คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเพิกถอนการจำนองที่ดินมรดก
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตก ทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินมาเป็นของตนและนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวไว้กับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 การจำนองจึงเป็นกิจการนอกขอบอำนาจผู้จัดการมรดก ทายาทอื่นในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จึงนำอายุความตาม มาตรา 1754 มาบังคับไม่ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นข้อเสียเปรียบแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเสียได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินมรดกที่ผู้จัดการมรดกทำโดยมิชอบ โดยทายาทมีสิทธิขัดขวางได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นทายาทร่วมด้วย การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกมาเป็นของตนตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวกับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองจึงเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้มาเมื่อ ล.เจ้ามรดกตาย ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ล. และเป็นผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนจำเลยที่ 2ต้องเสียเปรียบ จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล. ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนการที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 11 ส่วนจึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท 10 ใน 11 ส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีอาญา: สภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นกระทำผิด และความไม่แน่นอนของพยาน
ที่เกิดเหตุเป็นห้องตัดผม ซึ่งมีผู้คนเข้าออกวันหนึ่ง ๆเป็นจำนวนหลายคน ลิ้นชักที่พยานโจทก์พบเฮโรอีนก็เป็นลิ้นชักที่ไม่ได้ล็อก กุญแจ ช่างตัดผมหรือคนตัดผมคนหนึ่งคนใดนำเข้าไปซ่อนไว้ก็อาจทำได้ กุญแจสำหรับเปิดลิ้นชักใส่เครื่องมือตัดผมก็มิได้มีแต่ของที่จำเลยถือเท่านั้น ส่วนกลางก็มีอีก 1 ชุด ซึ่งบุคคลอื่นก็อาจเปิดห้องตัดผมได้ ไม่ใช่มีเพียงจำเลยเท่านั้นเมื่อสภาพที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ที่หลายคนเข้าออกได้ก็เป็นการไม่แน่นอนลงไปว่า เฮโรอีนเป็นของจำเลยเท่านั้น อาจเป็นของบุคคลอื่นก็ได้ คดียังเป็นที่สงสัยตามสมควร ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีเสพยาเสพติด: สถานที่เกิดเหตุเปิดโอกาสให้ผู้อื่นกระทำผิดได้
สถานที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ที่หลายคนเข้าออกได้ จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าเฮโรอีนเป็นของจำเลยเท่านั้น อาจเป็นของบุคคลอื่นก็ได้ คดียังเป็นที่สงสัยตามสมควรที่จะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีเจ้าของรวมอื่น
จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่โจทก์นำยึดในฐานะเจ้าของรวมโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิยึดบ้านดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในบ้านดังกล่าวก็ไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้องหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำบ้านพิพาทไปเป็นประกันเงินกู้แก่โจทก์จากนั้นจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทตามเดิม พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกบ้านให้ผู้ร้องเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนบ้านพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 กรณีเป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี ซึ่งเจตนารมณ์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวเรื่องการโอนโดยไม่สุจริตได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้วศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีร้องขัดทรัพย์ได้โดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปดำเนินการฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้
จำเลยที่ 2 ภริยาของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของจำเลยทั้งสองภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองนำบ้านพิพาทไปประกันเงินกู้ให้โจทก์ ระยะเวลาห่างกันประมาณเดือนเศษ หลังจากโอนบ้านพิพาทให้ผู้ร้องแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ตามเดิมพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกบ้านให้ผู้ร้องเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีเท่านั้น เมื่อปรากฎว่านอกจากบ้านพิพาทแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์อย่างอื่นอีก การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 เสียเปรียบ อันเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนรายนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 คดีนี้เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดีเจตนารมณ์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวเรื่องดังกล่าวได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้วศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้โดยมิพักต้องให้โจทก์ไปดำเนินการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารสัญญากู้ระหว่างจำเลยทั้งสองกับโจทก์ให้ผู้ร้องก่อนวันสืบพยาน 3 วัน เป็นเพราะผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยทั้งสอง และเป็นผู้รับโอนบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 2โจทก์จึงเข้าใจว่าผู้ร้องคงทราบเรื่องที่จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ตามฟ้องแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี สมควรรับฟังสัญญากู้ดังกล่าว การรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องชัดเจน จำเลยต้องรับผิดหนี้เบิกเกินบัญชี การจำนองเป็นประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการชำระหนี้
คำฟ้องบรรยายว่าการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 มีการขอเพิ่มวงเงินหลายครั้งรวมเป็นเงิน 700,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์อยู่เฉพาะต้นเงิน 334,207.57 บาท ฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งสามารถทำให้จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนจะมีการหักทอนบัญชีกันอย่างไร ค้างชำระหนี้ค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความตามฟ้องและตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองให้กับโจทก์แล้วก็ตาม ก็จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์และมิได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะการจำนองดังกล่าวก็เพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ต่อโจทก์เท่านั้น เป็นคนละเรื่องกับการชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นอุทธรณ์หรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าถูกรอนสิทธิจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ผู้เช่าฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าช่วงส่งมอบที่ดิน
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เดิมบิดาโจทก์จำเลยเช่าที่ดินจากกรมการศาสนามาแล้วปลูกบ้านพิพาทมานานประมาณ50 ปี โดยโจทก์จำเลยอยู่กับบิดามารดาในบ้านนี้ ต่อมาบิดาตาย โจทก์จำเลยจึงไปขอแบ่งเช่าที่ดินที่ตั้งบ้านพิพาทจากกรมการศาสนาเนื้อที่คนละ 9 ตารางวา ปรากฏว่าบ้านพิพาทบางส่วนล้ำเข้าไปในเขตที่ดินที่โจทก์เช่ามา แม้โจทก์จะมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทแต่ขณะฟ้องโจทก์มิได้ครอบครองบ้านพิพาทหรือครอบครองที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านพิพาท การที่โจทก์เสียค่าเช่าที่ดินเต็มตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เช่าแก่กรมการศาสนาหาได้หมายความว่ากรมการศาสนาผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้แก่โจทก์แล้วไม่ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้ที่ดินเต็มเนื้อที่ที่เช่ามาเป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้เช่าถูกรอนสิทธิในทรัพย์สินที่เช่า ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องบังคับให้ผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 การที่จำเลยไม่ยอมรื้อบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2902/2528).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ถูกรอนสิทธิจากการถูกรุกล้ำพื้นที่เช่า การฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าส่งมอบพื้นที่
โจทก์เช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีบ้านพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยปลูกรุกล้ำอยู่ แม้โจทก์จะมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทด้วยความยินยอมของจำเลย แต่โจทก์มิได้เข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในบ้านพิพาทหรือที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียค่าเช่าที่ดินเต็มตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เช่าแก่กรมการศาสนา หาได้หมายความว่ากรมการศาสนาผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้แก่โจทก์แล้วไม่ ที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเต็มเนื้อที่ที่เช่ามาจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้เช่าถูกรอนสิทธิในทรัพย์ที่เช่า ชอบที่จะฟ้องร้องบังคับผู้ให้เช่าให้ส่งมอบที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 27