พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายให้สำนักงานสาขาเป็นตัวแทนปฏิบัติตามสัญญา ทำให้สำนักงานสาขาเป็นผู้เสียภาษี
สัญญาให้ใช้สิทธิยินยอมให้โจทก์มีสิทธิผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ให้สิทธิ และบริษัทดังกล่าวจะให้คำแนะนำในข้อปฏิบัติกรรมวิธีการผลิตสินค้า รวมทั้งการช่วยเหลืออื่น ๆ ตลอดจนส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำโจทก์เป็นครั้งคราว ซึ่งในทางปฏิบัติโจทก์ได้ขอคำแนะนำผ่านสำนักงานสาขาในประเทศไทยของบริษัทดังกล่าว บางครั้งบริษัทดังกล่าวส่งผู้เชี่ยวชาญมาประจำสำนักงานสาขา โจทก์ก็ได้ขอคำแนะนำจากสำนักงานสาขาโดยตรง ดังนี้แม้โจทก์จะทำสัญญาให้ใช้สิทธิกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง สำนักงานสาขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำสัญญาก็ตาม แต่บริษัทมอบหมายให้สำนักงานสาขาเป็นตัวแทนในการปฏิบัติตามข้อสัญญา คือให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ตรวจสอบยอดขายและการเปลี่ยนแปลงราคาขาย ต้องถือว่าสำนักงานสาขาเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัทดังกล่าวได้กระทำกิจการอันเป็นเหตุให้ได้เงินค่าสิทธิในประเทศสำนักงานสาขาในไทยเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 กรณีจึงไม่ใช่เงินได้ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 70 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าสิทธิจาก Licensing Agreement: สำนักงานสาขาทำหน้าที่ประกอบกิจการในไทย เสียภาษีตาม ม.66 มิใช่ ม.70
โจทก์ทำสัญญาให้ใช้สิทธิ (LicensingAgreement) กับบริษัท ช.ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยบริษัทช. อนุญาตให้โจทก์มีสิทธิผลิตสินค้าเครื่องสำอางและเครื่องหอมภายใต้เครื่องหมายการค้าซึ่งบริษัทมีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ ทั้งจะให้คำแนะนำแก่โจทก์ในข้อปฏิบัติและกรรมวิธีในการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าดังกล่าว รวมทั้งการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้คำแนะนำแก่โจทก์เป็นครั้งคราว โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนคิดคำนวณจากยอดขายของโจทก์ให้บริษัท สัญญานี้โจทก์ทำกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทโดยตรง แต่หลังจากทำสัญญาแล้วสำนักงานสาขาประเทศไทยของบริษัท เป็นตัวแทนปฏิบัติตามพันธะ ดังกล่าว รวมทั้งการตรวจสอบยอดขายและการเปลี่ยนแปลงราคาขายของโจทก์สำนักงานสาขาประเทศไทยอันเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัทจึงเป็นผู้กระทำกิจการอันเป็นเหตุให้บริษัทได้รับเงินค่าสิทธิในประเทศไทย และมีหน้าที่เสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66กรณีมิใช่เงินได้ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 70 โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าสิทธิจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการประนอมหนี้ของเจ้าหนี้ และการสันนิษฐานว่าผู้ล้มละลายกระทำการโดยรู้ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 52 วรรคสอง เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วมีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ แต่ได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ไว้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำบัญชีแสดงกิจการต้นทุนกำไรย้อนหลังไป 3 ปีนับแต่วันถูกพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวที่มิได้ใช้ในการประกอบธุรกิจ ภริยาจำเลยที่ 2 ไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีทรัพย์สิน และในการประกอบกิจการค้าขาย จำเลยที่ 2ไม่ได้ทำบัญชีแสดงการขาดทุนกำไร ย่อมเห็นได้ว่า ก่อนล้มละลายจำเลยทั้งสองมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินและไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควร ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองได้ขืนทำการค้าต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามมาตรา 74(2)(ข),73,72, และ 53 ศาลย่อมสั่งไม่เห็นชอบด้วยคำขอประนอมหนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการประนอมหนี้แม้เคยลงมติยอมรับ และการล้มละลายจากการค้าขายโดยรู้ว่าไม่มีหนี้จ่าย
เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ มีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตามดังนั้นการที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ไว้ ต่อมาได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ ก่อนล้มละลาย จำเลยมีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน และไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควรอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 74(2)(ข) ศาลสั่งให้ยกคำขอประนอมหนี้ได้ตามมาตรา 72 ประกอบมาตรา 73(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6361/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจัดสรร ตัวแทนจำกัดอำนาจ ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 เพื่อจัดสรรขาย และจะได้กำไรจากราคาเดิมประมาณ 3-4 เท่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับส่วนแบ่งกำไรจากจำเลยที่ 1 คงเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ซื้อ ชำระราคาที่ดินครบถ้วนในแต่ละแปลงแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจัดสรรที่ดินขายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6357/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจ้างปูพรมพร้อมวัสดุประกอบถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
การจ้างปูพรมที่โจทก์ผู้รับจ้างจัดซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมมาจากผู้อื่น แล้วปูแผ่นยางรองพื้นพรมและพรมให้แก่ลูกค้าจนสำเร็จโดยคิดราคาแผ่นยางรองพื้นพรมต่างหากจากค่าแรงงานนั้น แม้โจทก์จะถือว่าซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมแล้วขายให้แก่ลูกค้าไป แต่โจทก์ก็ต้องปูพรมโดยใช้แผ่นยางรองพื้นพรมนั้นเพื่อช่วยให้พรมที่ปูมีความนุ่มและสวยงามตามที่ลูกค้าต้องการ พรมและแผ่นยางรองพื้นพรมจึงเป็นส่วนประกอบของกันและกันเพื่อให้งานสำเร็จสมเจตนาของคู่กรณี จึงเป็นเรื่องการรับจ้างทำของ ราคาแผ่นยางรองพื้นพรมที่โจทก์คิดจากลูกค้าจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของอันจะต้องเสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6357/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการปูพรมพร้อมยางรอง เป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
การพิจารณาว่ารายรับของโจทก์เป็นรายรับจากการขายแผ่นยางรองพื้นพรมหรือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องพิจารณาตามลักษณะของงานที่ทำและเจตนาของคู่สัญญา ลักษณะการทำงานของโจทก์เป็นการรับจ้างปูพรมให้แก่ลูกค้าแต่ถ้ารายใดต้องการใช้แผ่นยางรองพื้นพรมโจทก์เป็นผู้จัดการหาแผ่นยางรองพื้นพรมให้ โดยซื้อมาจากผู้อื่นแล้วจัดการปูแผ่นยางรองพื้นพรมและปูพรมให้แก่ลูกค้าจนเรียบร้อยโจทก์คิดค่าแรงงานส่วนหนึ่งและราคาแผ่นยางรองพื้นพรมอีกส่วนหนึ่งลักษณะการทำงานของโจทก์เห็นได้ว่า โจทก์ต้องทำงานปูพรมให้แก่ลูกค้าจนสำเร็จและเจตนาของคู่กรณีอยู่ที่ผลสำเร็จแห่งการงานที่ลูกค้าจ้างโจทก์ปูพรมให้แม้โจทก์จะจัดการซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมและขายให้ลูกค้า แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการปูพรมและต้องใช้แผ่นยางรองพื้นพรมเพื่อให้งานที่โจทก์รับจ้างปูพรมสำเร็จผล จึงเป็นเรื่องการรับจ้างทำของ ราคาแผ่นยางรองพื้นพรมจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของอันจะ ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากร การระบุวัตถุประสงค์การชำระ และสิทธิในการได้รับประโยชน์จากประกาศขยายเวลาชำระ
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไปแม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525 โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นก็ตามแต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้วคงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328 วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากรเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้วคงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรและการขยายเวลาไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลัง การเฉลี่ยชำระหนี้
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้ การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไป แม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว คงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา328 วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้ว คงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว คงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา328 วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้ว คงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความกำหนดเวลา และการปฏิบัติตามสัญญา
แม้ว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมจะระบุว่าผู้ร้องกับพวกจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกให้เสร็จภายในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีนั้นและออกคำบังคับโดยวิธีปิดหมายซึ่งจะมีผลบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อเมื่อกำหนด 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่คำบังคับมีผล จึงถือว่าผู้ร้องได้ปฏิบัติตามกำหนดเวลาในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว.