พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451-3452/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพจ้างที่ทำหลังการหยุดงาน แม้ไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย แต่มีผลผูกพัน และนายจ้างไม่ติดใจเอาโทษ
เมื่อบรรดาลูกจ้างของโจทก์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง แล้วบรรดาลูกจ้างดังกล่าวกับโจทก์ได้เจรจากันจนสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างกันโดยไม่มีข้อตกลงใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่อย่างใดไม่ การที่ลูกจ้างได้รวมตัวกันหยุดงานเมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องก็ดี จำนวนผู้แทนของลูกจ้างผู้เข้าร่วมในการเจรจากันมีจำนวนเกินกว่าเจ็ดคนก็ดี พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันเดียวกับที่บรรดาลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องก็ดีนั้น แม้จะเป็นการผิดแผกแตกต่างจากขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ก็หามีผลเป็นเหตุให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังที่ได้วินิจฉัยแล้วต้องตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานคดีนี้ได้
เมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ โดยโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างสำหรับการเข้าทำงานสายแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นอีก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใด ที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปมาลงโทษทางวินิจฉัยด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก กรณีไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และคำสั่งของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9
เมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ โดยโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างสำหรับการเข้าทำงานสายแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นอีก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใด ที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปมาลงโทษทางวินิจฉัยด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก กรณีไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และคำสั่งของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เหตุเลิกจ้าง & ผลของการแถลงรับเฉพาะบางส่วนของผู้คัดค้าน
ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งแปด อ้างว่าผู้คัดค้านทั้งแปดกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้างเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่ามีเหตุตามที่กล่าวอ้างจริงและเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งแปดได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านทั้งแปดยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลก็อาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ผู้คัดค้านทั้งแปดจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองที่จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้องรวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ มิฉะนั้นจะทำให้คดีไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทและผู้คัดค้านทั้งแปดไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบเพราะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้อง หลังจากผู้คัดค้านทั้งแปดยื่นคำคัดค้าน ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านทั้งแปดสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่า ผู้คัดค้านทั้งแปดมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น ผู้คัดค้านทั้งแปดมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานกลางนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งแปดมาใช้ประกอบการวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างรายวันที่มีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไป
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวัน ตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือนอายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้5 เดือน " จึงเห็นได้ว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่ลูกจ้างเฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชยจำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดวินัยร้ายแรงของพนักงานรัฐวิสาหกิจ การแถลงข่าวทำลายชื่อเสียงองค์กร และข้อยกเว้นความรับผิด
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 มาตรา 6 มีผู้ร้องเป็นผู้ว่าการ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตามมาตรา 26 มิใช่กรณีผู้ว่าการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามมาตรา 27ผู้ว่าการจึงมีอำนาจแต่งทนายความเพื่อดำเนินคดีในนามผู้ร้องได้
ผู้คัดค้านมิได้ยกข้อที่ว่าการผลิตดาบน้ำพี้ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสถาบันผู้ร้องหรือไม่ขึ้นมาเป็นประเด็นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยปัญหานี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางโดยชอบ ผู้คัดค้านจึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือองค์กร ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง การดำเนินการขององค์กร ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริงผู้คัดค้านไม่ว่าในฐานะใดก็จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น จะอ้างว่าได้กระทำในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ และไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างให้พ้นผิดทั้งขณะแถลงข่าวผู้คัดค้านก็ยังมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ดาบน้ำพี้ ที่ผู้ร้องผลิตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ผู้คัดค้านมิได้ยกข้อที่ว่าการผลิตดาบน้ำพี้ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสถาบันผู้ร้องหรือไม่ขึ้นมาเป็นประเด็นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยปัญหานี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางโดยชอบ ผู้คัดค้านจึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือองค์กร ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง การดำเนินการขององค์กร ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริงผู้คัดค้านไม่ว่าในฐานะใดก็จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น จะอ้างว่าได้กระทำในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ และไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างให้พ้นผิดทั้งขณะแถลงข่าวผู้คัดค้านก็ยังมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ดาบน้ำพี้ ที่ผู้ร้องผลิตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่โอนย้าย: การจ่ายค่าเช่าบ้านตามกฎหมายและข้อบังคับ กปภ.
ตาม พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสามบัญญัติว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ. ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลาง ก่อน จนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้" ตามบทบัญญัตินี้ย่อมมีความหมายว่า เมื่อข้าราชการที่โอนไปเป็นพนักงานของจำเลยได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการแล้ว จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย โจทก์เป็นข้าราชการที่โอนมาและได้รับบรรจุและแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่ได้รับอยู่เดิมก่อนโอนมา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่าค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นประเภท"สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ" ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตามบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ คำตักเตือนก่อนข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับใช้ได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3) ที่ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายโดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนั้น หนังสือตักเตือนดังกล่าวจะมีอยู่ก่อนหรือมีขึ้นภายหลังจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อนที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้ว และลูกจ้างได้มา กระทำผิดซ้ำคำตักเตือนเป็นหนังสือภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับอีก นายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การทำงานเกินเวลา และสิทธิค่าครองชีพของลูกจ้างชั่วคราว
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯ แต่ สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียว กับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่ พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ: มติคณะรัฐมนตรี vs. พระราชกฤษฎีกา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้วผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้างผู้คัดค้านต่อไป กรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่จำเป็นต้องเทียบเคียงกับการพิจารณาคดีของศาล
กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 124แล้ว การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(4) และมาตรา 125 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นในเรื่องที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา 42 รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าต้องส่งสำเนาคำร้องกล่าวหาให้แก่ผู้ฝ่าฝืนและต้องให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่จะเข้าฟังและซักถามพยานของอีกฝ่ายหนึ่งดังเช่นการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้น จึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะใช้ดุลพินิจดำเนินการไปตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมแก่คู่กรณีการที่จำเลยที่ 14 ขอเพิ่มเติมข้อกล่าวหาว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยจำเลยที่ 14 เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง แล้วคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมให้โจทก์ทราบโดยไม่ส่งสำเนาให้นั้น เป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว ส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าฟังการสอบสวนพยานของจำเลยที่ 14 ก็เป็นการใช้อำนาจโดยชอบ จะถือว่าคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ กรณีที่โจทก์ได้ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้ว โจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14โดยไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่ และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทุจริต ประมาทเลินเล่อ และขาดความไว้วางใจ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า พยานโจทก์ไม่ยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ.เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแต่กลับยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้นปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่มาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์โจทก์ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงาน ภาค 2 มีว่า ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะกระทำการประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหาย และคณะกรรมการ ธนาคารเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ ความตอนท้าย เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปประกอบการพิจารณาการกระทำผิดข้อที่เกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะไม่ใช่ ความผิดร้ายแรง สมควรต้องพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควร จะให้เงินทุนเลี้ยงชีพหรือไม่ ส่วนกระทำผิดทุจริตต่อ หน้าที่และการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการพิจารณาว่าจะจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพ หรือไม่อีก