พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในที่ดินเช่าและการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัว ถนนเจริญกรุงแขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การจดทะเบียนนั้นไม่สมบูรณ์
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาผู้เป็นบุตรบุญธรรมด้วยดังนั้น เมื่อมารดาของผู้เป็นบุตรบุญธรรมมิได้ให้ความยินยอมการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงไม่สมบูรณ์
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชนก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น จึงนำพยานมาสืบหักล้างได้.
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชนก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น จึงนำพยานมาสืบหักล้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมและการไม่มีสิทธิในกองมรดก
สามีของเจ้ามรดกจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ภริยาซึ่งเป็นเจ้ามรดกยินยอมด้วย บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีเจ้ามรดกเท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย และอำนาจถอดถอนผู้จัดการมรดกเมื่อมีทายาทอันดับหนึ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 (แก้ไขใหม่ มาตรา1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่า การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้อง ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานได้บันทึกไว้ว่า คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมได้มีหนังสือให้ความยินยอมถึง คณะกรมการอำเภอย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดกได้ ไม่จำเป็นว่าผู้จัดการมรดกจะต้องมีความผิด เมื่อศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกนั้นยังไม่ปรากฏทายาทอันดับหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นทายาทอันดับหนึ่งมีสิทธิรับมรดกแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก จึงไม่มีสิทธิจัดการมรดกต่อไป ศาลมีอำนาจถอดถอนได้
การที่ศาลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดกได้ ไม่จำเป็นว่าผู้จัดการมรดกจะต้องมีความผิด เมื่อศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกนั้นยังไม่ปรากฏทายาทอันดับหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นทายาทอันดับหนึ่งมีสิทธิรับมรดกแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก จึงไม่มีสิทธิจัดการมรดกต่อไป ศาลมีอำนาจถอดถอนได้