คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส อุดมวรชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับได้
สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินระหว่างผู้ร้องทั้งหมดกับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสิทธิที่ผู้ร้องทั้งหมดและจำเลยที่ 1 จะพึงได้รับทั้งสองฝ่าย หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องทั้งหมดจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวติดจำนอง ธนาคาร ท. เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166,527,203.70 บาท โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 96(3) และยังมีเจ้าหนี้รายอื่นอีกจำนวนมากยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นจำนวนถึง 1,271,317,509.34 บาทแต่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องทั้งหมดเพียงรายละ 180,000 บาท เท่านั้น ดังนี้สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องทั้งหมดเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 122.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4307/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขัดแย้ง: การให้กรรมสิทธิ์ร่วมโดยเสน่หาแล้วขอถอนคืนเนื่องจากเนรคุณ เป็นฟ้องที่ไม่ชัดเจน
คำฟ้องโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ กำลังใจจำเลยเพื่อให้มุมานะ ในการศึกษา จึงได้ยอมจดทะเบียนลงชื่อ โจทก์กับจำเลยร่วมกันเป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง หมายความว่า โจทก์ ให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินตามฟ้องโดยเสน่หา แต่คำฟ้อง ของโจทก์ตอนต่อมาบรรยายว่า ที่ดินตามฟ้องโจทก์ลงชื่อจำเลย ร่วมไว้โดยเสน่หา ทั้งยังไม่ได้ให้ โดยเด็ดขาด เพียงลงชื่อไว้แทนชั่วคราว และโจทก์ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนี้อย่างเป็นเจ้าของตลอดมา หมายความว่า โจทก์ยัง ไม่ได้ยกที่ดินให้จำเลยเด็ดขาด เพราะโจทก์ยังคงครอบครองเป็น เจ้าของแต่ผู้เดียว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน ที่โจทก์ยกให้ จึงเป็นฟ้องที่ขัดกันและเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความโกรธแค้น ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
คืนเกิดเหตุจำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาไปเที่ยวงานวัดด้วยกัน ครั้นเวลา 21 นาฬิกาเศษ จำเลยเดินตามหาผู้ตายในบริเวณงานวัด เห็นผู้ตายพูดคุยกับทหารพรานไม่ทราบชื่อในลักษณะสนิทสนมกันมาก และจำเลยเคยทราบข่าวว่าผู้ตายกับทหารพรานผู้นี้ไปเที่ยวด้วยกันหลายครั้ง จำเลยจึงกลับบ้านและดื่มสุราจนเวลา 1 นาฬิกาเศษจำเลยไปขุดเอาอาวุธปืนลูกซองสั้นซึ่งมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ในลำกล้อง 1 นัด ที่จำเลยฝังไว้หลังบ้านมาเหน็บไว้ที่เอว เวลา3 นาฬิกาเศษ ผู้ตายกลับมาบ้าน จำเลยเปิดประตูออกไปและจับมือผู้ตายลากไปในสวนหลังบ้าน สอบถามผู้ตายถึงการไปเที่ยวกับผู้ชายเมื่อผู้ตายปฏิเสธ จำเลยกอดคอผู้ตายแล้ว ใช้อาวุธปืนจ่อยิงถูกบริเวณเหนือราวนมซ้าย 1 นัด ผู้ตายทรุดลงคว่ำหน้าอยู่กับพื้น ผู้ตายยังไม่ตายทันที จำเลยชักมีดพกปลายแหลมจากเอวแทงที่บริเวณคอผู้ตายอีกหลายครั้ง เมื่อผู้ตายตายแล้ว จำเลยไปเอาจอบที่บ้านมาขุดหลุมฝังไว้ที่เกิดเหตุ เช่นนี้แม้จำเลยจะกระทำต่อผู้ตายเพราะจำเลยโกรธเคืองที่ผู้ตายไปเที่ยวกับชายอื่นก็ตามแต่จำเลยกระทำต่อผู้ตายภายหลังที่จำเลยกลับมาบ้านเป็นเวลานานหลายชั่วโมง โดยจำเลยดื่มสุราเตรียมหาเชือกไว้สำหรับมัดมือผู้ตายและหาอาวุธปืนกับมีมีดพกปลายแหลมไว้สำหรับยิงแทงผู้ตาย พฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่าจำเลยกระทำต่อผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำว่า 'เจ้าของ' หรือ 'ผู้ครอบครอง' ในการฟ้องร้องความเสียหายทางแพ่ง
คำว่าเจ้าของตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายความว่าผู้มีกรรมสิทธิ์ผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ก็มีความหมายเหมือนกัน ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของคำว่า ‘เจ้าของ’ หรือ ‘ผู้ครอบครอง’ ในการฟ้องคดีความเสียหาย ไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม
คำว่าเจ้าของตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายความว่า ผู้มีกรรมสิทธิ์ผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ก็มีความหมายเหมือนกัน ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ไม่ถือเป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้เสียหาย
ในชั้นการตรวจคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาล การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการนำพยานมาให้สอบสวนและมีคำสั่งยกคำร้องที่ขออนุญาตนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนใหม่ เป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ต่อมาหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นควรอนุญาตหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นดังกล่าวก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ ศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือเป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และการไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายของความเห็น
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนการนำพยานมาให้สอบสวนและยกคำร้องขออนุญาตนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนใหม่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หามีผลบังคับไม่ ศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมทำเองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีพยาน และมีข้อความระบุผู้รับมรดกชัดเจน
ผู้ตายเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 โดยหาจำต้องมีพยานพินัยกรรมไม่ ข้อความในบันทึกของผู้ตายมีว่า "ถ้าหากช่วงต่อไปฉันมีอันที่จะต้องตายจากไป ฉันมีทรัพย์สินทั้งหมดที่เห็น ๆ อยู่นี้ ฯลฯในใจจริงนั้นคิดจะยกให้กับต่าย ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวของน้าสาวคนเล็กซึ่งฉันเห็นว่าเขาเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี ฉันเพียงแต่คิดว่าฉันจะควรที่ฉันจะยกข้าวของซึ่งเป็นของฉันให้ต่าย ฯลฯ ส่วนข้าวของอย่างอื่นก็แล้วแต่บรรดาญาติจะเห็นสมควรจะให้อะไรแก่เด็กเหล่า บ้างฯลฯ (ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ขอยกเว้นไม่มีการแบ่งให้กับแม่และลูก ๆของแม่ทุกคนโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น) ในข้อความทั้งหมดที่เขียนมานี้ ฉันมีสติดีทุกประการ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉันเองก็ขอให้ถือว่านี้คือการสั่งเสีย ฯลฯ แล้วลงชื่อ น.ส.ยุพินฉัตรพงศ์เจริญ(พิน)" ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวมีข้อความว่าเมื่อผู้เขียนตายไปทรัพย์สินของตนให้แก่ใครบ้าง มีใครบ้างที่ไม่ยอมให้และลงท้ายด้วยว่ามีสติดี จึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามมาตรา 1646,1647 แล้ว หาใช่บันทึกบรรยายความคิดความรู้สึกในใจเท่านั้นไม่ ผู้คัดค้านฎีกาในข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเบิก/นำเงินเข้า และดอกเบี้ยทบต้นมีข้อจำกัดตามสัญญาและอายุความ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลา ไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง
ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกา แต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปี ดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด/ไม่ต่ออายุ สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัด
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกาแต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปีดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง 5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย.
of 27