พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5225/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ในคดีล้มละลายเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน เป็นการตีใช้หนี้จำนองหนี้เงินยืมนอกสัญญาจำนอง หนี้ตามเช็คกับได้เงินสดจากผู้คัดค้านจำนวนหนึ่งภายหลังจากมีการขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย มีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ 3 รายรวมเป็นเงิน330,607 บาท แต่จำเลยมีทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้เพียง 29,534.32 บาท จำเลยย่อมรู้อยู่ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ทั้งที่พิพาทก็มีราคาเกินกว่าหนี้จำนอง การโอนที่พิพาทตีใช้หนี้ให้ผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำที่จำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนในระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 รับโอนที่พิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากมีการขอให้ล้มละลาย แม้จะรับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองการโอนในระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้รับโอนช่วงย่อมถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4760/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเป็นเรื่องเดียวกับสัญญากู้ยืม ฟ้องได้ที่ภูมิลำเนาจำเลย การให้การไม่ชัดเจนเป็นเหตุให้ศาลไม่ต้องกำหนดประเด็น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันจะมีได้เมื่อมีสัญญาหรือหนี้อื่นที่ลูกหนี้จะต้องชำระ แล้วคู่กรณีมาตกลงกันให้มีการป้องกันอีกชั้นหนึ่งว่า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระแทน เพื่อที่เจ้าหนี้จะได้มีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นมูลความแห่งคดีของหนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสองได้ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะเป็นหญิงมีสามีโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จำเลยไม่รับรอง ส. ผู้ให้ความยินยอมจะเป็นสามีโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่รับรอง คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดประเด็นนี้ให้จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์พิสูจน์ความผิดฐานมี/พาอาวุธปืน - การที่จำเลยไม่ปฏิเสธไม่ใช่การยอมรับ
ในข้อหาความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต นั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังเป็นยุติว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้ฟัง ได้ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องทั้งสองฐานดังกล่าวด้วยจึงจะลงโทษจำเลยได้ เมื่อทางพิจารณาโจทก์มิได้นำสืบว่า อาวุธปืน ที่จำเลยใช้ยิงต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานนั้นเป็นอาวุธปืนที่จำเลย มิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย และจำเลยมิได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว อีกทั้งโจทก์ก็ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางยืนยันความผิดของจำเลยด้วย จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิด ทั้งสองฐานนี้ไม่ได้ ในการพิจารณาคดีอาญา เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยกระทำความผิด การที่จำเลยไม่นำสืบปฏิเสธจะถือเท่ากับว่าจำเลยยอมรับผิดตามฟ้องไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์และตามแบบพิมพ์ของศาลท้ายอุทธรณ์ได้ระบุไว้ว่าโจทก์ได้ยื่นสำเนาอุทธรณ์โดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยหนึ่งฉบับดังนั้นการที่ทนายโจทก์ได้ลงลายมือจริงไว้ในอุทธรณ์หาใช่เป็นการยื่นสำเนาอุทธรณ์โดยมีการรับรองข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันไม่ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์หรือทนายโจทก์มาลงชื่อรับรองสำเนาอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แต่โจทก์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบทความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 132,174(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฉบับแรกของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์หรือทนายโจทก์จะต้องมาลงชื่อรับรองสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน แต่โจทก์กลับส่งอุทธรณ์และสำเนาอุทธรณ์ฉบับที่สองซึ่งมีข้อความเหมือนอุทธรณ์ฉบับแรกมายังศาลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ และสำเนาอุทธรณ์โดยชอบเพราะอุทธรณ์เป็นคำคู่ความ โจทก์จะต้องนำมายื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และมาตรา 229ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนภาษี: นับจากวันยื่นแบบแสดงรายการ แม้ทายาทจะยื่นภายหลัง
การที่ผู้ต้องเสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว แม้ต่อมาเมื่อผู้ต้องเสียภาษีตาย ทายาทจะไปยื่นเสียภาษีอีกก็ตาม การนับกำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19ก็ต้องนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีครั้งแรก กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ออกหมายเรียกก่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 เป็นเรื่องการกำหนดเงินได้สุทธิ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากมีการไต่สวนแล้ว ส่วนกรณีที่จะออกหมายเรียกมาไต่สวนนั้น เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 หรือ 23 แล้วแต่กรณี ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเกินกำหนดอายุความและข้อโต้แย้งเรื่องที่มาของทรัพย์สินเพิ่มพูน
ก. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีสำหรับปี 2518-2520 ขณะ ที่มีชีวิตอยู่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2521 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนการเสียภาษีของ ก. ไปยังทายาทของก. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2527 จึงเกินกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีปี 2518-2520 การออกหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีในปี ดังกล่าว การกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร เท่านั้น ที่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน ส่วนการออกหมายเรียกไต่สวน เพื่อกำหนดเงินได้สุทธิเป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตาม มาตรา 19หรือมาตรา 23 ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวหาได้บัญญัติไว้ว่า จะต้องได้ รับอนุมัติจากอธิบดีก่อนไม่ โจทก์อ้างว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินนำหุ้นของ ก. ที่เพิ่มขึ้นในปี 2521 หรือ 2522 มาถือเป็นเงินได้ของปี 2521 และ 2522ไม่ชอบ เพราะหุ้นที่เพิ่มขึ้นนั้น ก. ได้นำเงินที่ได้รับคืนจากการทดรองจ่ายให้บริษัทโรงงานน้ำตาลซื้อมา จึงเป็นทรัพย์สิน ที่มีอยู่เดิมแต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็น เงินได้พึงประเมิน จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจ ตัวแทนสั่งซื้อวัสดุ ก่อสร้างผูกพันตัวการ
จำเลยที่ 2 ได้ขออนุญาตจำเลยที่ 1 ซ่อมแซมกุฏิที่จำเลยที่ 2 ปกครองอยู่จำเลยที่ 1 ตั้งกรรมการให้ไปช่วยดูแล เมื่อไม่มีเงินเพียงพอจะชำระค่าวัสดุก่อสร้างจำเลยที่ 1ก็แจ้งให้เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรทราบ จำเลยที่ 1เพิ่งออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้าง โดยระบุว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำการก่อสร้างมาเป็นเวลานานและทำผิดไปจาก รูปแบบเดิมจนก่อให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน พฤติการณ์ดังกล่าว เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 อนุญาตให้จำเลยที่ 2ทำการซ่อมแซมก่อสร้างได้โดยจำเลยที่ 1 ติดตามผลการก่อสร้างตลอดมา ทั้งกุฏิเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจำเลยที่ 2 ก็ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว จึงเป็นมูลเหตุที่เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งซื้อสินค้าตามฟ้องแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น กิจการที่จำเลยที่ 2กระทำไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์หลังมีคำสั่งศาล: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว ทรัพย์ดังกล่าวไม่อยู่ในความยึดถือหรืออยู่ในอำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการขายหรือไม่ขายทอดตลาดอีกต่อไป ถึงหากจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย หรืออนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปตามฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าวได้ คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยดังฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์หลังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว: คดีไม่มีประโยชน์พิจารณาต่อ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว ทรัพย์ดังกล่าวไม่อยู่ในความยึดถือหรืออยู่ในอำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการขายหรือไม่ขายทอดตลาดอีกต่อไป ถึงหากจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย หรืออนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปตามฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าวได้ คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยดังฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับได้
สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินระหว่างผู้ร้องทั้งหมดกับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสิทธิที่ผู้ร้องทั้งหมดและจำเลยที่ 1 จะพึงได้รับทั้งสองฝ่าย หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องทั้งหมดจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวติดจำนอง ธนาคาร ท. เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166,527,203.70 บาท โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 96(3) และยังมีเจ้าหนี้รายอื่นอีกจำนวนมากยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นจำนวนถึง 1,271,317,509.34 บาทแต่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องทั้งหมดเพียงรายละ 180,000 บาท เท่านั้น ดังนี้สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องทั้งหมดเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 122.