คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1598/25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: คดีไม่ขาดอายุความ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งย่อมไม่สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์และสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่ง อ. ได้กระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นคู่สมรส จึงเป็นการฟ้องขอให้แสดงว่าฐานะของ อ. และจำเลยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อเพิกถอนฐานะความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163 และมาตรา 164และเมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดระยะเวลาที่โจทก์อาจฟ้องคดีเช่นว่านี้ได้แล้ว โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีดังกล่าวได้เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การจดทะเบียนนั้นไม่สมบูรณ์
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาผู้เป็นบุตรบุญธรรมด้วยดังนั้น เมื่อมารดาของผู้เป็นบุตรบุญธรรมมิได้ให้ความยินยอมการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงไม่สมบูรณ์
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชนก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น จึงนำพยานมาสืบหักล้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย และอำนาจถอดถอนผู้จัดการมรดกเมื่อมีทายาทอันดับหนึ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 (แก้ไขใหม่ มาตรา1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่า การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้อง ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานได้บันทึกไว้ว่า คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมได้มีหนังสือให้ความยินยอมถึง คณะกรมการอำเภอย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดกได้ ไม่จำเป็นว่าผู้จัดการมรดกจะต้องมีความผิด เมื่อศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกนั้นยังไม่ปรากฏทายาทอันดับหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นทายาทอันดับหนึ่งมีสิทธิรับมรดกแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก จึงไม่มีสิทธิจัดการมรดกต่อไป ศาลมีอำนาจถอดถอนได้
of 2