คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ม. 24 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน เกินกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน และต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
จำเลยเป็นเยาวชนถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางพนักงานสอบสวนไม่ขอผัดฟ้องศาลจึงปล่อยตัวจำเลยไปแม้ต่อมาเมื่อจำเลยพ้นเกณฑ์เยาวชนแล้วโจทก์ก็จะฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาโดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน: การควบคุมตัวและอายุผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวจำเลยเป็นผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่11 กันยายน 2525 ขณะนั้นจำเลยอายุ 17 ปีเศษพนักงานสอบสวนจึงส่งตัวไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2525 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กได้ส่งตัว จำเลยคืนพนักงานสอบสวนเพราะจำเลยมีอายุเกิน 18 ปีพนักงานสอบสวนจึงขออนุญาตฝากขัง จำเลยต่อศาลอาญา และก่อน ครบกำหนดฝากขังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาเมื่อวันที่10 มกราคม 2526 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการควบคุมตัว จำเลยในระหว่างสอบสวนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ย่อมมี อำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตาม พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน: การส่งตัวจำเลยระหว่างอายุ และการฟ้องคดีเมื่อพ้นวัย
พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวจำเลยเป็นผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่11 กันยายน 2525 ขณะนั้นจำเลยอายุ 17 ปีเศษพนักงานสอบสวนจึงส่งตัวไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2525 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กได้ส่งตัวจำเลยคืนพนักงานสอบสวนเพราะจำเลยมีอายุเกิน 18 ปีพนักงานสอบสวนจึงขออนุญาตฝากขังจำเลยต่อศาลอาญา และก่อน ครบกำหนดฝากขังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาเมื่อวันที่10 มกราคม 2526 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการควบคุมตัวจำเลยในระหว่างสอบสวนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องยื่นฟ้องภายใน 30 วัน หรือขอผัดฟ้อง หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราว ๆ ไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องคดีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนและการขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการหากพ้นกำหนด
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราวๆไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเด็กและเยาวชน เกินกำหนดระยะเวลาผัดฟ้อง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา24ทวิ กำหนดให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม และในกรณีเกิดความจำเป็นให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินสิบห้าวันเฉพาะคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และ ตามมาตรา 24จัตวา ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีมีโทษสถานที่หนักซึ่งจะขอผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และพนักงานสอบสวนได้ขอผัดฟ้องไว้เป็นครั้งที่ 5แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยไปหลังจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็มิได้มาขอผัดฟ้องต่อไปอีกจนกระทั่งอีกประมาณ 3 เดือนต่อมา พนักงานอัยการจึงได้นำคดีมาฟ้อง ดังนี้ คดีโจทก์ขาดการผัดฟ้องถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ ซึ่งโจทก์จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24จัตวา จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีได้โจทก์จะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนมีบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนพ้นกรอบระยะเวลาผัดฟ้อง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ จึงจะมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ทวิ กำหนดให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม และในกรณีเกิดความจำเป็นให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไป ได้อีกคราวละไม่เกินสิบห้าวัน เฉพาะคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และตามมาตรา 24 จัตวา ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีมีโทษสถานที่หนักซึ่งจะขอผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และพนักงานสอบสวนได้ขอผัดฟ้องไว้เป็นครั้งที่ 5 แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยไป หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็มิได้มาขอผัดฟ้องต่อไปอีก จนกระทั่งอีกประมาณ 3 เดือนต่อมา พนักงานอัยการจึงได้นำคดีมาฟ้อง ดังนี้ คดีโจทก์ขาดการผัดฟ้องถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ ซึ่งโจทก์จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนมีบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากเกินกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน ครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีก กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิแล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อนครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีกกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน, การผัดฟ้อง, และการขออนุญาตฟ้องหลังพ้นกำหนด
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องไว้ถึง 3 คราวโดยเฉพาะคราวที่ 3 ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2521 แต่พนักงานสอบสวนขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 อ้างว่าพนักงานสอบสวนสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต่อจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ได้ขอผัดฟ้องคดีอีกต่อไปจนวันที่ 3 เมษายน 2521 พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาเช่นนี้ ถือว่าพ้นระยะเวลายื่นฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ แล้ว โจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24จัตวา ไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้