คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาประวิงคดีและการรอการลงโทษจำคุก พิจารณาจากพฤติการณ์ชำระหนี้และประวัติผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยหาเงินมาชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยเลื่อนการฟังคำพิพากษาไปนาน 2 เดือน แต่จำเลยไม่ชำระในวันนัดฟังคำพิพากษาโจทก์จำเลยไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยขอเลื่อนคดีไปอีกเพื่อรวบรวมเงินมาชำระหนี้โจทก์ โจทก์คัดค้านศาลชั้นต้นสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันนั้น จำเลยจึงแถลงลอย ๆ ว่าจำเลยเตรียมเงินมาพร้อมที่จะชำระให้โจทก์ 90,000 บาท และจะถอนเงินประกันอีก 60,000 บาท ชำระหนี้โจทก์ รวมเป็นเงิน 150,000 บาท ซึ่งเท่ากับยอดเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้นพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นได้ชัดว่าที่จำเลยขอเลื่อนคดีในตอนแรกนั้น จำเลยมีเจตนาที่จะประวิงคดี และข้อเสนอของจำเลยที่จะชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์เป็นไปอย่างมีชั้นเชิง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่มีเหตุที่จะลดโทษให้แก่จำเลย จำเลยอายุ 50 ปี สำเร็จการศึกษาเป็นเศรษฐศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีอาชีพค้าขาย มีภาระต้องดูแลภรรยาและบุตร ผู้เยาว์อีก 4 คน และจำเลยพยายามขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำนวน150,000 บาท อันเป็นการบรรเทาผลร้ายแก่โจทก์ แม้จำเลยจะต้องคำพิพากษาในคดีอื่นให้ลงโทษจำคุก แต่คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงถือว่าจำเลยยังไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน คดีมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานทำสุราและมีสุราไว้ในครอบครอง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำความผิดสองกรรม ไม่ใช่สามกรรม
ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราโดยฝ่าฝืนกฎหมายนั้น พระราชบัญญัติสุราพ.ศ. 2493 มาตรา 5,30,32 บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน การที่จำเลยทำสุราแช่กับการที่จำเลยมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน เป็นความผิดสองกรรม คือฐานทำสุราแช่กับฐานมีสุราแช่และสุรากลั่นไว้ในครอบครองหาใช่เป็นความผิดสามกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงทางคำให้การ: ผลผูกพันทางกฎหมายและการงดเว้นการนำสืบพยาน
จำเลยให้การว่า ก่อนระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์นั้นจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์แก่โจทก์ จำเลยว่าได้ให้เช่าช่วงไปแล้วโดยไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งหมดไม่ปรากฏว่า จำเลยกล่าวปฏิเสธถึงหนี้และใบทวงหนี้ตามฟ้อง จึงเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยาน และจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะนำสืบพยานฝ่ายตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากคำให้การของผู้ถูกฟ้อง หากไม่ปฏิเสธหนี้ถือว่ายอมรับ
จำเลยให้การว่า ก่อนระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์นั้นจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์แก่โจทก์ จำเลยว่าได้ให้เช่าช่วงไปแล้วโดยไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งหมดไม่ปรากฏว่า จำเลยกล่าวปฏิเสธถึงหนี้และใบทวงหนี้ตามฟ้อง จึงเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยาน และจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะนำสืบพยานฝ่ายตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคดีล้มละลาย: การคัดค้านการยืนยันหนี้ – คำร้อง vs. คดีมีทุนทรัพย์
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานจริงหรือไม่? ศาลยกฟ้องฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต หากจำเลยเพียงหลอกลวงเพื่อเรียกค่าบริการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำการโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายและประชาชนไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนผู้ประสงค์จะไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย แต่อย่างใดจำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานจริงหรือไม่? ศาลตัดสินคดีฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำการโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายและประชาชนไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนผู้ประสงค์จะไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดจำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องใหม่-หนี้ร่วม: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือการต่อสู้เดิม และภริยาต้องรับผิดชอบหนี้จากการงานร่วมกับสามี
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงานโดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่เคยต่อสู้ในศาลชั้นต้น และความรับผิดร่วมกันในหนี้จากการประกอบธุรกิจสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)
of 27