คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรค้าง: การคำนวณเงินเพิ่มและอายุความของหนี้ภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 หาได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าภาษีอากรค้างว่าจะต้องชำระเงินเพิ่มก่อนหลังกันอย่างไรจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบมิใช่ข้อที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจะสามารถรู้ได้เอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ไปยังลูกหนี้ที่ 2และลูกหนี้ที่ 2 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2ได้ชำระค่าภาษีเงินได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลล่างทั้งสองนำเงินที่ลูกหนี้ที่ 2ผ่อนชำระไปหักจากค่าภาษีเงินได้ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยไม่คำนวณเงินเพิ่มร้อยละ 20 ด้วย จึงเป็นการไม่ถูกต้อง การที่พยานเจ้าหนี้ให้การว่า ได้มีการชำระเงินกันบางส่วนแล้วแต่จะชำระเมื่อใดไม่ปรากฏนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้รับทราบการประเมินและไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้รายนี้ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการใช้เงินบางส่วนอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ฟ้องโจทก์บรรยายว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยแสดงแบบยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ต่ำกว่ายอดรายรับขั้นต่ำซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้กำหนดไว้ เจ้าพนักงานประเมินจึงได้หมายเรียกจำเลยให้นำบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีปี 2515 ถึง 2523มา ตรวจสอบภาษี จำเลยไม่มาพบและไม่นำบัญชีมาให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 87,87 ทวิแห่ง ป. รัษฎากร ทำการประเมินเรียกเก็บภาษีใหม่พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,469,805.71 บาทจำเลยไม่มีทรัพย์ใดที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์ได้ทวงถามจำเลยให้ชำระแล้วสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ส่วนรายละเอียดต่าง ๆตามฎีกาของจำเลยนั้น โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมายืนยันว่าจำเลยได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์และโจทก์ได้แจ้งกำหนดรายรับขั้นต่ำให้จำเลยทราบแล้ว พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนจำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีจำเลยโดยชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 19,21 และจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามการประเมินดังกล่าว การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2519 เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนเงินภาษีที่ประเมินไปยังจำเลยแล้ว อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 นับแต่วันที่แจ้งดังกล่าวจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรปี 2519 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: จำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทน มิใช่เจ้าของทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจเพิกถอนการโอนได้
จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อใน น.ส.3 ในฐานะผู้ถือสิทธิในที่พิพาทไว้แทนผู้รับโอน หาใช่เจ้าของที่พิพาทไม่ การที่จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้รับโอน มิใช่การโอนทรัพย์สินของจำเลยให้แก่ผู้รับโอน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอำเภอใจ และการคิดเงินเพิ่มจากกำหนดเวลาที่ถูกต้อง
ตามคำฟ้อง โจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการและหลักเกณฑ์การคำนวณหายอดขายจากกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ว่าได้มาอย่างไร แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้ว โจทก์ไม่จำต้องเสนอพยานหลักฐานและข้ออ้างอิงมาในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินสาธารณะและการตกเป็นโมฆะของการขายรวม
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยจำนวน 7 แปลงในคราวเดียวกัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ทั้ง 7 แปลงต่อมาปรากฏว่าที่ดิน 2 แปลงที่ประกาศขายนั้นเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งจะโอนขายให้แก่กันมิได้ การขายที่ดินสองแปลงนี้จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามโอนขายตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ส่วนที่ดินอีก 5 แปลง ซึ่งขายมาในคราวเดียวกันโดยไม่สามารถแยกออกได้ว่าที่ดินแปลงใดมีราคาเท่าใด และตามพฤติการณ์ก็ไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีประสงค์จะให้การขายที่ดินทั้ง 5 แปลงนี้ให้สมบูรณ์แยกต่างหากออกมาได้ การขายที่ดิน5 แปลงนี้จึงตกเป็นโมฆะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินเป็นประกันหนี้และการบังคับคดี: สิทธิของผู้ฝากและผู้รับฝากเมื่อมีคำสั่งอายัดทรัพย์
ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสาร การมอบใบรับฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 750
เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 287และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกัน มาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำสิทธิ และการหักเงินหลังมีหมายอายัดเป็นข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝากผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารการมอบใบฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกันมาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ หากไม่มีเจตนาช่วยเหลือ
ที่อยู่ของผู้ร้องอยู่ห่างจากที่อยู่ของจำเลยถึง 8 กิโลเมตรผู้ร้องย่อมไม่ทราบว่าจำเลยจะเอารถจักรยานยนต์ไปกระทำผิดเมื่อไรถือไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยส่วนการที่หากจำเลยหรือผู้ค้ำประกันยังผ่อนชำระราคาอยู่ตามปกติผู้ร้องจะไม่ร้องขอของกลางคืนจากศาลนั้นเห็นว่า เมื่อจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องย่อมไม่มีเหตุหรือความเดือดร้อนที่จะติดตามทรัพย์สินของตนคืนถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีล้มละลายเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แม้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร
ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นได้ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดในคดีดังกล่าวแล้ว ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีของโจทก์หรือไม่ และแม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรก็ไม่มีกฎหมายยกเว้นว่าไม่ต้องจำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายต่อคดีอื่นที่เจ้าหนี้อื่นฟ้อง
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 มีความหมายถึง การที่ศาลสั่งในคดีหนึ่งคดีใดให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ก็ให้จำหน่ายคดีซึ่งเจ้าหนี้อื่นฟ้องไว้เสีย โดยมิต้องคำนึงถึงว่า คดีอื่นนั้น ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในเวลาต่อมาหรือไม่ และ เจ้าหนี้ค่าภาษีอากรย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "เจ้าหนี้อื่น" ใน มาตรานี้ด้วย
of 27