พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าชดเชย: การพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้างและขอบเขตการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ละสถานประกอบการเป็นราย ๆ ไป การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานแต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรมจึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการแจ้งความเท็จ
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับการแต่งตั้งโดยอำนาจของกฎหมายให้ปฏิบัติราชการของกรมแรงงานตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจและหน้าที่ไว้ทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการดังกล่าวมิฉะนั้นมีความผิดและมีโทษทางอาญาคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: อำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทและการบังคับตามกฎหมาย
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับการแต่งตั้งโดยอำนาจของกฎหมาย ให้ปฏิบัติราชการของกรมแรงงานตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจและหน้าที่ไว้ ทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการดังกล่าวมิฉะนั้นมีความผิดและมีโทษทางอาญา คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลไม่อำนาจสั่งจ่ายค่าชดเชย ต้องพิจารณาตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัท
แม้การเลิกจ้างของจำเลยจะมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและเงินอื่น ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าเสียหายให้โจทก์คณะกรรมการยกคำร้องของโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยต้องจ่ายเงินต่าง ๆ นั้นให้โจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าเสียหายให้โจทก์คณะกรรมการยกคำร้องของโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยต้องจ่ายเงินต่าง ๆ นั้นให้โจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770-3771/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ปฏิบัติตามคำสั่ง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่ง และอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมและนับอายุการทำงานติดต่อกันแล้วก็ตาม หากจำเลยยังค้างชำระค่าจ้างโจทก์ระหว่างเลิกจ้างอยู่อีก โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยให้ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระได้ กรณีไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก
เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นสิทธิแยกต่างหาก ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 41(4) แม้โจทก์จะได้รับเงินตามประกาศและกฎหมายดังกล่าวไปแล้วก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 41(1) อีก ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800-2801/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหายระหว่างถูกเลิกจ้าง: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแม้สั่งให้กลับเข้าทำงาน
การที่ลูกจ้างข่มขู่นายจ้าง ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: คำสั่งไม่เป็นที่สุด โจทก์มีสิทธิโต้แย้ง
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(6) ประกอบด้วย มาตรา 125 นั้น ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งไม่ถูกต้องอย่างไร และเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ หาจำต้องเป็นเรื่องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่ผิดกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงานหลังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยแล้ว ไม่ถือเป็นการดำเนินคดีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
โจทก์ได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้วินิจฉัยชี้ขาด และออกคำสั่งตามมาตรา 125 ประกอบด้วยมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แล้ว กฎหมายมิได้บัญญัติว่าให้คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุดหรือให้อุทธรณ์ ต่อผู้ใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(4) แต่กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จะถือว่าโจทก์ ดำเนินคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ได้ เพราะแปลได้ว่าโจทก์ฟ้องตาม มาตรา 8(2) โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในวรรคท้ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนฟ้องศาล
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121(1) ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และต้องยื่น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางในกรณีนี้ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย