังสามารถนำออกฉายหาผลประโยชน์หรือขายขาดให้บุคคลอื่นต่อไปได้อีก หาได้เสื่อมค่าหมดไปไม่ กิจการของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะซื้อขายสินค้ารายจ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์เสียไปเนื่องจากการสร้างภาพยนตร์จึงมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายสร้างภาพยนตร์เป็นค่าลงทุน ไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
ภาพยนตร์ที่โจทก์สร้างโจทก์สามารถนำไปฉายหาผลประโยชน์ได้ทั่วประเทศ แม้ฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ฉายหารายได้แล้วครั้งแรกหรือที่เรียกว่ากากหนังจะมีค่าหรือราคาลดน้อยลงไป แต่ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์นั้นยังคงเป็นทรัพย์สินและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ การสร้างภาพยนตร์ของโจทก์เพื่อนำออกฉายหารายได้จากผู้ชมซึ่งได้ชมภาพและฟังเสียงของภาพยนตร์ชั่วระยะเวลาอันสั้นหาได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นแต่ประการใด กิจการของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะซื้อขายสินค้า รายจ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์เสียไปเนื่องจากการสร้างภาพยนตร์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว การส่งคำบอกกล่าวโดยชอบ และการพิสูจน์ทรัพย์สิน
หนี้เงินกู้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์กำหนดระยะเวลาชำระคืนและมีข้อสัญญาว่าทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดคืนก่อนกำหนด การที่ทนายโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญากู้และทวงถามให้ชำระหนี้ รวม 2 ครั้งโดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และมีผู้รับไว้แทนจึงเป็นการส่งโดยชอบ สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันเลิกกันหนี้ของโจทก์จึงถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงตก เป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ รวมจำนวนถึง 637,431.30 บาท จำเลยที่ 1 เบิกความว่ามีอาชีพทำตะเกียบ ส่งประเทศไต้หวันตลอดจนมีทรัพย์สินหลายรายการและกำไรที่จะได้รับจากอาชีพที่ทำอยู่เกินกว่าที่เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ 2เบิกความว่ามีแผงลอย 2 แผงสำหรับขายของที่ตลาดถ้า โอนไปจะได้เงินประมาณ 150,000 บาท แต่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของจำเลยลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้เชื่อ ว่าเป็นความจริง คดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรต้องมีหลักฐานราคาตลาดที่แท้จริง การประเมินเกินอำนาจเป็นโมฆะ
โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 สำแดงราคาของที่นำเข้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่โจทก์มิได้นำเจ้าพนักงานประเมินมา เบิกความว่ามีหลักฐานเอกสารอะไรที่แสดงว่าของประเภทและชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามีราคาแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าราคาของที่จำเลยที่ 1 สำแดงไว้ต่ำกว่า ราคาแท้จริงในท้องตลาดอันเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีอากร จากจำเลยที่ 1 เพิ่มได้ เอกสารที่โจทก์อ้างส่งอันได้แก่ บัญชี ราคาสินค้ารายการบรรจุหีบห่อ บัญชีราคาสินค้าล่วงหน้า ใบตราส่ง ใบเสร็จรับเงินค่าภาระของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ใบกำกับสินค้า ไม่ปรากฏว่าราคาของที่จำเลยที่ 1 นำเข้าต่างไปจากราคาของที่จำเลย ที่ 1 สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าอันจะถือได้ว่าราคาของที่จำเลย ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำไปกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์จึงเลื่อนลอย ขาดพยานหลักฐานสนับสนุน ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองทรัพย์มรดก - ความสุจริตของผู้รับจำนอง - สิทธิของทายาท - การแบ่งสิทธิเรียกร้อง
คำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องระบุว่า ท.กับพวกรวม 7 คนโดย จ.ผู้รับมอบอำนาจและข้าพเจ้า ท.กับพวกรวม 7 คน ปรากฏตามรายชื่อและที่อยู่ท้ายคำฟ้องนี้ พร้อมทั้งแนบรายชื่อและที่อยู่ของโจทก์ทั้งเจ็ดมาด้วย ส่วนตามคำฟ้องเดิมโจทก์ได้แนบหนังสือมอบอำนาจมาท้ายคำฟ้องด้วยว่า โจทก์ทั้งหกได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้รับมรดกของ ล.เจ้ามรดกเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการดังจะกล่าวต่อไปนี้แทนข้าพเจ้าจนเสร็จการ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ฟ้องคดีแทน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และจำเลยที่ 1 เป็นทายาทของ ล.เจ้ามรดกโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล และได้จัดการโอนมรดกมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวไว้กับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอมย่อมเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองดังกล่าวจึงเป็นกิจการที่ได้นำไปนอกชอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754มาบังคับมิได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของล.ที่ตกได้แก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งเจ็ดไว้กับจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 รับจำนองไว้โดยไม่สุจริต จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล.ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนรวมทั้งโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท 1 ใน 11 ส่วน จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งเจ็ดและทายาทอื่นซึ่งรวมแล้วเพียง10 ใน 11 ส่วนเท่านั้น
of 27