พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, การขอโอนกรรมสิทธิ์
กรณีที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนอง ซึ่งมูลหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ด ขาด ดังนั้น ถือว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไถ่ถอนจำนองด้วยตนเองย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มูลแห่งหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองที่จะเรียกเอาจากลูกหนี้ที่ 1 จึงเกิดขึ้นแล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอนจำนอง ซึ่งถ้า หากเจ้าหนี้ได้ไถ่ถอนจำนองไปแล้วเมื่อใด ก็ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชดใช้เงินค่าไถ่ถอนจำนองได้เมื่อนั้น แต่ขณะที่ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอนจำนองและไม่แน่ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธินั้นเมื่อใด เจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนอง แต่ถือได้ว่าหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483(มาตรา 94) ส่วนคำขอรับชำระหนี้ที่ระบุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือใช้ราคาแก่เจ้าหนี้นั้น คำขอให้ใช้ราคาที่ดินเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำขอรับชำระหนี้ในลักษณะที่จะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง ซึ่งตามกฎหมายหนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในลักษณะขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือใช้ราคาแก่เจ้าหนี้เช่นนี้ จึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในลักษณะขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือใช้ราคาแก่เจ้าหนี้เช่นนี้ศาลจะอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้มีเงื่อนไข & วัตถุแห่งหนี้เป็นที่ดิน
ลูกหนี้เอาที่ดินของเจ้าหนี้ซึ่งใส่ชื่อลูกหนี้ไว้แทนไปจำนองและรับจะไถ่ถอนจำนองและโอนคืนให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี แต่ก็ไม่ไถ่ถอนและโอนคืนตามที่รับรองไว้ ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนี้มูลหนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไถ่ถอนจำนองด้วยตนเองย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์มูลแห่งหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองที่จะเรียกเอาจากลูกหนี้ที่ 1 จึงเกิดขึ้นแล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ยังมิได้ไถ่ถอนจำนองซึ่งถ้าเจ้าหนี้ได้ไถ่ถอนจำนองแล้วเมื่อใด ก็ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้เงินค่าไถ่ถอนจำนองได้เมื่อนั้นแต่โดยที่ขณะขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอน จำนองและไม่แน่ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิขอไถ่ถอนจำนองนั้นเมื่อใด เจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองได้ทันที แต่ถือได้ว่าหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้จึงย่อมขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
หนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้นซึ่งถ้ามี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยก็คิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคำขอที่มีที่ดินเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่หนี้เงินแม้จะมีคำขอว่า หรือให้ใช้ราคาที่ดิน กำกับอยู่ด้วยก็เป็นเพียงคำขอสำรองสำหรับใช้เป็นสภาพบังคับในกรณีที่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก.
หนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้นซึ่งถ้ามี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยก็คิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคำขอที่มีที่ดินเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่หนี้เงินแม้จะมีคำขอว่า หรือให้ใช้ราคาที่ดิน กำกับอยู่ด้วยก็เป็นเพียงคำขอสำรองสำหรับใช้เป็นสภาพบังคับในกรณีที่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าไถ่ถอนจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้มีเงื่อนไข และการบังคับสิทธิแยกต่างหาก
ลูกหนี้เอาที่ดินของเจ้าหนี้ซึ่งใส่ชื่อลูกหนี้ไว้แทนไปจำนองและรับจะไถ่ถอนจำนองและโอนคืนให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี แต่ก็ไม่ไถ่ถอนและโอนคืนตามที่รับรองไว้ ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนี้มูลหนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไถ่ถอนจำนองด้วยตนเองย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มูลแห่งหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองที่จะเรียกเอาจากลูกหนี้ที่ 1 จึงเกิดขึ้นแล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ยังมิได้ไถ่ถอนจำนองซึ่งถ้าเจ้าหนี้ได้ไถ่ถอนจำนองแล้วเมื่อใด ก็ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้เงินค่าไถ่ถอนจำนองได้เมื่อนั้นแต่โดยที่ขณะขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอนจำนองและไม่แน่ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิขอไถ่ถอนจำนองนั้นเมื่อใด เจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองได้ทันที แต่ถือได้ว่าหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้จึงย่อมขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 หนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้นซึ่งถ้ามี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยก็คิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคำขอที่มีที่ดินเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่หนี้เงินแม้จะมีคำขอว่า หรือให้ใช้ราคาที่ดิน กำกับอยู่ด้วยก็เป็นเพียงคำขอสำรองสำหรับใช้เป็นสภาพบังคับในกรณีที่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์สินที่จำนองเมื่อลูกหนี้ล้มละลาย แม้ชื่อในโฉนดยังเป็นของลูกหนี้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิไถ่ถอนจำนองและรับโอนกรรมสิทธิ์
ผู้ร้องเช่าซื้อที่พิพาท เมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของผู้ร้อง โดยใส่ชื่อ ลูกหนี้ที่ 1 ไว้ในโฉนด แทนเพื่อให้ลูกหนี้ที่ 1 นำโฉนด ไปเป็นหลักประกันในการหาเงินมาทำการค้าโดยลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือยืนยันมอบไว้แก่ผู้ร้องว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง และจะไถ่ถอนจำนองโอนคืนผู้ร้องภายใน 1 ปีจึงถือได้ว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ลูกหนี้ที่ 1 เป็นเพียงผู้มีชื่อ ในโฉนด ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน แม้ลูกหนี้ที่ 1 จะเอาที่พิพาทไปจำนองแล้วไม่ไถ่ถอน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่จำนองก็มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองเองได้ หากไถ่ถอนจำนองเองก็ชอบจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อผู้ร้องไถ่ถอนจำนองแล้วจำนองก็ย่อมระงับไปจะบังคับให้ลูกหนี้ที่ 1 ทำการไถ่ถอนจำนองซ้ำอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่แท้จริงของผู้เช่าซื้อ แม้จำนอง ผู้เช่าซื้อมีสิทธิไถ่ถอนเองได้
ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ลูกหนี้เพียงมีชื่อในโฉนดในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น แม้ลูกหนี้เอาที่พิพาทไปจำนองแล้วไม่ยอมไถ่ถอนก็ตาม ผู้ร้องก็มีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนเองได้เมื่อไถ่ถอนแล้วก็ชอบที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าไถ่ถอนได้ การที่ผู้ร้องได้ขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองไว้แล้วในสาขาคดีขอรับชำระหนี้แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาจะใช้สิทธิไถ่ถอนจำนองเอง และในสาขาคดีขอรับชำระหนี้ ศาลได้พิพากษาแล้วว่า หากผู้ร้องไถ่ถอนจำนองที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ก็ให้ได้รับชำระหนี้เป็นเงินเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเอง แต่ให้ได้รับชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงไม่ชอบที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่พิพาท หรือชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนอง ศาลคงพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนอง: ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ถอนเองได้ แม้ลูกหนี้จำนองแล้วไม่ไถ่ถอน ศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจากกองทรัพย์สิน
ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ลูกหนี้เพียงมีชื่อในโฉนดในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น แม้ลูกหนี้เอาที่พิพาทไปจำนองแล้วไม่ยอมไถ่ถอนก็ตาม ผู้ร้องก็มีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนเองได้เมื่อไถ่ถอนแล้วก็ชอบที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าไถ่ถอนได้การที่ผู้ร้องได้ขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองไว้แล้วในสาขาคดีขอรับชำระหนี้แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาจะใช้สิทธิไถ่ถอนจำนองเองและในสาขาคดีขอรับชำระหนี้ ศาลได้พิพากษาแล้วว่า หากผู้ร้องไถ่ถอนจำนองที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ก็ให้ได้รับชำระหนี้เป็นเงินเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเอง แต่ให้ได้รับชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงไม่ชอบที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่พิพาท หรือชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนอง ศาลคงพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการ/เอกสารปลอม, ปลอมและใช้ตั๋วเงิน, รับของโจร: การตีความ 'เอกสารราชการ' และการลงโทษกรรมเดียว
คำว่า "เอกสารราชการ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) หรือมาตรา 265 หมายถึง เอกสารของราชการไทยเท่านั้น การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงินและรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ส่วนปัญหาการปรับบทลงโทษ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมและตั๋วเงินปลอม การพิจารณาโทษและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายอาญา
คำว่า "เอกสารราชการ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) หรือมาตรา 265 หมายถึง เอกสารของราชการไทยเท่านั้น
การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงินและรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
ส่วนปัญหาการปรับบทลงโทษ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี.
การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงินและรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
ส่วนปัญหาการปรับบทลงโทษ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำด้วยลูกกุญแจจี้และดึงทรัพย์สิน ไม่ถึงขั้นชิงทรัพย์ แต่เข้าข่ายข่มขืนใจโดยใช้กำลัง
จำเลยเพียงใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหาย ทรัพย์ที่จำเลยเอาไปมีเพียงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งมีราคาไม่มากนัก มิได้เอาทรัพย์อย่างอื่นไปด้วย เมื่อผู้เสียหายขอคืนโดยอ้างว่าจะสอบในวันรุ่งขึ้น จำเลยยอมคืนดินสอ ให้โดยดี ส่วนปากกาเขียนแบบจำเลยบอกให้ไปรับคืนที่โรงเรียนที่จำเลยกำลังศึกษาอยู่ หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้หลบหนี ผู้เสียหายนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยได้ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ 200 เมตร ลักษณะการกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายจริงจัง แต่เห็นได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความคึกคะนองตามประสา วัยรุ่นที่โง่เขลาการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหายแล้วดึงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งเหน็บอยู่ที่สมุดของผู้เสียหายไปนั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาให้ผู้เสียหายเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้จำยอมตามความประสงค์ของจำเลย โดยทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพโดยใช้อาวุธ.
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหายแล้วดึงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งเหน็บอยู่ที่สมุดของผู้เสียหายไปนั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาให้ผู้เสียหายเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้จำยอมตามความประสงค์ของจำเลย โดยทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพโดยใช้อาวุธ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีจากสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปี เมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป