คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนก่อนและหลังออกจากหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทผ้าย้อมไปจากโจทก์ และได้รับสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่เกิดมูลคดีนี้ จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และประทับตราห้างของจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้างเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา
จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตามป.พ.พ. มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1
แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: แม้มีเหตุจำเป็น แต่จำเลยมีทางเลือกอื่น จึงถือจงใจขาดนัด
แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 1 จะขอเบิกเงินค่าจ้างจากนายจ้างเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการมาศาลไม่ได้ และนายจ้างได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ดูแลรับผิดชอบยางพาราด้วยก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็จะนำเอาเหตุดังกล่าวมาอ้างว่าจำเลยทั้งสองมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 อาจจะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยามาขอเลื่อนคดีได้ แต่จำเลยที่ 1ก็ไม่กระทำ หรือจำเลยที่ 2 เองก็มิได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร และหลักฐานการพิสูจน์ภาระภาษี
หลักฐานรายจ่ายเกี่ยวกับค่าช่วยเหลือชักนำลูกค้าเป็นแบบฟอร์ม ที่โจทก์จัดทำขึ้นเอง โจทก์จะให้คนของโจทก์กรอกข้อความอย่างไร ก็ได้ เอกสารทุกฉบับมีแต่ลายเซ็นชื่อของผู้รับเงินเท่านั้น นามสกุล ก็ ไม่ปรากฏ สถานที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่มีให้ตรวจสอบถึง ความถูกต้อง แท้จริงได้ เป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจการค้า ที่มีเงินลงทุน จำนวนมากและสถิติการจำหน่ายสินค้าได้นับจำนวน พันล้านบาทต่อปี เช่นโจทก์จะพึงกระทำโดยหละหลวมเช่นนั้น พยานหลักฐาน ที่โจทก์นำสืบ มายังไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าโจทก์ได้จ่ายเงิน ช่วยเหลือชักนำลูกค้า จริง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามนำ มา หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) โจทก์มีแต่ ช. เป็นพยานเบิกความไม่มีเอกสารอื่นใดมาสนับสนุนว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริษัทในเครือยืมเงินไป มากกว่าดอกเบี้ยที่จะได้จากบริษัทในเครือของโจทก์เท่าใด จึงฟัง ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริษัทในเครือของโจทก์มากกว่า ที่จะได้รับดอกเบี้ย จากเงินที่โจทก์ได้ให้ยืมไปนั้น ทั้งการที่ โจทก์ให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมไปนี้ก็เพื่อบริษัทในเครือ ของโจทก์ไปผลิต สินค้ามาให้โจทก์จำหน่าย แม้โจทก์จะได้ผลกำไรจาก การจำหน่ายสินค้านั้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่าย ให้แก่สถาบันการเงินที่ โจทก์ ได้กู้ยืมเงินมา เป็นรายจ่ายเพื่อหา กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ของโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้นำมาหัก เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ค่าเครื่องบิน ค่าที่พักและค่าอาหารอันเป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบ ให้เชื่อได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปใน ธุรกิจของโจทก์ จึงถือว่าเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์แม้จำเลยจะมิได้คัดค้านหรือนำสืบหักล้างพยานเอกสารของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงว่าเป็น ดังที่โจทก์อ้าง เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จำเลยให้โจทก์เสีย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารับรอง หรือค่าบริการไปเนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกินสมควร ซึ่งไม่ให้ถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(4)หรือไม่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5803/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่ และการใช้ดุลพินิจศาลในการไม่รอฟังผลคดีอื่น
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้รอฟังผลคดีอื่นให้ถึงที่สุดก่อน ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งการใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการสั่งไม่รอฟังผลคดีอื่น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ ผู้ไม่ได้รับการจัดสรรไม่มีสิทธิแย่งการครอบครอง
การซื้อขายที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 จึงเป็นโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ในเขตปฏิรูปที่ดินบุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรเพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดสรรให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 37 ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้การยกให้ไม่จดทะเบียน การขุดร่องน้ำทำถนนในที่ดินของผู้อื่นถือเป็นการละเมิด
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี มิใช่ครอบครองแทนทายาทอื่น ดังนี้ แม้การ ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลย ก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นตั้งแต่วันครบ 10 ปี นับแต่ วัน ได้รับ การยกให้ การที่โจทก์ขุดร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาท ภายหลัง จาก ที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จึงเป็นการละเมิด ต่อจำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์เข้าไป ขุด ร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาทเป็นการละเมิด จึงฟ้องแย้งให้ โจทก์ ทำการถมร่องน้ำและรื้อถนนในที่ดินพิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวพันกับที่ดินพิพาทจึง เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 คือเจ้าของที่แท้จริง
เมื่อคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องบรรยายไว้แล้วว่า ที่ปรากฏใน น.ส.3 ว่าที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ เพราะที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่ ผู้ร้องจึงตกลงให้ใส่ชื่อจำเลยไว้แทนผู้ร้อง ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมเป็นโมฆะกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 ถือว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ที่ดินจึงเป็นของจำเลยซึ่งมีชื่อใน น.ส.3 ศาลชอบที่จะพิจารณาคำร้อง ของผู้ร้องแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การพิสูจน์เจตนาในการค้าและอายุความทางภาษี
แม้โจทก์มีหลักฐานสัญญาที่ทำขึ้นเป็น 3 ฝ่าย คือ โจทก์ผู้ขายที่ดินฝ่ายหนึ่ง ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้างปลูกสร้างตึกแถวฝ่ายหนึ่ง แต่การขออนุญาตและการรับเงินค่าก่อสร้างโจทก์เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้รับเงินทั้งหมด นอกจากนี้การแบ่งเงินชำระเป็นงวดของผู้ซื้อก็ได้คิดรวมทั้งค่าที่ดินและค่าก่อสร้างเข้าด้วยกัน ทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารบนที่ดินก่อนที่ผู้ซื้อจะทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นผู้จัดการขออนุญาตเสียอีก พฤติการณ์ทั้งหมดแสดงว่าการก่อสร้างตึกแถวรายนี้เป็นการดำเนินการของโจทก์ เงินค่าก่อสร้างจึงเป็นเงินได้หรือรายรับของโจทก์ ที่ดินที่ขายไปโจทก์ได้แลกเปลี่ยนกับกรมธนารักษ์ เมื่อได้รับมาแล้วนำมาแบ่งแยกเป็นแปลง ๆ และปลูกอาคารขาย เป็นการได้ทรัพย์มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและขายทรัพย์ไปเป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เมื่อมีการยื่นรายการแล้ว หากเจ้าพนักงานประเมินจะเรียกไต่สวน ก็ให้เรียกภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการและเมื่อนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นรายการจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บยังอยู่ภายในกำหนด10 ปี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินโดยอาศัยบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้ โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินและตึกแถวให้ ส.ภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 อยู่อาศัย แต่ในการจดทะเบียนมีชื่อโจทก์ที่ 2 ภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 กับ ส.เป็นผู้ซื้อ เมื่อซื้อแล้วส.ได้เข้าอยู่อาศัยแต่มิได้ย้ายชื่อเข้าในทะเบียนบ้านเมื่อส.แยกทางกับโจทก์ที่ 1 ก็ได้รับเงินไปจำนวนหนึ่ง จึงได้โอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ที่ 2 แสดงว่าโจทก์ที่ 2 มิได้ซื้อที่ดินและตึกแถวเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ต่อมาโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไปในราคาเท่ากับที่ซื้อมา กรณีจึงมิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า ต้องพิจารณาเจตนาในการได้มาและขายทรัพย์สิน หากมิได้มีเจตนาค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
แม้โจทก์ที่ 2 จะได้ทำสัญญาว่า ย. เป็นผู้ทำการก่อสร้างแต่การขออนุญาตและการรับเงินทั้งค่าที่ดินและค่าก่อสร้าง โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้รับเงินนั้นทั้งหมด นอกจากนี้ การแบ่ง เงินชำระเป็นงวด ๆ ก็ได้คิดราคาทั้งที่ดินและค่าก่อสร้างเข้าด้วยกัน พฤติการณ์เห็นได้ว่า การก่อสร้างตึกแถวรายนี้เป็นการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2เงินค่าก่อสร้างจึงเป็นเงินได้หรือ รายรับของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ได้แลกเปลี่ยนที่ดินกับกรมธนารักษ์ แล้วนำมา แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ และปลูกอาคารขาย เป็นการได้ทรัพย์มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และขายทรัพย์ไปเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า โจทก์ที่ 2 ได้ทรัพย์สินมาในเบื้องต้นโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะจะใช้เพื่ออยู่อาศัยและต่อมาขายไปราคาเท่าเดิมกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือ หากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้า เงินได้ที่โจทก์ที่ 2 ได้รับจากการขายที่ดินและตึกแถวจะต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ว่ามีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดสนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์ไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อ วันที่ 30มีนาคม 2522,31 มีนาคม 2523 และ 31 มีนาคม 2524 และ เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนโดยมีเหตุอันควร เชื่อว่าโจทก์ ยื่นรายการไว้ไม่ถูกต้องเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2525 จึงเป็นการออก หมายเรียกภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการ และเมื่อนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นรายการจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมิน เรียกเก็บภาษีจากโจทก์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2531 แล้ว ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปีปี เจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19แห่ง ป.รัษฎากรได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้สัญญากู้เงินซื้อขายหุ้น - คดีไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้จากสัญญากู้เงินเพื่อซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลหนี้จากเงินค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายซื้อหุ้นคืนซึ่งมีอายุความ 2 ปี.
of 27