พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้จำเลยอ้างไม่ทราบการยอมความ เพราะทนายมีอำนาจทำสัญญาได้
แม้หากจะฟังว่า จำเลยที่ 2 ห้ามหรือกำชับโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ว่าไม่เซ็นและหย่าได้ไปเซ็นสัญญาใด ๆ กันอีก จำเลยที่ 2 ไม่รับรู้ด้วย แล้วจำเลยที่ 2 ออกจากศาลไปก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ถอนทนายของตนแล้วเพราะการถอนทนายจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อจำเลยทั้งสองแต่งตั้งให้ทนายของตนมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ได้และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วคำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลยทั้งสอง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสองเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชนะคดี ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องเสียเพียง 200 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายศพเพื่อปิดบังการตาย ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199 แม้ไม่มีรายละเอียดการซ่อนเร้น
ฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยซ่อนเร้นหรือย้ายศพผู้ตายอย่างไร เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แล้วรีบนำศพจากบ้านไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดเพื่อทำการฌาปนกิจ โดยไม่แจ้งให้บิดามารดาผู้ตายและพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ เมื่อมีผู้ขอดูศพผู้ตายจำเลยก็ไม่ยอมให้ดู เป็นการย้ายศพโดยมีเจตนาเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อนเร้นย้ายศพเพื่อปิดบังการตาย ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199 โจทก์บรรยายฟ้องว่าภายหลังจากจำเลยได้ฆ่า ส.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยได้บังอาจซ่อนเร้น ย้ายศพของ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายเช่นนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดเจนถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีโดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยซ่อนเร้นศพผู้ตายอย่างไรหรือย้ายศพผู้ตายจากไหนไปไหนด้วยก็ได้ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หลังจากจำเลยทำร้ายผู้ตายแล้ว จำเลยปกปิดความจริงไม่บอกให้บิดามารดาผู้ตายทราบถึงการเจ็บป่วยของผู้ตาย และเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วรีบนำศพจากบ้านไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดเพื่อทำการฌาปนกิจโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ เมื่อมีผู้ขอดูศพผู้ตาย จำเลยก็ไม่ยอมให้ดู ตามพฤติการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายของผู้ตายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้โดยไม่สุจริตและเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องราคาที่ดินคืนได้
จำเลยที่ 2 กู้เงินผู้คัดค้านสองจำนวน จำนวนละ 500,000 บาทจำนวนแรกไม่ได้มีหลักฐานการกู้ เพียงออกเช็ค 2 ฉบับไม่ลงวันที่มอบให้ผู้คัดค้านยึดถือจำนวนที่สองนำที่ดินพิพาท 8 แปลงมาจำนองยอมให้ถือว่าสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านโอนที่ดินจำนองชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ผู้คัดค้านโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงเป็นของผู้คัดค้าน แม้การรับจำนองดังกล่าวได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้จำนองเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่ที่ดิน 8 แปลง ที่นำมาจำนองมีราคาถึง 1,000,000บาท เศษ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ผู้คัดค้านอยู่เพียง 500,000 บาทการที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงจึงเป็นการกระทำที่รู้อยู่แล้วว่าทำให้จำเลยที่ 2 และเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2เสียเปรียบ ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตชอบที่จะเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงินผิด เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข การเพิกถอนการโอนที่ดินเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถือเป็นการโอนโดยชอบ ยังถือไม่ได้ว่าผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยายจากการไม่ชำระหนี้และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แม้ไม่เคร่งครัดกำหนดเวลา
แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กำหนดเรื่องการชำระราคากันว่าโจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว 10,000 บาท ที่เหลือส่งชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 500 บาท จนกว่าจะครบ 37,500 บาทจำเลยจึงจะโอนสิทธิให้ แม้โจทก์มิได้ชำระเงินทุกเดือนรวมหลาย ๆ เดือนชำระครั้งหนึ่ง ไม่ได้ถือกำหนดเวลาในสัญญาเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์รื้อบ้านของโจทก์ที่ปลูกไว้ออกจากที่ดินดังกล่าวไปแล้วไม่ได้ชำระเงินให้จำเลยนานถึง 4 ปีเศษ โดยจำเลยไม่เคยทวงถามให้โจทก์ชำระหนี้อีกเลย แสดงว่าโจทก์จำเลยเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6030/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนนิติกรรมขายและจำนอง: คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ พิจารณาจากมูลค่าทรัพย์สินที่พิพาท
โจทก์เป็นทายาทของ จ. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ อ. ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ จ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวทำไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และส. รวมทั้งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรายการประเภทขายและประเภทจำนองทุกรายการ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อสู้กรรมสิทธิ์และจำเลยที่ 5ต่อสู้ว่าได้รับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนี้ถ้าโจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับคืนมาเป็นมรดกของ จ. โดยปลอดจำนองด้วย คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการสืบพยานร่วมและการวินิจฉัยตามคำเบิกความ มีผลผูกพันคู่ความ
ทางพิจารณาคู่ความตกลงกันว่า ขอสืบ ส.เป็นพยานร่วมเพียงปากเดียว หาก ส.เบิกความเป็นอย่างไรก็ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้นและหาก ส.เบิกความไม่สมฝ่ายใด ก็ถือว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานให้ศาลพิพากษาไปตามประเด็นแห่งคดี เมื่อคำเบิกความของ ส.สอดคล้องเจือสมกับคำฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีส่วนในการซื้อที่ดินคืนไม่ใช่จำเลยซื้อเพียงคนเดียว จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามที่ตกลงกันในรายงานกระบวนพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5950/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ซื้อขายไก่: ความรับผิดของคู่สมรสที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายไก่กับโจทก์เพียงคนเดียว ใบรับไก่ก็มีแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อรับ แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่กิน ฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอาชีพทำไร่และ ขับรถบรรทุกและไม่ได้มาที่ร้านของจำเลยที่ 1 ทุกวัน ปกติจำเลย ที่ 1 จะอยู่กับลูกจ้างจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนหรือกระทำ การค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อมีการผิดสัญญาซื้อขายไก่ โจทก์ต้อง บังคับเอากับจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด หนี้ดังกล่าวไม่ใช่หนี้ร่วมตามป.พ.พ. มาตรา 291.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและแม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1051,1052 โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลยที่ 4 ก่อน 3 วัน แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทผ้าย้อมไปจากโจทก์ และได้รับสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่เกิดมูลคดีนี้ จำเลยที่ 4เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และประทับตราห้างของจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้างเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)