พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสั่งยึดทรัพย์และการสอบสวนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่า ทรัพย์ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อชำระหนี้ การโอนโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโอนให้ แก่ผู้คัดค้านเสียย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจาก ผู้เช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ กลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจาก ผู้เช่าซื้อต่อไปได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้แล้วตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อเท่านั้น ไม่ต้อง รับผิดในเงินค่าเช่าซื้อที่ยังมิได้รับชำระ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือ เป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วัน ยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียก ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้เพิกถอนการโอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่สุจริตในคดีล้มละลาย ศาลเพิกถอนการโอนและกำหนดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินผู้คัดค้านจำนวน 5,000,000 บาทและได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 5,000,000 บาท มอบให้ผู้คัดค้านไว้กำหนดชำระเงินเมื่อทวงถาม จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ให้เช่าซื้อไปให้ผู้คัดค้านจำนวน 84 รายเป็นเงิน6,761,375 บาท เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งกระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ล้มละลาย โดยผู้คัดค้านรับโอนมาโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ย่อมขอให้เพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่กลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากผู้เช่าซื้อต่อไปได้ ส่วนผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้แล้วตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อที่ยังมิได้รับชำระ การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ผู้คัดค้านต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารรับเงินในหน้าที่ เจ้าพนักงาน ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม แต่เป็นเอกสารเท็จ
จำเลยมีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน การที่จำเลยรับเงินและออกใบเสร็จรับเงินให้ ส. แล้วต่อมาได้แก้ไขสำเนาเป็นออกให้ อ. เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ของจำเลย และลงลายมือชื่อตนเองเป็นผู้ทำและผู้แก้ไขเอกสารนั้น จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้น แม้ข้อความในต้นฉบับและสำเนาจะไม่ตรงกัน ก็เป็นแต่เพียงเอกสารเท็จ ไม่ทำให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161,265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการหลอกลวงและปกป้องทรัพย์สินจากหนี้สินที่ถูกสร้างขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปแก่โจทก์ สหกรณ์ผู้ร้องร้องสอดว่า ในขณะที่จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ของผู้ร้องได้ทุจริตเบียดบังเอาเงินของผู้ร้องไป ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อเรียกเงินคืนคดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันได้สมคบกับโจทก์แสดงเจตนาลวงทำสัญญากู้ยืมเงินแกล้งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามฟ้อง เพื่อมิให้ผู้ร้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ ขอให้พิพากษาว่าสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นโมฆะ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องมีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ไม่ให้จำเลยทั้งสองโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการสมคบกันแสดงเจตนาลวงของลูกหนี้และโจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)โดยอ้างว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองสมคบกันแสดงเจตนาลวงทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเพื่อมิให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้มีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิซึ่งผู้ร้องมีอยู่ เพื่อให้ได้ชำระหนี้ ไม่ให้จำเลยทั้งสองโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย คำร้องของผู้ร้องมีเหตุผลต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57(1) โดยไม่ต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลที่สามในการร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิจากการสมคบกันแสดงเจตนาลวงเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ผู้ร้องร้องสอดว่าจำเลยที่ 1 ทุจริตเบียดบังเงินของผู้ร้อง และผู้ร้องได้ฟ้องเรียกคืนไว้แล้ว โจทก์กับจำเลยทั้งสองสมคบกันแกล้งเป็นหนี้ตามฟ้องเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ขอให้พิพากษาว่าสัญญากู้เป็นโมฆะ กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องมีความจำเป็นเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับให้ได้รับชำระหนี้ไม่ให้จำเลยโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายผู้ร้องจึงร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานเมื่อผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและมีเจตนาหลีกเลี่ยง ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ได้
เจ้าพนักงานประเมินให้โอกาสโจทก์นำเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆที่จำเป็นไปให้เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ นับแต่วันที่ 24กรกฎาคม 2523 จนถึงครั้งสุดท้ายวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 เป็นเวลาเกือบ3 ปี โจทก์ขอผัดส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อ้างว่า รวบรวมไม่ครบหรือป่วยและเหตุอื่น รวม 13 ครั้ง และผิดนัดเรื่อยมาพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจฝ่าฝืนไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตามหมายเรียก หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจ ประเมินภาษีอากรของโจทก์ไปตามหลักฐานที่มีอยู่และแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ โจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งไป และในกรณีนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 21.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเมื่อผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและจงใจไม่นำเอกสารหลักฐานมาแสดง
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ส่งเอกสารและไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน ปรากฏว่าโจทก์ขอผัดผ่อนการส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ โดยอ้างเหตุว่ารวบรวมไม่ครบ หรือป่วย และเหตุอื่น ๆรวม 13 ครั้ง และผิดนัดเรื่อยมา ตามพฤติการณ์จึงฟังได้ว่าโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจฝ่าฝืนไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีอากรของโจทก์ไปตามหลักฐานที่มีอยู่ซึ่งในกรณีนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21 เพราะถือว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติ โจทก์หมดสิทธิโต้แย้งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าสิทธิจาก Licensing Agreement: สำนักงานสาขาทำหน้าที่ประกอบกิจการในไทย เสียภาษีตาม ม.66 มิใช่ ม.70
โจทก์ทำสัญญาให้ใช้สิทธิ (LicensingAgreement) กับบริษัท ช.ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยบริษัทช. อนุญาตให้โจทก์มีสิทธิผลิตสินค้าเครื่องสำอางและเครื่องหอมภายใต้เครื่องหมายการค้าซึ่งบริษัทมีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ ทั้งจะให้คำแนะนำแก่โจทก์ในข้อปฏิบัติและกรรมวิธีในการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าดังกล่าว รวมทั้งการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้คำแนะนำแก่โจทก์เป็นครั้งคราว โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนคิดคำนวณจากยอดขายของโจทก์ให้บริษัท สัญญานี้โจทก์ทำกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทโดยตรง แต่หลังจากทำสัญญาแล้วสำนักงานสาขาประเทศไทยของบริษัท เป็นตัวแทนปฏิบัติตามพันธะ ดังกล่าว รวมทั้งการตรวจสอบยอดขายและการเปลี่ยนแปลงราคาขายของโจทก์สำนักงานสาขาประเทศไทยอันเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัทจึงเป็นผู้กระทำกิจการอันเป็นเหตุให้บริษัทได้รับเงินค่าสิทธิในประเทศไทย และมีหน้าที่เสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66กรณีมิใช่เงินได้ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 70 โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าสิทธิจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง.